นักเศรษฐศาสตร์ 78.1% เห็นด้วยที่จะเปลี่ยนไปใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไปแทนเงินเฟ้อพื้นฐาน 76.6% คาด กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.0 ในรอบการประชุม 5 พฤศจิกายนนี้ เสนอให้รัฐบาลแก้เศรษฐกิจตกต่ำด้วยการ เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ยกเลิกกฎอัยการศึก และเพิ่มรายได้เกษตรกร
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 28 แห่ง จำนวน 64 คน เรื่อง “ความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อการเปลี่ยนกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท.” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 9 – 21 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.1 เห็นด้วยกับข้อเสนอของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เสนอให้เปลี่ยนการใช้เป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) โดยไปใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไป หรือ Headline Inflation แทนการใช้กรอบเงินเฟ้อพื้นฐาน หรือ Core Inflation ในปี 2558 โดยมีเพียงร้อยละ 12.5 เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ร้อยละ 43.8 เห็นว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยควรตั้งกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไปไม่เกินร้อยละ 3.0-4.0
ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 76.6 คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.0 ในรอบการประชุมวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ โดยมีเพียงร้อยละ 7.8 ที่เห็นว่า กนง. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ร้อยละ 6.3 เห็นว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังได้เสนอแนะวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำให้กับรัฐบาล ดังนี้
อันดับ 1 เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีแผนลงทุนที่ชัดเจนอยู่แล้ว
อันดับ 2 ยกเลิกกฎอัยการศึก ส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจหมุนเวียนดีขึ้น
อันดับ 3 สร้างงาน ลดรายจ่ายให้กับประชาชน เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งจะทำให้ ประชาชนมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจมากขึ้น
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
ร้อยละ 78.1 เห็นด้วย ร้อยละ 12.5 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 9.4 ไม่แน่ใจ 2. หากเปลี่ยนไปใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไป (แทนกรอบเงินเฟ้อพื้นฐาน) ธนาคารแห่งประเทศไทยควรตั้งกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไปไม่เกินร้อยละเท่าไรต่อปี (ข้อคำถามปลายเปิด) ร้อยละ 4.7 เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ 2.0 ร้อยละ 14.1 เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ 3.0 ร้อยละ 15.6 เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ 3.5 ร้อยละ 14.1 เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ 4.0 ร้อยละ 3.1 เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ 4.5 ร้อยละ 6.3 เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ 5.0 ร้อยละ 1.6 เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ 7.0 ร้อยละ 40.5 ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ 3. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 7/2557 ในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ กนง. จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอย่างไร (จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 2.00%) ร้อยละ 76.6 เห็นว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิมที่ 2.00% ร้อยละ 7.8 เห็นว่า กนง. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ร้อยละ 6.3 เห็นว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ร้อยละ 9.3 ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ 4. รัฐบาลควรแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำด้วยวิธีใด (ข้อคำถามปลายเปิด) อันดับ 1 เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีแผนลงทุนที่ชัดเจนอยู่แล้ว อันดับ 2 ยกเลิกกฎอัยการศึก ส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจหมุนเวียนดีขึ้น อันดับ 3 สร้างงาน ลดรายจ่ายให้กับประชาชน เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งจะทำให้ ประชาชนมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจมากขึ้น อันดับ 4 ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านส่งออก ให้มีความยืดหยุ่นสามารถแข่งขันได้ อันดับ 5 กระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนโดยการให้สิทธิประโยชน์ลัษณะเดียวกับบีโอไอ อื่นๆ ได้แก่ นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ทั้งระบบ ลดอัตราดอกเบี้ย แก้ปัญหาคอร์รัปชั่น กระจายรายได้ให้เป็นธรรม และให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ
ระยะยาวควบคู่กับระยะสั้น
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสะท้อนความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อแนวคิดการเปลี่ยนกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท. รวมถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบการประชุมที่จะถึงนี้ รวมถึงข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ให้กับประชาชน และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรับทราบเพื่อนำไปใช้ประกอบการวางแผนนโยบายเศรษฐกิจและธุรกิจต่อไป
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 28 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 9 – 21 ตุลาคม 2557 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 1 พฤศจิกายน 2557
ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
หน่วยงานภาครัฐ 33 51.6 หน่วยงานภาคเอกชน 21 32.8 สถาบันการศึกษา 10 15.6 รวม 64 100 เพศ ชาย 41 64.1 หญิง 23 35.9 รวม 64 100 อายุ 26 ปี – 35 ปี 17 26.6 36 ปี – 45 ปี 27 42.2 46 ปีขึ้นไป 19 29.7 ไม่ระบุ 1 1.5 รวม 64 100
การศึกษา
ปริญญาตรี 3 4.7 ปริญญาโท 44 68.8 ปริญญาเอก 16 25 ไม่ระบุ 1 1.5 รวม 64 100 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 8 12.5 6-10 ปี 19 29.7 11-15 ปี 13 20.3 16-20 ปี 9 14.1 ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป 14 21.9 ไม่ระบุ 1 1.5 รวม 64 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--