ประชาชนส่วนใหญ่ 64% ยังหนุนรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ทำงานมากกว่า 1 ปี 62.1%เห็นว่าทิศทางการปฏิรูปการเมืองดีขึ้นไปถูกทางแล้ว พร้อมเชื่อมั่นต่อคณะปฏิรูปการเมืองบอกอยากเลือกตั้งนายกฯ โดยตรงจากรายชื่อผู้สมัครมากที่สุด
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมปฏิรูปประเทศไทย ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประชาชนเห็นอย่างไรกับทิศทางการปฏิรูปการเมืองของประเทศไทย” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,115 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 62.1 เห็นว่าทิศทางการปฏิรูปการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบันดีขึ้นและไปถูกทางแล้ว ขณะที่ร้อยละ 34.5 เห็นว่าเหมือนเดิมยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
ส่วนอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยยังไม่สามารถปฏิรูปทางการเมืองได้คือ กลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์หรือกลุ่มอำนาจทางการเมือง (ร้อยละ 68.1) รองลงมาคือ กลุ่มนักการเมืองไทยในปัจจุบัน (ร้อยละ 52.6) การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง (ร้อยละ 39.3) และความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน (ร้อยละ 34.9)
สำหรับความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองที่มี นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ เป็นประธาน จะปฏิรูปด้านการเมืองให้ประสบผลสำเร็จได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 43.3 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 37.4 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด และร้อยละ 19.3 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “หากมีการเลือกตั้ง ท่านอยากให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีแบบใด” ส่วนใหญ่ร้อยละ 34.2 อยากเลือกจากรายชื่อผู้สมัครโดยตรง รองลงมาร้อยละ 21.7 อยากเลือกโดยอ้อมแบบให้ ส.ส. ส.ว. และ สภาประชาชนตามกลุ่มอาชีพต่างๆ เป็นผู้เลือกนายกฯ และร้อยละ 16.9 อยากเลือกโดยตรงจากพรรคการเมือง โดยพรรคที่ได้คะแนนมากที่สุด หัวหน้าพรรคจะเป็นนายกฯ
สุดท้ายเมื่อถามว่า “อยากให้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีระยะเวลาการทำงานเป็นอย่างไร” ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.0 อยากให้ทำงานจนกว่าประเทศจะเรียบร้อยในทุกๆ ด้าน โดยอาจจะมากกว่า 1 ปี (ลดลงจากผลสำรวจครั้งก่อนร้อยละ 2.4)ขณะที่ร้อยละ 36.0 อยากให้ทำงานแล้วเสร็จภายใน 1 ปี และจัดให้มีการเลือกตั้ง
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
เห็นว่าดีขึ้นและไปถูกทางแล้ว ร้อยละ 62.1 เห็นว่าเหมือนเดิมยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 34.5 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 3.4 2. อุปสรรคที่ทำให้ประเทศไทยยังไม่สามารถปฏิรูปทางการเมืองได้(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) กลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์หรือกลุ่มอำนาจทางการเมือง ร้อยละ 68.1 กลุ่มนักการเมืองไทยในปัจจุบัน ร้อยละ 52.6 การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง ร้อยละ 39.3 ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ร้อยละ 34.9 วิธีหรือระบบการเลือกตั้ง ร้อยละ 21.4 3. ความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองที่มี นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ เป็นประธาน จะปฏิรูปด้านการเมืองให้ประสบผลสำเร็จได้ เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 36.0 และเชื่อมั่นมากที่สุดร้อยละ 7.3) ร้อยละ 43.3 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยร้อยละ 28.0 และเชื่อมั่นน้อยที่สุดร้อยละ 9.4) ร้อยละ 37.4 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 19.3 4. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “หากมีการเลือกตั้ง ท่านอยากให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีแบบใด” เลือกจากรายชื่อผู้สมัครโดยตรง ร้อยละ 34.2 เลือกโดยอ้อมแบบให้ ส.ส. ส.ว. และ สภาประชาชนตามกลุ่มอาชีพต่างๆ เป็นผู้เลือกนายกฯ ร้อยละ 21.7 เลือกโดยตรงจากพรรคการเมือง โดยพรรคที่ได้คะแนนมากที่สุด หัวหน้าพรรคจะเป็นนายกฯ ร้อยละ 16.9 เลือกโดยอ้อมแบบให้ ส.ส. และ สภาประชาชนตามกลุ่มอาชีพต่างๆ เป็นผู้เลือกนายกฯ ร้อยละ 10.5 เลือกโดยอ้อมแบบเดิมโดยให้ ส.ส. เป็นผู้เลือกนายกฯ ร้อยละ 10.2 เลือกโดยอ้อมแบบให้ ส.ส. และ ส.ว. เป็นผู้เลือกนายกฯ ร้อยละ 2.4 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 4.1 5. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “อยากให้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีระยะเวลาการทำงานเป็นอย่างไร”
สำรวจเมื่อ ก.ย. 57 สำรวจเมื่อ พ.ย. 57
(ร้อยละ) (ร้อยละ) อยากให้ทำงานจนกว่าประเทศจะเรียบร้อยในทุกๆ ด้าน โดยอาจจะมากกว่า 1 ปี 66.4 64 อยากให้ทำงานแล้วเสร็จภายใน 1 ปี และจัดให้มีการเลือกตั้ง 33.6 36
รายละเอียดการสำรวจ
- เพื่อสะท้อนทิศทางการปฏิรูปทางการเมืองประเทศไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร
- เพื่อต้องการทราบอุปสรรคที่ทำให้ประเทศไทยยังไม่สามารถปฏิรูปทางการเมืองได้
- เพื่อสะท้อนรูปแบบการเลือกตั้งที่ประชาชนต้องการ
- เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อ กมธ. การปฏิรูปการเมืองว่าจะปฏิรูปการเมืองให้ประสบผลสำเร็จได้
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 12 - 13 พฤศจิกายน 2557 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 15 พฤศจิกายน 2557
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 584 52.4 หญิง 531 47.6 รวม 1,115 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 181 16.2 31 ปี – 40 ปี 284 25.5 41 ปี – 50 ปี 322 28.9 51 ปี - 60 ปี 219 19.6 61 ปี ขึ้นไป 109 9.8 รวม 1,115 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 718 64.4 ปริญญาตรี 319 28.6 สูงกว่าปริญญาตรี 78 7 รวม 1,115 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 156 14 ลูกจ้างเอกชน 246 22.1 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 456 40.8 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 80 7.2 ทำงานให้ครอบครัว 1 0.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 135 12.1 นักเรียน/ นักศึกษา 31 2.8 ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม 10 0.9 รวม 1,115 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--