วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อทราบข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่ติดตามข่าวกรณีทุจริตการจัดซื้อเครื่อง
ตรวจจับวัตถุระเบิดที่สนามบินสุวรรณภูมิในประเด็นต่อไปนี้
- การมีนักการเมืองของพรรคไทยรักไทยเข้าไปเกี่ยวข้องรับผลประโยชน์
- ความเห็นต่อการยกเลิกสัญญาจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดที่ทำไว้กับบริษัท จีอี อินวิชั่น
- การตั้งคณะกรรมการอิสระที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลขึ้นมาสอบสวนแทน
คณะกรรมการชุดปัจจุบัน
- ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการที่จะสอบสวนเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนโปร่งใส
- ผลกระทบต่อประเทศชาติที่น่าเป็นห่วงที่สุดจากกรณีดังกล่าว
อุปสรรคสำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาคอร์รัปชันของประเทศไทย
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากร ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน
1,560 คนโดยเลือกสัมภาษณ์เฉพาะผู้ที่ติดตามข่าวกรณีทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน 1,312 คน เป็นชายร้อย
ละ 46.0 หญิงร้อยละ 54.0
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 34.3 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี
ร้อยละ 29.8 มีอายุระหว่าง 26 — 35 ปี
ร้อยละ 20.5 มีอายุระหว่าง 36 — 45 ปี
และร้อยละ 15.4 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 14.9 มีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 12.7 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 34.0 พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.9 ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 18.8 นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา
ร้อยละ 5.6 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุว่างงาน
ร้อยละ 2.5 และร้อยละ 1.5 อาชีพอื่น ๆ
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 4 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง “กรณี
ทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิในมุมมองประชาชน”
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 14-15 พฤษภาคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 17 พฤษภาคม 2548
ผลการสำรวจ
1. ประชาชนร้อยละ 84.1 ให้ความสนใจติดตามข่าวกรณีทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ ขณะที่ร้อยละ 15.9
ไม่สนใจติดตาม
2. ประชาชนร้อยละ 56.5 เชื่อว่ามีนักการเมืองพรรคไทยรักไทยเข้าไปเกี่ยวข้องรับผลประโยชน์จาก
การจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดของสนามบินสุวรรณภูมิ ขณะที่ร้อยละ 5.8 เชื่อว่าไม่มีนักการเมืองของพรรค
ไทยรักไทยเข้าไปเกี่ยวข้อง และร้อยละ 37.7 ไม่แน่ใจ
3. ประชาชนร้อยละ 51.4 เห็นว่ารัฐบาลไม่ควรยกเลิกสัญญาการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดที่ทำไว้
กับบริษัท จีอี อินวิชั่น ขณะที่ร้อยละ 48.6 เห็นว่าควรยกเลิก
4. ประชาชนร้อยละ 85.0 เห็นว่ารัฐบาลควรแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล
ของรัฐบาลขึ้นมาสอบสวนเรื่องดังกล่าวแทนคณะกรรมการชุดปัจจุบันที่แต่งตั้งโดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายก
รัฐมนตรี มีเพียงร้อยละ 15.0 ที่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาทำหน้าที่ดังกล่าว
5. ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 55.0 ยังเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถดำเนินการสอบสวนเรื่องดังกล่าวให้มี
ความชัดเจนโปร่งใสได้ ขณะที่อีกร้อยละ 45.0 ไม่เชื่อเช่นนั้น
6. ผลกระทบต่อประเทศชาติที่น่าเป็นห่วงที่สุดจากกรณีดังกล่าว อันดับแรกได้แก่ ภาพลักษณ์ของประเทศ
ไทยเสียหาย ร้อยละ 34.5 รองลงมาคือการไม่สามารถหาคนผิดที่แท้จริงมาลงโทษได้ ร้อยละ 29.4 กลัวรัฐ
ต้องเสียค่าโง่ให้บริษัทเอกชนเหมือนกรณีอื่นๆที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ร้อยละ 21.6 การเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิต้อง
ล่าช้าออกไป ร้อยละ 13.1 และอื่นๆ ร้อยละ 1.4
7. เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปสรรคในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของไทย ร้อยละ39.6 เห็นว่า
กระบวนการยุติธรรมมีช่องโหว่ทำให้สาวไปไม่ถึงตัวคนผิด ร้อยละ 19.9 เห็นว่ารัฐบาลไม่จริงใจในการแก้ปัญหา
ร้อยละ 13.7 เห็นว่ากฎหมายและระเบียบปฏิบัติล้าหลังตามไม่ทันกลโกงใหม่ๆ ร้อยละ 9.7 เห็นว่าประชาชนไม่ให้
ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวโดยเห็นว่าเป็นเรื่องปกติของสังคมไทย ร้อยละ 7.9 เห็นว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้
เกี่ยวข้องไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา ร้อยละ 7.9 เห็นว่านักการเมืองเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัวและพวก
พ้องมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ และอื่น ๆ ร้อยละ 1.3
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: การให้ความสนใจติดตามข่าวกรณีทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิของประชาชน
จำนวน ร้อยละ
ติดตาม 1312 84.1
ไม่ได้ติดตาม 248 15.9
ตารางที่2 : ข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ที่ติดตามข่าวกรณีทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 604 46.0
หญิง 708 54.0
อายุ :
18 — 25 ปี 450 34.3
26 — 35 ปี 391 29.8
36 — 45 ปี 269 20.5
46ปีขึ้นไป 202 15.4
อาชีพ :
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 196 14.9
รับจ้างทั่วไป 167 12.7
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 446 34.0
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 130 9.9
นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา 247 18.8
พ่อบ้าน /แม่บ้าน/เกษียณอายุ 73 5.6
ว่างงาน 33 2.5
อื่น ๆ 20 1.5
ตารางที่ 3: ท่านคิดว่ามีนักการเมืองพรรคไทยรักไทยเข้าไปเกี่ยวข้องรับผลประโยชน์จากการจัดซื้อ
เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดของสนามบินสุวรรณภูมิหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มี 741 56.5
ไม่มี 76 5.8
ไม่แน่ใจ 495 37.7
ตารางที่ 4 : คิดว่ารัฐบาลควรยกเลิกสัญญาการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดที่ทำไว้กับบริษัท จีอี อินวิชั่น หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควรยกเลิกสัญญา 637 48.6
ไม่ควรยกเลิกสัญญา 675 51.4
ตารางที่ 5: ควรมีการตั้งคณะกรรมการอิสระที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลขึ้นมาสอบสวนเรื่องดังกล่าว
แทนคณะกรรมการชุดปัจจุบันที่แต่งตั้งโดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควร 1115 85.0
ไม่ควร 197 15.0
ตารางที่ 6: ท่านคิดว่ารัฐบาลจะสามารถดำเนินการสอบสวนเรื่องดังกล่าวให้มีความชัดเจนโปร่งใสได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 721 55.0
ไม่ได้ 591 45.0
ตารางที่ 7: ผลกระทบต่อประเทศชาติที่น่าเป็นห่วงที่สุดจากกรณีดังกล่าวคือเรื่องใด
จำนวน ร้อยละ
ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเสียหาย 452 34.5
การไม่สามารถหาคนผิดที่แท้จริงมาลงโทษได้ 386 29.4
กลัวรัฐต้องเสียค่าโง่ให้บริษัทเอกชนเหมือนกรณีอื่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต 284 21.6
การเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิต้องล่าช้าออกไป 172 13.1
อื่น ๆ 18 1.4
ตารางที่ 8: ท่านคิดว่าอะไรคืออุปสรรคที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของไทย
จำนวน ร้อยละ
กระบวนการยุติธรรมมีช่องโหว่ทำให้สาวไปไม่ถึงตัวคนผิด 519 39.6
รัฐบาลไม่จริงใจในการแก้ปัญหา 261 19.9
กฎหมายและระเบียบปฏิบัติล้าหลังตามไม่ทันกลโกงใหม่ ๆ 180 13.7
ประชาชนไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวโดยเห็นว่าเป็นเรื่องปกติของสังคมไทย 127 9.7
ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา 103 7.9
นักการเมืองเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้องมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ 103 7.9
อื่น ๆ 19 1.3
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อทราบข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่ติดตามข่าวกรณีทุจริตการจัดซื้อเครื่อง
ตรวจจับวัตถุระเบิดที่สนามบินสุวรรณภูมิในประเด็นต่อไปนี้
- การมีนักการเมืองของพรรคไทยรักไทยเข้าไปเกี่ยวข้องรับผลประโยชน์
- ความเห็นต่อการยกเลิกสัญญาจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดที่ทำไว้กับบริษัท จีอี อินวิชั่น
- การตั้งคณะกรรมการอิสระที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลขึ้นมาสอบสวนแทน
คณะกรรมการชุดปัจจุบัน
- ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการที่จะสอบสวนเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนโปร่งใส
- ผลกระทบต่อประเทศชาติที่น่าเป็นห่วงที่สุดจากกรณีดังกล่าว
อุปสรรคสำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาคอร์รัปชันของประเทศไทย
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากร ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน
1,560 คนโดยเลือกสัมภาษณ์เฉพาะผู้ที่ติดตามข่าวกรณีทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน 1,312 คน เป็นชายร้อย
ละ 46.0 หญิงร้อยละ 54.0
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 34.3 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี
ร้อยละ 29.8 มีอายุระหว่าง 26 — 35 ปี
ร้อยละ 20.5 มีอายุระหว่าง 36 — 45 ปี
และร้อยละ 15.4 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 14.9 มีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 12.7 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 34.0 พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.9 ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 18.8 นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา
ร้อยละ 5.6 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุว่างงาน
ร้อยละ 2.5 และร้อยละ 1.5 อาชีพอื่น ๆ
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 4 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง “กรณี
ทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิในมุมมองประชาชน”
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 14-15 พฤษภาคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 17 พฤษภาคม 2548
ผลการสำรวจ
1. ประชาชนร้อยละ 84.1 ให้ความสนใจติดตามข่าวกรณีทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ ขณะที่ร้อยละ 15.9
ไม่สนใจติดตาม
2. ประชาชนร้อยละ 56.5 เชื่อว่ามีนักการเมืองพรรคไทยรักไทยเข้าไปเกี่ยวข้องรับผลประโยชน์จาก
การจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดของสนามบินสุวรรณภูมิ ขณะที่ร้อยละ 5.8 เชื่อว่าไม่มีนักการเมืองของพรรค
ไทยรักไทยเข้าไปเกี่ยวข้อง และร้อยละ 37.7 ไม่แน่ใจ
3. ประชาชนร้อยละ 51.4 เห็นว่ารัฐบาลไม่ควรยกเลิกสัญญาการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดที่ทำไว้
กับบริษัท จีอี อินวิชั่น ขณะที่ร้อยละ 48.6 เห็นว่าควรยกเลิก
4. ประชาชนร้อยละ 85.0 เห็นว่ารัฐบาลควรแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล
ของรัฐบาลขึ้นมาสอบสวนเรื่องดังกล่าวแทนคณะกรรมการชุดปัจจุบันที่แต่งตั้งโดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายก
รัฐมนตรี มีเพียงร้อยละ 15.0 ที่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาทำหน้าที่ดังกล่าว
5. ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 55.0 ยังเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถดำเนินการสอบสวนเรื่องดังกล่าวให้มี
ความชัดเจนโปร่งใสได้ ขณะที่อีกร้อยละ 45.0 ไม่เชื่อเช่นนั้น
6. ผลกระทบต่อประเทศชาติที่น่าเป็นห่วงที่สุดจากกรณีดังกล่าว อันดับแรกได้แก่ ภาพลักษณ์ของประเทศ
ไทยเสียหาย ร้อยละ 34.5 รองลงมาคือการไม่สามารถหาคนผิดที่แท้จริงมาลงโทษได้ ร้อยละ 29.4 กลัวรัฐ
ต้องเสียค่าโง่ให้บริษัทเอกชนเหมือนกรณีอื่นๆที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ร้อยละ 21.6 การเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิต้อง
ล่าช้าออกไป ร้อยละ 13.1 และอื่นๆ ร้อยละ 1.4
7. เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปสรรคในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของไทย ร้อยละ39.6 เห็นว่า
กระบวนการยุติธรรมมีช่องโหว่ทำให้สาวไปไม่ถึงตัวคนผิด ร้อยละ 19.9 เห็นว่ารัฐบาลไม่จริงใจในการแก้ปัญหา
ร้อยละ 13.7 เห็นว่ากฎหมายและระเบียบปฏิบัติล้าหลังตามไม่ทันกลโกงใหม่ๆ ร้อยละ 9.7 เห็นว่าประชาชนไม่ให้
ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวโดยเห็นว่าเป็นเรื่องปกติของสังคมไทย ร้อยละ 7.9 เห็นว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้
เกี่ยวข้องไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา ร้อยละ 7.9 เห็นว่านักการเมืองเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัวและพวก
พ้องมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ และอื่น ๆ ร้อยละ 1.3
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: การให้ความสนใจติดตามข่าวกรณีทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิของประชาชน
จำนวน ร้อยละ
ติดตาม 1312 84.1
ไม่ได้ติดตาม 248 15.9
ตารางที่2 : ข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ที่ติดตามข่าวกรณีทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 604 46.0
หญิง 708 54.0
อายุ :
18 — 25 ปี 450 34.3
26 — 35 ปี 391 29.8
36 — 45 ปี 269 20.5
46ปีขึ้นไป 202 15.4
อาชีพ :
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 196 14.9
รับจ้างทั่วไป 167 12.7
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 446 34.0
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 130 9.9
นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา 247 18.8
พ่อบ้าน /แม่บ้าน/เกษียณอายุ 73 5.6
ว่างงาน 33 2.5
อื่น ๆ 20 1.5
ตารางที่ 3: ท่านคิดว่ามีนักการเมืองพรรคไทยรักไทยเข้าไปเกี่ยวข้องรับผลประโยชน์จากการจัดซื้อ
เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดของสนามบินสุวรรณภูมิหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มี 741 56.5
ไม่มี 76 5.8
ไม่แน่ใจ 495 37.7
ตารางที่ 4 : คิดว่ารัฐบาลควรยกเลิกสัญญาการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดที่ทำไว้กับบริษัท จีอี อินวิชั่น หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควรยกเลิกสัญญา 637 48.6
ไม่ควรยกเลิกสัญญา 675 51.4
ตารางที่ 5: ควรมีการตั้งคณะกรรมการอิสระที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลขึ้นมาสอบสวนเรื่องดังกล่าว
แทนคณะกรรมการชุดปัจจุบันที่แต่งตั้งโดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควร 1115 85.0
ไม่ควร 197 15.0
ตารางที่ 6: ท่านคิดว่ารัฐบาลจะสามารถดำเนินการสอบสวนเรื่องดังกล่าวให้มีความชัดเจนโปร่งใสได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 721 55.0
ไม่ได้ 591 45.0
ตารางที่ 7: ผลกระทบต่อประเทศชาติที่น่าเป็นห่วงที่สุดจากกรณีดังกล่าวคือเรื่องใด
จำนวน ร้อยละ
ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเสียหาย 452 34.5
การไม่สามารถหาคนผิดที่แท้จริงมาลงโทษได้ 386 29.4
กลัวรัฐต้องเสียค่าโง่ให้บริษัทเอกชนเหมือนกรณีอื่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต 284 21.6
การเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิต้องล่าช้าออกไป 172 13.1
อื่น ๆ 18 1.4
ตารางที่ 8: ท่านคิดว่าอะไรคืออุปสรรคที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของไทย
จำนวน ร้อยละ
กระบวนการยุติธรรมมีช่องโหว่ทำให้สาวไปไม่ถึงตัวคนผิด 519 39.6
รัฐบาลไม่จริงใจในการแก้ปัญหา 261 19.9
กฎหมายและระเบียบปฏิบัติล้าหลังตามไม่ทันกลโกงใหม่ ๆ 180 13.7
ประชาชนไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวโดยเห็นว่าเป็นเรื่องปกติของสังคมไทย 127 9.7
ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา 103 7.9
นักการเมืองเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้องมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ 103 7.9
อื่น ๆ 19 1.3
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-