ประชาชน 69.9% เห็นว่าปัจจุบันราคาน้ำมันยังแพงกว่าความเป็นจริง 60.4% มองว่าปตท. เห็นแก่ผลกำไรมากกว่าทำเพื่อประชาชน 56.3% ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื่อหากมีการปฏิรูปพลังงานจะทำให้ราคาพลังงานถูกลง
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมปฏิรูปประเทศไทย ผ่านการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนไทยกับความเชื่อมั่นต่อการปฏิรูปพลังงาน” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,157 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 69.9 เห็นว่าราคาน้ำมันในปัจจุบันของประเทศไทยแพงกว่าความเป็นจริง ขณะที่ร้อยละ 27.5 เห็นว่าราคาพอๆกับความเป็นจริง ที่เหลือร้อยละ 2.6 ไม่แน่ใจ
ส่วนความเห็นต่อธุรกิจพลังงานในประเทศไทยว่ามีรูปแบบเป็นแบบใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.9 เห็นว่าเป็นธุรกิจแบบผูกขาด ขณะร้อยละ 35.4 เห็นว่าเป็นแบบการแข่งขันเสรี และร้อยละ 9.7 ไม่แน่ใจ
ด้านความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ปตท. ได้ทำหน้าที่ในฐานะรัฐวิสาหกิจของประชาชนหรือไม่ นับจากมีการแปรรูป เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.4 มองว่า ปตท. คำนึงถึงแต่ผู้ถือหุ้นและกำไร ขณะที่ร้อยละ 33.9 มองว่า ปตท. ทำหน้าที่ได้ดีเพื่อประชาชน ที่เหลือร้อยละ 5.7 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงแนวคิดที่ห้ามมิให้ข้าราชการ หรือผู้มีอำนาจหน้าที่ไปเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจและบริษัทด้านพลังงานเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.3 เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 29.3 ไม่เห็นด้วย
ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าเห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิดการยกเลิกกองทุนน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันเบนซินลดลง แต่ดีเซล LPG และ NGV จะแพงขึ้น รวมถึงราคาพลังงานอาจมีความผันผวนมากขึ้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.3 ไม่เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 35.9 เห็นด้วย
สำหรับอุปสรรคสำคัญที่สุดในการปฏิรูปพลังงานของประเทศไทยคือ นักการเมือง (ร้อยละ 61.8) รองลงมาคือ ปตท. (ร้อยละ 42.8) และข้าราชการ ผู้มีอำนาจหน้าที่ (ร้อยละ 42.2)
ส่วนผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุดหากมีการปฏิรูปพลังงานคือ ประชาชน (ร้อยละ 38.1) รองลงมาคือ ปตท. (ร้อยละ 16.8) นักการเมือง (ร้อยละ 12.9) และกลุ่มบริษัทเอกชน (ร้อยละ 11.9)
สุดท้ายเมื่อถามว่าหลังการปฏิรูปพลังงาน จะช่วยทำให้ราคาพลังงานโดยรวมเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 43.4 เห็นว่าราคาพลังงานจะถูกลง ขณะที่ร้อยละ 31.9 เห็นว่าราคาเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และร้อยละ 16.9 เห็นว่าราคาจะแพงขึ้น
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
ราคาแพงกว่าความเป็นจริง ร้อยละ 69.9 ราคาพอๆกับความเป็นจริง ร้อยละ 27.5 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 2.6 2. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ธุรกิจพลังงานในประเทศไทยเป็นธุรกิจแบบผูกขาดหรือแข่งขันเสรี” เห็นว่าเป็นธุรกิจแบบผูกขาด ร้อยละ 54.9 เห็นว่าเป็นธุรกิจแบบแข่งขันเสรี ร้อยละ 35.4 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 9.7 3. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ปตท. ได้ทำหน้าที่ในฐานะรัฐวิสาหกิจของประชาชนหรือไม่ นับจากมีการแปรรูป เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา” ปตท. คำนึงถึงแต่ผู้ถือหุ้นและกำไร ร้อยละ 60.4 ปตท. ทำหน้าได้ดีเพื่อประชาชน ร้อยละ 33.9 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 5.7 4. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “เห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิดที่ห้ามมิให้ข้าราชการ หรือผู้มีอำนาจหน้าที่ไปเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจและบริษัทด้านพลังงานเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน” เห็นด้วย ร้อยละ 64.3 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 29.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 6.4 5. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “เห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิดยกเลิกกองทุนน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันเบนซินลดลง แต่ดีเซล LPG และ NGVจะแพงขึ้น รวมถึงราคาพลังงานอาจมีความผันผวนมากขึ้น” เห็นด้วย ร้อยละ 35.9 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 56.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.8 6. อุปสรรคสำคัญในการปฏิรูปพลังงานของประเทศไทย(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) นักการเมือง ร้อยละ 61.8 การผูกขาดของ ปตท. ร้อยละ 42.8 ข้าราชการ ผู้มีอำนาจหน้าที่ ร้อยละ 42.2 ทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำกัด ร้อยละ 37.8 7. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ท่านคิดว่า การปฏิรูปพลังงาน ผู้ใดจะได้รับผลประโยชน์มากที่สุด” ประชาชน ร้อยละ 38.1 ปตท. ร้อยละ 16.8 นักการเมือง ร้อยละ 12.9 กลุ่มบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.9 รัฐบาล ร้อยละ 11.2 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 9.1 8. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “หลังการปฏิรูปพลังงาน จะช่วยทำให้ราคาพลังงานโดยรวมเป็นอย่างไร” คิดว่าราคาพลังงานจะถูกลง ร้อยละ 43.4 เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 31.9 คิดว่าราคาพลังงานจะแพงขึ้น ร้อยละ 16.9 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.8
รายละเอียดการสำรวจ
- เพื่อสะท้อนความเห็นต่อราคาน้ำมัน และธุรกิจด้านพลังงานในปัจจุบันของประเทศไทย
- เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการปฏิรูปพลังงานในด้านต่างๆ
- เพื่อสะท้อนอุปสรรคสำคัญในการปฏิรูปพลังงานของประเทศไทย
- เพื่อสะท้อนผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดหากมีการปฏิรูปพลังงาน
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 17 - 18 พฤศจิกายน 2557 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 22 พฤศจิกายน 2557
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 608 52.5 หญิง 549 47.5 รวม 1,157 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 220 19 31 ปี – 40 ปี 298 25.8 41 ปี – 50 ปี 319 27.5 51 ปี - 60 ปี 214 18.5 61 ปี ขึ้นไป 106 9.2 รวม 1,157 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 723 62.4 ปริญญาตรี 350 30.3 สูงกว่าปริญญาตรี 84 7.3 รวม 1,157 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 166 14.3 ลูกจ้างเอกชน 286 24.7 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 439 37.9 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 71 6.1 ทำงานให้ครอบครัว 4 0.3 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 136 11.8 นักเรียน/ นักศึกษา 41 3.5 ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม 14 1.4 รวม 1,157 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--