เนื่องด้วยวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้ เป็นวันลอยกระทง กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,179 คน เรื่อง “ลอยกระทง ในคืนวันเพ็ญเดือน 12” ผลสำรวจพบว่า
ประชาชนร้อยละ 61.3 ตั้งใจจะออกไปลอยกระทงในปีนี้ รองลงมาร้อยละ 15.7 ระบุว่ายังไม่แน่ใจว่าจะลอยหรือไม่ และร้อยละ 1.0 ระบุว่าจะลอยกระทงออนไลน์ ที่เหลือร้อยละ 22.0 จะไม่ทำกิจกรรมใดๆ โดยผู้ที่ระบุว่าจะออกไปลอยกระทง ร้อยละ 96.0 จะเลือกกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ย่อยสลายได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น
สำหรับสถานที่ที่สนใจและอยากไปชมประเพณีลอยกระทงในปีนี้มากที่สุด ประชาชนร้อยละ 27.2 อยากไปเที่ยวงานเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย รองลงมาร้อยละ 27.1 อยากไปเที่ยวงานยี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่ และร้อยละ 10.5 อยากไปเที่ยวงานลอยกระทงตามประทีป ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อถามถึงบรรยากาศงานเทศกาลลอยกระทงในแถบที่พักอาศัยประชาชนร้อยละ 55.4 ระบุว่าบรรยากาศในปีนี้น่าจะคึกคัก ส่วนร้อยละ 36.3 ระบุว่าบรรยากาศไม่น่าจะคึกคัก และร้อยละ 8.3 ไม่แน่ใจ
ด้านความเห็นต่อการออกมารณรงค์ห้ามจุดพลุ ปล่อยโคม ในบางพื้นที่ช่วงวันลอยกระทงของภาคส่วนต่างๆ พบว่า ประชาชนร้อยละ 85.1 เห็นด้วยกับการรณรงค์ดังกล่าว เพราะจะทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ขณะที่ร้อยละ 11.2 ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวคึกคักน้อยลง ขาดสีสัน ที่เหลือร้อยละ 3.7 ไม่แน่ใจ
ส่วนเรื่องในสังคมไทยที่คนไทยอยากปล่อยให้ลอยไปกับกระทงมากที่สุด ร้อยละ 48.3 คือ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ที่ทำให้คนไทยไม่สามัคคีปรองดองกัน รองลงมาร้อยละ 11.3 คือ ความเห็นแก่ตัวของนักการเมือง คอร์รัปชั่นโกงกิน และร้อยละ 10.7 เศรษฐกิจที่ไม่ดี ของแพง ความยากจน
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
จะออกไปลอยกระทง ร้อยละ 61.3 ยังไม่แน่ใจว่าจะลอยหรือไม่ ร้อยละ 15.7 จะลอยกระทงออนไลน์ ร้อยละ 1.0 ไม่ทำกิจกรรมใดๆ ร้อยละ 22.0 2. ความเห็นต่อการเลือกกระทงที่จะใช้ลอยในปีนี้ คือ (ถามเฉพาะผู้ที่จะออกไปลอยกระทง)
กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ย่อยสลายได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 96.0
กระทงอะไรก็ได้ที่หาซื้อได้สะดวก ร้อยละ 2.1 เน้นกระทงที่ราคาถูก ร้อยละ 1.4 กระทงที่เน้นความสวยงามมาก่อน ร้อยละ 0.5 3. สถานที่ที่ให้ความสนใจและอยากไปชมประเพณีลอยกระทงในปีนี้มากที่สุด คือ เผาเทียนเล่นไฟ จ.สุโขทัย ร้อยละ 27.2 งานยี่เป็ง จ.เชียงใหม่ ร้อยละ 27.1 ลอยกระทงตามประทีป ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ร้อยละ 10.5 ลอยกระทงสาย ไหลประทีป จ.ตาก ร้อยละ 7.5 สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง กรุงเทพฯ ร้อยละ 6.0 งานลอยกระทงเมืองพัทยา จ.ชลบุรี ร้อยละ 5.9 ลอยกระทงกาบกล้วยเมืองแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม ร้อยละ 2.7
อื่นๆ อาทิ เอเชียทีค กว๊านพะเยา สถานที่ที่แต่ละท้องถิ่นจัดขึ้น เป็นต้น ร้อยละ 13.1
บรรยากาศน่าจะคึกคัก ร้อยละ 55.4 บรรยากาศไม่น่าจะคึกคัก ร้อยละ 36.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 8.3 5. ความเห็นต่อการออกมารณรงค์ห้ามจุดพลุ ปล่อยโคม ในบางพื้นที่ช่วงวันลอยกระทง ของภาคส่วนต่างๆ ร้อยละ 85.1 เห็นด้วย เพราะจะทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ลดอุบัติเหตุ (เช่นไฟไหม้ รบกวนการบิน) ร้อยละ 11.2 ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวคึกคักน้อยลง ขาดสีสัน ร้อยละ 3.7 ไม่แน่ใจ 6. เรื่องของสังคมไทย 5 อันดับแรก ที่อยากปล่อยให้ลอยไปกับกระทงมากที่สุด คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) อันดับ 1 ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ที่ทำให้คนไทยไม่สามัคคีปรองดองกัน ร้อยละ 48.3 อันดับ 2 ความเห็นแก่ตัวของนักการเมือง คอร์รัปชั่นโกงกิน ร้อยละ 11.3 อันดับ 3 เศรษฐกิจที่ไม่ดี ของแพง ความยากจน ร้อยละ 10.7 อันดับ 4 ยาเสพติด ร้อยละ 9.7 อันดับ 5 การก่ออาชญากรรมต่างๆ เช่น ข่มขืน ฆ่า กระทำรุนแรงต่อเด็กและสตรี ร้อยละ 7.4
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเทศกาลอยกระทง ปี 2557 ในประเด็นสถานที่ที่สนใจอยากไปชมงานลอยกระทง บรรยากาศการลอยกระทง ความเห็นต่อการรณรงค์ห้ามจุดพลุและปล่อยโคมในคืนวันลอยกระทง รวมถึงเรื่องในสังคมที่อยากให้ลอยไปกับกระทง ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และใช้ประโยชน์ต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Ended) จากนั้นจึงได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3 – 4 พฤศจิกายน 2557 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 5 พฤศจิกายน 2557
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 599 50.8 หญิง 580 49.2 รวม 1,179 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 190 16.1 31 ปี – 40 ปี 303 25.7 41 ปี – 50 ปี 332 28.2 51 ปี - 60 ปี 231 19.6 61 ปี ขึ้นไป 123 10.4 รวม 1,179 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 729 61.8 ปริญญาตรี 357 30.3 สูงกว่าปริญญาตรี 93 7.9 รวม 1,179 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 199 16.9 ลูกจ้างเอกชน 285 24.2 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 434 36.7 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 63 5.4 ทำงานให้ครอบครัว 2 0.2 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 158 13.4 นักเรียน/ นักศึกษา 29 2.5 ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม 9 0.7 รวม 1,179 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--