เนื่องในวันที่ 20 กันยายนที่จะถึงนี้เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้สำรวจความคิดเห็นเยาวชนในหัวข้อ “อะไรทำให้การศึกษาไทยถดถอย ในความคิดเยาวชน” โดยเก็บข้อมูลกับเยาวชนอายุ 15-25 ปี ที่พักอาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,167 คน พบว่า กิจกรรมที่เยาวชนทำแต่ละวันในช่วงเวลาว่างหลังจากการเรียน คือ ดูหนัง ฟังเพลง ดูทีวี (ร้อยละ 72.2) รองลงมา เล่นอินเทอร์เนต เช่น facebook,line (ร้อยละ 63.6) และอ่านหนังสือ ร้อยละ 47.1
เมื่อถามเยาวชนว่าเห็นด้วยหรือไม่ หากจะกล่าวว่า “การศึกษาไทยในปัจจุบันอยู่ในยุค ตกต่ำ ย่ำแย่” เยาวชนส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 66.3 เห็นด้วยกับคำกล่าวดังกล่าว (โดยให้เหตุผลว่าครู/อาจารย์มีประสิทธิภาพน้อยลง ระบบการเรียนการสอนทำให้นักเรียนขาดความกระตือรือร้น ติดโลกออนไลน์มากไป ฯลฯ) และมีเพียงร้อยละ 7.0 เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย (โดยให้เหตุผลว่า การเรียนการสอนยังดีอยู่ มีมาตรฐาน ไม่ได้รู้สึกแย่ ฯลฯ) ที่เหลือร้อยละ 26.7 ไม่แน่ใจ
ในส่วนของสาเหตุที่ทำให้คุณภาพการศึกษาไทยอันดับแย่ลงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน (จากข้อมูลของ "World Economic Forum”) เยาวชนร้อยละ 70.7 คิดว่าสาเหตุดังกล่าวเกิดมาจาก ตัวนักเรียนเองที่มีสมาธิ/ความตั้งใจเรียนลดลง เช่น ใช้เวลากับ social media และเรื่องอื่นๆ มากกว่าการเรียน รองลงมาร้อยละ 42.5 คิดว่ามาจากปัญหาการเมืองส่งผลทำให้นโยบายการศึกษาไม่ต่อเนื่อง และร้อยละ 35.6 คิดว่ามาจากหลักสูตรการเรียนการสอนที่ไม่เข้มข้น
สำหรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของครู อาจารย์ ที่เยาวชนเคยพบเห็น คือ สอนแบบปล่อยเกรด ไม่เข้มงวด ไม่จริงจัง (ร้อยละ 77.0) รองลงมาคือ สอนอย่างไม่มีความพร้อม ไม่เตรียมการเรียนการสอน (ร้อยละ 64.6) และเน้นสอนพิเศษ/เชิญชวนให้เรียนพิเศษ ไม่เน้นสอนในห้องเรียน (ร้อยละ 56.9)
ส่วนดาราที่เยาวชนเห็นว่าเป็นต้นแบบที่ดีในด้านการเรียน อันดับ 1 คือ ณเดช คูกิมิยะ (ร้อยละ 11.7) อันดับ 2 คือ ญาญ่า อุรัสยาและแต้ว ณฐพร (ร้อยละ 11.4 เท่ากัน)
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ดูหนัง ฟังเพลง ดูทีวี ร้อยละ 72.2 เล่นอินเทอร์เนต (facebook,line) ร้อยละ 63.6 อ่านหนังสือ ร้อยละ 47.1 ออกกำลังกาย ร้อยละ 39.6 ทำงานบ้าน ร้อยละ 32.0 ช่วยงาน/กิจการครอบครัว ร้อยละ 26.1 เล่นเกมส์ออนไลน์ ร้อยละ 26.0 เดินห้าง/ซื้อของ ร้อยละ 25.9 เรียนพิเศษ ร้อยละ 16.0 ทำกิจกรรมชมรม ร้อยละ 13.3 เที่ยวกลางคืน ร้อยละ 8.0
อื่นๆ อาทิ ทำงานpart time ทำการบ้าน ทำรายงาน ฯลฯ ร้อยละ 5.8
เห็นด้วย ร้อยละ 66.3 (โดยให้เหตุผลว่า ครู/อาจารย์มีประสิทธิภาพน้อยลง ระบบการเรียนการสอนทำให้นักเรียนขาดความกระตือรือร้น
คิดวิเคราะห์ไม่เป็น ขาดความตั้งใจเรียน ไม่ชอบอ่านหนังสือ ติดโลกออนไลน์มากไป ฯลฯ
ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 7.0
(โดยให้เหตุผลว่า บางโรงเรียนสอนได้ดี การเรียนการสอนยังดีอยู่ มีมาตรฐาน ไม่ได้รู้สึกแย่ ฯลฯ
ไม่แน่ใจ ร้อยละ 26.7 3. สาเหตุที่ทำให้คุณภาพการศึกษาไทยอันดับแย่ลงกว่าประเทศ เพื่อนบ้าน คือ (จากการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน ในการประชุมของ"World Economic Forum ”)
ตัวนักเรียนเองที่มีสมาธิ/ความตั้งใจเรียนลดลง เช่น ใช้เวลากับ social media และเรื่องอื่นๆ มากกว่าการเรียน ร้อยละ 70.7
ปัญหาการเมืองส่งผลทำให้นโยบายการศึกษาไม่ต่อเนื่อง ร้อยละ 42.5 หลักสูตรการเรียนการสอนที่ไม่เข้มข้น ร้อยละ 35.6 คุณภาพครูผู้สอนแย่ลง(ปล่อยเกรด ไม่เข้มงวด) ร้อยละ 34.2 ครอบครัว/คนรอบข้าง/สังคม ไม่เอื้อต่อการศึกษา เรียนรู้ ร้อยละ 24.9 โรงเรียน/สถาบันการศึกษาไม่ให้ความสำคัญกับคุณภาพการศึกษา ร้อยละ 24.8 อื่นๆ อาทิ อัดเนื้อหาวิชามากจนเกินไปทำให้นักเรียนเบื่อ การบ้านเยอะไม่มีเวลาอ่านหนังสือ ฯลฯ ร้อยละ 6.3 4. พฤติกรรมต่อไปนี้ของ ครู อาจารย์ ที่เยาวชนเคยพบเห็น พฤติกรรม เคยเห็น ไม่เคยเห็น ไม่ออกความเห็น สอนแบบปล่อยเกรด ไม่เข้มงวด ไม่จริงจัง 77 21.3 1.7 สอนอย่างไม่มีความพร้อม ไม่เตรียมการเรียนการสอน 64.6 33.9 1.5 เน้นสอนพิเศษ/เชิญชวนให้เรียนพิเศษ ไม่เน้นสอนในห้องเรียน 56.9 40.4 2.7 ชอบใช้ความรุนแรง เฆี่ยนตี ด่าทอ แบบไม่มีเหตุผล 41.5 55.5 3 ลวนลามทางเพศ/ใช้สายตาคุกคาม/หาโอกาสถูกเนื้อต้องตัว 22.8 72.9 4.3 ดื่มเหล้า มีกลิ่นเหล้า ในเวลางาน 14.5 81.6 3.9 5. ดาราที่เยาวชนเห็นว่าเป็นต้นแบบที่ดีในด้านการเรียนให้แก่เยาวชน 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) อันดับ 1 ณเดช คูกิมิยะ ร้อยละ 11.7 อันดับ 2 ญาญ่า อุรัสยา ร้อยละ 11.4 อันดับ 2 แต้ว ณฐพร ร้อยละ 11.4 อันดับ 4 เบเบ้ ธันย์ชนก ร้อยละ 6.8 อันดับ 5 ริท เดอะสตาร์ ร้อยละ 6.6
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนต่ออันดับการศึกษาของไทยที่ลดลง พฤติกรรมและการเรียนการสอน ของครู/อาจารย์และนักเรียน รวมถึงศิลปินดารา นักร้อง ที่เห็นว่าเป็นบุคคลต้นแบบที่ในด้านการเรียนให้แก่เยาวชน เพื่อสะท้อนมุมมองของเยาวชนให้สังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจดำเนินงานต่างๆ ต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากเยาวชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล ที่มีอายุ 15 – 25 ปี
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Ended) ซึ่งนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 11 – 15 กันยายน 2557 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 18 กันยายน 2557
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 563 48.2 หญิง 604 51.8 รวม 1,167 100 อายุ 15 ปี - 17 ปี 504 43.2 18 ปี – 25 ปี 663 56.8 รวม 1,167 100 การศึกษา มัธยมปลาย / ปวช. 587 50.3 ปริญญาตรี / ปวส. 580 49.7 รวม 1,167 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--