เนื่องในโอกาส “วันพ่อแห่งชาติ” 5 ธันวาคม 2557 แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ เครือข่ายเสียงประชาชน (We Voice) ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “พ่อกับการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้ลูก” โดยเก็บข้อมูลจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศในช่วงวันที่ 8-20 พฤศจิกายน 2557 จำนวน 1,234 คน ในจำนวนนี้มีสถานะเป็นพ่อ 350 คน คิดเป็นร้อยละ 28.3 โดยผู้ที่เป็นพ่อให้ข้อคิดเห็นดังนี้
ผู้เป็นพ่อร้อยละ 72.0 ระบุว่า ต้องการให้ลูกมีนิสัยรักการอ่าน ขณะที่ร้อยละ 25.1 ระบุว่าขึ้นอยู่กับตัวลูกมากกว่า และร้อยละ 2.9 ระบุว่าไม่สามารถตอบได้เพราะเป็นเรื่องของอนาคต
เมื่อถามถึงความตั้งใจที่จะเพิ่มบทบาทของพ่อในการสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับลูกเนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติปีนี้ พ่อร้อยละ 34.2 จะตั้งใจมากที่สุด แต่ขึ้นอยู่กับตัวเด็กเองด้วย ร้อยละ 32.3 ระบุว่าจะตั้งใจมากที่สุดเพื่อลูก ขณะที่ ร้อยละ 21.4 จะตั้งใจมากที่สุด แต่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย เช่น การเงินของครอบครัว โรงเรียน ภาครัฐ ชุมชน เป็นต้น และร้อยละ 12.1 ไม่แน่ใจ ว่าจะตั้งใจได้มากเพียงใด
สำหรับอุปสรรคสำคัญที่ทำให้พ่อไม่สามารถอ่านหนังสือให้ลูกฟังได้มากอย่างที่ต้องการ 3 อันดับแรก คือ ไม่มีเวลา/ต้องทำงาน (ร้อยละ 71.3) รองลงมาคือ ลูกต้องทำการบ้าน/ต้องเรียนพิเศษ (ร้อยละ 42.6) และชอบดูทีวีด้วยกันมากกว่า (ร้อยละ 34.2)
เมื่อถามถึงการสร้างค่านิยมมอบหนังสือเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ที่จะถึงนี้ ผู้เป็นพ่อส่วนใหญ่อยากมอบหนังสือให้กับลูกและหลานมากที่สุด (ร้อยละ 55.9) รองลงมาจะมอบให้พ่อแม่/ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพ (ร้อยละ 21.7) และมอบให้เด็กยากจน/ผู้ด้อยโอกาส (ร้อยละ 21.0) ตามลำดับ
สำหรับประเภทของหนังสือที่ผู้เป็นพ่อตั้งใจจะมอบให้ลูกหลานในปีใหม่นี้ อันดับแรกคือหนังสือเกี่ยวกับการเรียน (ร้อยละ 52.2) รองลงมาคือ หนังสือภาพ หนังสือนิทาน หนังสือเด็ก (ร้อยละ 42.8) และหนังสือการ์ตูน (ร้อยละ 29.0) ตามลำดับ
ทั้งนี้ นางสุดใจ พรหมเกิด ตั้งข้อสังเกตจากผลการสำรวจว่า สรุปพ่อเกือบทุกคนต้องการให้ลูกมีนิสัยรักการอ่านแต่ยังขาดการสร้างบรรยากาศการอ่าน เช่นการเลือกหนังสือที่มีความเหมาะสมกับวัย มีความหลากหลาย ตอบสนองความสนใจไม่ใช่แต่เพียงหนังสือเรียน และควรจัดเวลาให้ลูกได้มีโอกาสผ่อนคลาย มีความสุขกับการอ่านเพียงวันละ 20 นาทีขึ้นไป หรือ 5-10 นาที สำหรับลูกในช่วงวัย 0-6 ปี ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ในตัวลูกอย่างชัดเจน
ในโอกาสสำคัญของวันพ่อที่จะถึงนี้ จึงขอเชิญชวนคุณพ่อทุกคนใช้เวลากับการอ่านกับลูก เปิดโอกาสให้ลูกได้เลือกหนังสือเป็นของขวัญพิเศษบ้าง จะเป็นประโยชน์ในการปลูกฝังทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นอย่างยิ่งในโลกอนาคต
ข้อมูลเพิ่มเติมงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ติดต่อ 02-424-4616-17
ข้อมูลเพิ่มเติมด้านการสำรวจ ติดต่อ 02-350-3500 ต่อ 1527
ร้อยละ 72.0 ต้องการให้ลูกรักการอ่าน ร้อยละ 25.1 ขึ้นอยู่กับตัวลูกมากกว่า ร้อยละ 2.9 ตอบไม่ได้เป็นเรื่องอนาคต 2. เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ ท่านมีความตั้งใจเพียงใดที่จะเพิ่มบทบาทของพ่อในการสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับลูกเพื่อถวายพ่อหลวง ร้อยละ 34.2 จะตั้งใจมากที่สุด แต่ขึ้นอยู่กับตัวเด็กเองด้วย ร้อยละ 32.3 จะตั้งใจมากที่สุดเพื่อลูก ร้อยละ 21.4 จะตั้งใจมากที่สุด แต่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย เช่น การเงินของครอบครัว โรงเรียน ภาครัฐ ชุมชน เป็นต้น ร้อยละ 12.1 ไม่แน่ใจ ว่าจะตั้งใจได้มากเพียงใด 3. อุปสรรคของท่านที่ทำให้ไม่สามารถอ่านหนังสือให้ลูกฟังมากอย่างที่ต้องการ (ตอบได้ 3 ข้อ) ร้อยละ 71.3 ไม่มีเวลา/ต้องทำงาน ร้อยละ 42.6 ลูกต้องทำการบ้าน/ต้องเรียนพิเศษ ร้อยละ 34.2 ชอบดูทีวีด้วยกันมากกว่า ร้อยละ 21.9 หนังสือมีราคาแพง ร้อยละ 17.3 ลูกได้อ่านมาจากโรงเรียนอยู่แล้ว ร้อยละ 15.4 ไม่มีหนังสือดีๆ ที่น่าอ่าน ร้อยละ 9.2 ตัวเองไม่ชอบอ่านหนังสือ ร้อยละ 8.4 ไม่มีเงิน เพราะ ต้องเก็บเงินไว้ใช้ในเรื่องอื่นที่จำเป็นมากกว่าการซื้อหนังสือมาอ่าน ร้อยละ 17.0 อื่น อาทิ ลูกไม่ชอบอ่าน ลูกติดเกม ไม่ได้อยู่ด้วยกัน และลูกโตแล้ว ฯลฯ 4. หากจะมอบหนังสือเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ที่จะถึงนี้ ท่านจะมอบให้ใครบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ร้อยละ 55.9 ลูก/หลาน ร้อยละ 21.7 พ่อ/แม่/ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพ ร้อยละ 21.0 เด็กยากจน/ผู้ด้อยโอกาส ร้อยละ 16.7 เพื่อน ร้อยละ 15.6 แฟน/คนรัก ร้อยละ 12.3 พี่/น้อง/ญาติๆ ร้อยละ 10.4 หัวหน้างาน/เพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 6.0 ครู/อาจารย์ ร้อยละ 1.9 อื่นๆ ตัวเอง พระสงฆ์ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดวัด 5. หากจะมอบหนังสือเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ลูกหลาน ท่านจะซื้อหนังสือประเภทใดให้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ร้อยละ 52.2 หนังสือเกี่ยวกับการเรียน ร้อยละ 42.8 หนังสือภาพ/หนังสือนิทาน/หนังสือเด็ก ร้อยละ 29.0 การ์ตูน ร้อยละ 19.5 ศาสนา/หนังสือธรรมะ ร้อยละ 16.9 หนังสือเสริมสร้างวิธีคิด/เพิ่มกำลังใจ ร้อยละ 13.5 วรรณกรรม/นวนิยาย ร้อยละ 13.5 หนังสือความรู้เกี่ยวกับอาชีพ ร้อยละ 13.0 หนังสือท่องเที่ยว/สุขภาพ ร้อยละ 10.1 หนังสือประวัติศาสตร์ ร้อยละ 4.3 นิตยสาร/วารสาร ร้อยละ 3.4 หนังสือศิลปะ/บันเทิง (เพลง/ดารา) ร้อยละ 3.4 หนังสืออื่นๆ (ระบุ) การออกแบบ กีฬา สารคดีต่างๆ
ระเบียบวิธีวิจัย
1. เพื่อรณรงค์ส่งเสริมการอ่านเนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติ
2. เพื่อทราบอุปสรรคของที่ทำให้ผู้เป็นพ่อไม่สามารถอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
3. เพื่อทราบความต้องการซื้อหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่ของผู้ที่เป็นพ่อ
บิดาที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 1,234 ตัวอย่าง โดยในจำนวนนี้นำแบบสอบถามเฉพาะชุดที่ผู้ตอบเป็นพ่อจำนวน 350 ตัวอย่างมาคำนวณ ซึ่งจะให้ค่าความคลาดเคลื่อนประมาณ ? 5.3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิหลายขั้น (Multi-Stage Stratified Sampling) แบ่งพื้นที่ไปตามภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องตามนิยามของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
(1) กรุงเทพมหานคร
(2) ปริมณฑล สุ่มได้จังหวัดนนทบุรีและสมุทรปราการ (3) ภาคกลาง สุ่มได้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (4) ภาคตะวันออก สุ่มได้จังหวัดชลบุรี (5) ภาคเหนือ สุ่มได้จังหวัดเชียงใหม่
(6) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สุ่มได้จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา
(7) ภาคใต้ สุ่มได้จังหวัดสงขลา ขั้นที่ 2 ในแต่ละจังหวัดที่สุ่มได้ เลือกอำเภอเมือง 1 อำเภอ และอำเภออื่นอีก 1 อำเภอ ขั้นที่ 3 ในแต่ละอำเภอที่สุ่มได้ในขั้นที่ 2 แบ่งพื้นที่ออกเป็นในเขตและนอกเขตเทศบาล ในแต่ละเขตพื้นที่จะสุ่มครัวเรือนมาตามจำนวนที่กำหนด ขั้นที่ 4 ในการประมวลผลจะทำการถ่วงน้ำหนักตัวอย่างด้วยจำนวนประชากรในภูมิภาคนั้น วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 8-20 พฤศจิกายน 2557
กำหนดวันเผยแพร่ผลสำรวจ : 2 ธันวาคม 2557
ข้อมูลประชากรศาสตร์เฉพาะผู้ที่เป็นพ่อ
จำนวน ร้อยละ
เพศ ชาย (ผู้เป็นพ่อ) 350 100 อายุ ต่ำกว่า 20 ปี 7 2 21-30 ปี 38 10.9 31-40 ปี 93 26.6 41-50 ปี 111 31.6 มากกว่า 50 ปี 101 28.9 รวม 350 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 167 47.7 ปริญญาตรี 143 40.8 สูงกว่าปริญญาตรี 40 11.5 รวม 350 100 อาชีพ ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 53 15.1 พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 92 26.3 ค้าขาย/อาชีพส่วนตัว 78 22.3 เจ้าของกิจการ 39 11.1 รับจ้างทั่วไป 45 12.9 พ่อบ้าน/เกษียณอายุ 13 3.7 อื่นๆ เช่น นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 30 8.6 รวม 350 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--