นักเศรษฐศาสตร์ คาดปี 2558 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.8% การส่งออกจะขยายตัว 3.7% เงินเฟ้ออยู่ที่ 2.3% ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 33.2 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์และอัตราดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้นโดยปัจจัยฉุดรั้งเศรษฐกิจที่สำคัญคือ เศรษฐกิจโลก ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย และหนี้ครัวเรือน
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 28 แห่ง จำนวน 60 คน เรื่อง “คาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจและการส่งออกปี 2558” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 3-10 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 75.0 คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2558 จะขยายตัวดีกว่าปีนี้ โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ ร้อยละ 3.5 มีเพียงร้อยละ11.7 ที่คาดว่าจะแย่กว่าปีนี้ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจไทยที่ร้อยละ 95.0 คาดว่าจะขยายตัวดีกว่า ปีนี้ และคาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 3.8 มีเพียงร้อยละ 1.7 ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะแย่กว่าปีนี้
สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2558 คาดว่าโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.3 ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายนักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 46.7 คาดว่า ธปท. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันไปสู่ระดับ ร้อยละ 2.50 ภายในสิ้นปี 2558 ขณะที่ร้อยละ 33.3 คาดว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบัน (ร้อยละ 2.00) ตลอดปี 2558 ด้านค่าเงินบาทร้อยละ 51.7 คาดว่าค่าเงินบาทในปีหน้าจะอ่อนค่าลง โดยจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 33.2 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐโดยเฉลี่ย ขณะที่ร้อยละ 23.3 คาดว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น ในส่วนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ร้อยละ 50.0 เห็นว่า SET Index ปี 58 ยังเป็นขาขึ้นโดยกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีอยู่ในช่วง 1,452 -1,683 จุด ขณะที่ร้อยละ 13.3 เห็นว่าจะเป็นขาลง
สำหรับภาคส่งออกในปีหน้านั้นนักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 81.7 คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวดีขึ้น และคาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 3.7 มีเพียงร้อยละ 3.3 ที่คาดว่าการส่งออกจะแย่กว่าปีนี้ นอกจากนี้ร้อยละ 35.0 เชื่อว่าการส่งออกที่ชะลอตัวในปัจจุบันเป็นผลมาจากตลาดโลกที่ชะลอตัว 46% มาจากสินค้าไทยแข่งขันไม่ได้ 37% และมาจาก ปัจจัยอื่นๆ 17%
สำหรับสิ่งที่เห็นว่าภาครัฐควรช่วยเหลือภาคส่งออก มีดังนี้
อันดับ 1 ให้ความช่วยเหลือด้านการวิจัยและพัฒนา เน้นสร้างนวัตกรรม สร้าง Brand และพัฒนาตัวสินค้า
อันดับ 2 ขยายตลาดต่างประเทศให้กว้างขึ้นเพื่อลดการพึ่งพาตลาดหลัก ส่งเสริมการค้าแบบ G2G และ แบบ G2B รวมถึงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้มากขึ้น
อันดับ 3 ให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ส่วนปัจจัยที่นักเศรษฐศาสตร์มองว่าจะส่งผลกระทบและฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยปี 2558 ที่สำคัญ คือ
อันดับ 1 ร้อยละ 70.0 เศรษฐกิจโลกในภาพรวมที่ยังชะลอตัว
อันดับ 2 ร้อยละ 66.7 คือปัญหาความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก .
อันดับ 3 ร้อยละ 63.3 เป็นปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนของไทย
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
ร้อยละ 75.0 คาดว่า เศรษฐกิจโลกปี 2558 จะดีกว่าปี 2557 และจะขยายตัวร้อยละ 3.5
ร้อยละ 11.7 คาดว่า เศรษฐกิจโลกปี 2558 จะแย่กว่าปี 2557 และจะขยายตัวร้อยละ 2.3
ร้อยละ 13.3 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
หมายเหตุ : ใช้ค่าเฉลี่ยเป็นอัตราการขยายตัวคาดการณ์
ร้อยละ 95.0 คาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 2558 จะดีกว่าปี 2557 และคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8
ร้อยละ 1.7 คาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 2558 จะแย่กว่าปี 2557
ร้อยละ 3.3 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
หมายเหตุ : ใช้ค่าเฉลี่ยเป็นอัตราการขยายตัวคาดการณ์
3. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2558 โดยเฉลี่ยจะเท่ากับร้อยละ 2.3
ร้อยละ 46.7 คาดว่า ธปท. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันไปสู่ระดับ ร้อยละ 2.50 ภายในสิ้นปี 2558
ร้อยละ 33.3 คาดว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบัน(ร้อยละ 2.00) ตลอดปี 2558
ร้อยละ 8.3 คาดว่า ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันลงไปสู่ระดับ ร้อยละ 1.75 ภายในสิ้นปี 2558
ร้อยละ 11.7 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
หมายเหตุ : ใช้ค่ากลางเป็นอัตราดอกเบี้ยคาดการณ์
ร้อยละ 51.7 คาดว่า ค่าเงินบาทเฉลี่ยในปี 2558 จะอ่อนค่ากว่าปี 2557 และคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.2 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
ร้อยละ 23.3 คาดว่า ค่าเงินบาทเฉลี่ยในปี 2558 จะแข็งค่ากว่าปี 2557 และคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.0 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
ร้อยละ 25.0 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
หมายเหตุ : ใช้ค่าเฉลี่ยเป็นค่าเงินบาทคาดการณ์
ร้อยละ 50.0 เห็นว่า SET Index ปี 58 เป็นขาขึ้น
โดย จุดสูงสุดของปีคาดว่าดัชนีจะเท่ากับ 1,683 จุด
จุดต่ำสุดของปีคาดว่าดัชนีจะเท่ากับ 1,452 จุด
ร้อยละ 13.3 เห็นว่า SET Index ปี 58 เป็นขาลง
โดย จุดสูงสุดของปีคาดว่าดัชนีจะเท่ากับ 1,597 จุด
จุดต่ำสุดของปีคาดว่าดัชนีจะเท่ากับ 1,414 จุด
ร้อยละ 36.7 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
หมายเหตุ : ใช้ค่าเฉลี่ยคาดการณ์ SET index
ร้อยละ 81.7 การส่งออกของไทยปี 2558 จะดีกว่าปี 2557 และคาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 3.7
ร้อยละ 3.3 การส่งออกของไทยปี 2558 จะแย่กว่าปี 2557 และคาดว่าจะไม่ขยายตัวถึงติดลบร้อยละ 3
ร้อยละ 15.0 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
ร้อยละ 65.0 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
ร้อยละ 35.0 เห็นว่า การส่งออกที่ลดลงมาจาก…
ตลาดโลกที่หดตัวหรือชะลอตัว 46%
สินค้าไทยที่แข่งขันไม่ได้ 37%
ปัจจัยอื่นๆ 17% (ได้แก่ การเมืองในประเทศ/ปัญหาเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรม เช่น กุ้ง/กฎระเบียบการค้า/การย้ายฐานการผลิต/ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ/พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน/สถานการณ์การเมืองต่างประเทศ/ภัยธรรมชาติ/คู่แข่งเพิ่ม/ตลาดการเงินที่ผันผวน/ราคาเชื้อเพลิงสูงขึ้น/ประเทศคู่ค้าต่อต้านการรัฐประหาร)
หมายเหตุ : ใช้ค่าเฉลี่ยแสดงสาเหตุที่ทำให้ส่งออกลดลง
อันดับ 1 ให้ความช่วยเหลือด้านการวิจัยและพัฒนา เน้นสร้างนวัตกรรม สร้าง Brand และพัฒนาตัวสินค้า
อันดับ 2 ขยายตลาดต่างประเทศให้กว้างขึ้นเพื่อลดการพึ่งพาตลาดหลัก ส่งเสริมการค้าแบบ G2G แบบ G2B รวมถึงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้มากขึ้น
อันดับ 3 ให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
อันดับ 4 ลดขั้นตอนการส่งออก ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์
อันดับ 5 ให้ความช่วยเหลือเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ
อื่นๆ ได้แก่ ช่วยพัฒนาฝีมือแรงงาน ดูแลค่าเงินให้มีเสถียรภาพ สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน ลดการแทรกแซงตลาด ส่งสัญญาณที่ถูกต้องให้กับเกษตรกร ลดมาตรการระยะสั้นเน้นแก้ปัญหาระยะยาว ประชาสัมพันธ์ให้ต่างประเทศเข้าใจสินค้าไทย เข้าใจบรรยากาศทางการเมืองของประเทศไทย รวมถึงเสนอให้ภาครัฐอยู่เฉยๆ
ร้อยละ 70.0 เศรษฐกิจโลกในภาพรวมที่ยังชะลอตัว
ร้อยละ 66.7 ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก
ร้อยละ 63.3 หนี้ภาคครัวเรือนของไทย
ร้อยละ 36.7 ปัญหาการเมือง/การชุมนุมประท้วง/เสถียรภาพของรัฐบาล
ร้อยละ 31.7 อัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 30.0 ค่าเงินบาทที่คาดว่าจะแข็งค่าขึ้นหรือผันผวนมากขึ้น
ร้อยละ 25.0 ราคาน้ำมันที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 23.3 ปัญหาภัยธรรมชาติ/ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ร้อยละ 16.7 การเปิดเสรีทางการค้า ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มการค้าอาเซียน(AEC) ข้อตกลง TPP เป็นต้น
ร้อยละ 20.0 หนี้สาธารณะของไทย
ร้อยละ 20.0 ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน
ร้อยละ 3.3 ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น กรณีมาบตาพุด และแหลมฉบัง เป็นต้น
ร้อยละ 8.3 อื่นๆ (โปรดระบุ) ความเชื่อมั่นในรัฐบาล/การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่/การขึ้นดอกเบี้ยของ FED, BOE/การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐไม่เดินหน้า/กำลังซื้อภายในประเทศที่ลดลง
ร้อยละ 5.0 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสะท้อนความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อทิศทางเศรษฐกิจและการส่งออกปี 2558 ให้กับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการนำผลสำรวจไปใช้ประกอบการวางนโยบายเศรษฐกิจและธุรกิจ ให้สอดรับกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงจากทั้งเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกในปีที่จะถึงนี้
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 28 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3 – 10 พฤศจิกายน 2557 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 27 พฤศจิกายน 2557
ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
หน่วยงานภาครัฐ 31 51.7 หน่วยงานภาคเอกชน 21 35 สถาบันการศึกษา 8 13.3 รวม 60 100 เพศ ชาย 35 58.3 หญิง 25 41.7 รวม 60 100 อายุ 26 ปี – 35 ปี 16 26.7 36 ปี – 45 ปี 23 38.3 46 ปีขึ้นไป 21 35 รวม 60 100 การศึกษา ปริญญาตรี 2 3.3 ปริญญาโท 42 70 ปริญญาเอก 16 26.7 รวม 60 100 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 7 11.7 6-10 ปี 19 31.7 11-15 ปี 9 15 16-20 ปี 9 15 ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป 15 25 ไม่ระบุ 1 1.6 รวม 60 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--