ประชาชนเกือบ 60% มีรายได้ยังไม่ค่อยเพียงพอกับรายจ่าย ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน 74% ชี้น้ำมันลดลงมาก แต่ราคาสินค้ายังขายเท่าเดิมไม่ลดลง วอนรัฐช่วยดูแลราคาของสด จำพวก หมู เห็ด เป็ด ไก่ เชื่อหากรัฐประกาศราคาแนะนำ พ่อค้าแม่ค้าจะขายตามราคา และเกือบ 60% พอใจการดูแลราคาสินค้าและค่าครองชีพของรัฐบาล
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ราคาสินค้าควรเป็นอย่างไรหลังราคาน้ำมันลด” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,143 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 58.4 มีรายได้ไม่ค่อยเพียงพอถึงไม่พอเมื่อเปรียบเทียบกับรายจ่าย โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 38.7 มีรายได้ไม่ค่อยเพียงพอกับรายจ่าย และร้อยละ 19.7 มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ขณะที่ร้อยละ 41.6 มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย
เมื่อถามถึงรายได้ ค่าครองชีพ และราคาสินค้าในปัจจุบัน มีผลต่อการตัดสินใจใช้จ่ายอย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.1 ระบุว่าใช้จ่ายอย่างระวัง ซื้อแต่ของจำเป็น ขณะที่ร้อยละ 20.9 ใช้จ่ายเหมือนเดิม กินเหมือนเดิม ที่เหลือร้อยละ 7.8 ไม่ค่อยใช้จ่าย เน้นเก็บออม
เมื่อถามว่า “ราคาน้ำมันที่ลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า ช่วยทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในภาพรวมถูกลงหรือไม่” ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.0 บอกว่า ราคาเท่าเดิม ไม่ถูกลง ขณะที่ร้อยละ 15.0 บอกว่า ราคาแพงขึ้นกว่าเดิม มีเพียงร้อยละ 10.3 ที่เห็นว่าราคาสินค้าถูกลง
ส่วนสาเหตุหลักที่ราคาสินค้าไม่ลดลงในปัจจุบัน ทั้งที่ราคาน้ำมันลดลงค่อนข้างมากคือ ผู้ขาย พ่อค้า แม่ค้า ไม่ยอมลดราคา (ร้อยละ 65.3) รองลงมาคือ รัฐไม่มีมาตรการควบคุมอย่างจริงจัง (ร้อยละ 47.2) การผลิตสินค้ายังมีต้นทุนสูง (ร้อยละ 35.7) และผลจากการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ/ ค่าแรง 300 บาท (ร้อยละ 30.2)
สำหรับประเภทสินค้าที่อยากให้รัฐบาลดูแลเรื่องราคามากที่สุด ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันคือ อาหารของสด เช่น ผัก หมู เห็ด เป็ด ไก่ (ร้อยละ 36.3) รองลงมาคือ ของใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก (ร้อยละ 23.9) และอาหารตามสั่ง ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยว (ร้อยละ 19.5)
นอกจากนี้เมื่อถามว่าการที่รัฐบาลจะประกาศราคาแนะนำสินค้าอาหารจำพวก อาหารสด เนื้อหมู ไก่ ไข่ แก๊สหุงต้ม ภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้ พ่อค้าแม่ค้าจะขายสินค้าในลักษณะใดนั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 45.5 เชื่อว่าจะขายตามราคาแนะนำ ขณะที่ร้อยละ 38.3 เชื่อว่าจะขายแพงกว่าราคาแนะนำ ที่เหลือร้อยละ 6.1 เชื่อว่าจะขายถูกกว่าราคาแนะนำ
สุดท้ายเมื่อถามถึงความพึงพอใจในการดูแลราคาสินค้า ค่าครองชีพ ของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.9 พอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 33.9 พอใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
รายได้เพียงพอกับรายจ่าย ร้อยละ 41.6 รายได้ไม่ค่อยเพียงพอกับรายจ่าย ร้อยละ 38.7 รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ร้อยละ 19.7 2. รายได้ ค่าครองชีพ และราคาสินค้าในปัจจุบัน มีผลต่อการตัดสินใจใช้จ่ายอย่างไร ใช้จ่ายอย่างระวัง ซื้อแต่ของจำเป็น ร้อยละ 71.1 ใช้จ่ายเหมือนเดิม กินเหมือนเดิม ร้อยละ 20.9 ไม่ค่อยใช้จ่าย เน้นเก็บออม ร้อยละ 7.8 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 0.2 3. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ราคาน้ำมันที่ลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า ช่วยทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในภาพรวมถูกลงหรือไม่” ราคาเท่าเดิม ไม่ถูกลง ร้อยละ 74.0 ราคาแพงขึ้นกว่าเดิม ร้อยละ 15.0 ราคาถูกลง ร้อยละ 10.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 0.7 4. ความเห็นต่อสาเหตุหลักที่ราคาสินค้าไม่ลดลงในปัจจุบัน ทั้งที่ราคาน้ำมันลดลงค่อนข้างมาก(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ผู้ขาย พ่อค้า แม่ค้า ไม่ยอมลดราคา ร้อยละ 65.3 รัฐไม่มีมาตรการควบคุมอย่างจริงจัง ร้อยละ 47.2 การผลิตสินค้ายังมีต้นทุนสูง ร้อยละ 35.7 ผลจากการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ/ ค่าแรง 300 บาท ร้อยละ 30.2 เศรษฐกิจไทยยังดีอยู่/ คนยังมีกำลังซื้อ ร้อยละ 13.3 5. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ท่านอยากให้รัฐบาลดูแลราคาสินค้าประเภทใดเป็นอันดับแรก ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน” ราคาของสด เช่น ผัก หมู เห็ด เป็ด ไก่ ร้อยละ 36.3 ราคาของใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ร้อยละ 23.9 ราคาอาหารตามสั่ง ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยว ร้อยละ 19.5 ราคาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับน้ำมันเช่น น้ำมันเครื่อง ร้อยละ 9.9 ราคาค่าโดยสาร (รถประจำทาง/ Taxi/ รถบัส/ เรือฯ) ร้อยละ 4.3 ราคาวัสดุก่อสร้างต่างๆ ร้อยละ 3.7 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 2.4 6. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “การที่รัฐบาลจะประกาศราคาแนะนำสินค้าอาหารจำพวก อาหารสด เนื้อหมู ไก่ ไข่ แก๊สหุงต้ม ภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้ ท่านคิดว่าพ่อค้าแม่ค้าจะขายสินค้าในลักษณะใด” จะขายตามราคาแนะนำ ร้อยละ 45.5 จะขายแพงกว่าราคาแนะนำ ร้อยละ 38.3 จะขายถูกกว่าราคาแนะนำ ร้อยละ 6.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 10.1 7. ความพึงพอใจต่อการดูแลราคาสินค้า ค่าครองชีพ ของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา พอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 59.9 (โดยแบ่งเป็นพอใจค่อนข้างมากร้อยละ 52.8 และพอใจมากที่สุดร้อยละ 7.1) พอใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 33.9 (โดยแบ่งเป็นพอใจค่อนข้างน้อยร้อยละ 29.2 และพอใจน้อยที่สุดร้อยละ 4.7) ไม่แน่ใจ ร้อยละ 6.2
รายละเอียดการสำรวจ
- เพื่อสะท้อนความเห็นต่อราคาน้ำมันที่ลดลง กับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในปัจจุบัน
- เพื่อสะท้อนราคาสินค้าที่อยากให้รัฐบาลช่วยดูแลเป็นอันดับแรก ในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
- เพื่อสะท้อนความเห็นต่อพ่อค้าแม่ค้าว่าจะขายสินค้าในลักษณะใดเป็นส่วนใหญ่ หลังจากรัฐจะประกาศแนะนำราคาสินค้า
- เพื่อสะท้อนความพึงพอใจต่อการดูแลราคาสินค้า ค่าครองชีพของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 20 - 22 มกราคม 2558 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 26 มกราคม 2558
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 588 51.4 หญิง 555 48.6 รวม 1,143 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 171 15 31 ปี – 40 ปี 305 26.7 41 ปี – 50 ปี 333 29.1 51 ปี - 60 ปี 221 19.3 61 ปี ขึ้นไป 113 9.9 รวม 1,143 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 769 67.3 ปริญญาตรี 302 26.4 สูงกว่าปริญญาตรี 72 6.3 รวม 1,143 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 150 13.1 ลูกจ้างเอกชน 305 26.7 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 448 39.1 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 50 4.4 ทำงานให้ครอบครัว 2 0.2 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 147 12.9 นักเรียน/ นักศึกษา 27 2.4 ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม 14 1.2 รวม 1,143 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--