คนไทย 73.8% พร้อมใจใส่เสื้อสีม่วงเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ 69.2 % จำได้ติดตาเรื่องทรงตามเสด็จฯ ในหลวงไปตามที่ต่างๆ และเสด็จฯ ไปตามถิ่นทุรกันดารส่วนใหญ่ยอมรับในพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีและด้านภาษาของพระองค์
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯครบ 5 รอบ วันที่ 2 เมษายนนี้ กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ทำการสำรวจความเห็นของพสกนิกรชาวไทยจากทั่วประเทศจำนวน 1,192 คน พบว่า
พสกนิกรชาวไทยร้อยละ 73.8 เตรียมใส่เสื้อสีม่วงเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในโอกาสพระชนมายุครบ 5 รอบ รองลงมาร้อยละ 53.3 จะทำบุญ ตักบาตร สวดมนต์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และร้อยละ 45.9 จะร่วมจุดเทียนถวายพระพร
เมื่อถามถึงเรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่จำได้ดีที่สุดนั้น คนไทยร้อยละ 69.2 ระบุว่าคือเรื่องที่ทรงตามเสด็จฯ ในหลวงไปตามที่ต่างๆ และเสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์เยี่ยมราษฎรตามถิ่นทุรกันดาร โรงเรียน ตชด. หมู่บ้านชาวเขา รองลงมาร้อยละ 36.0 คือเรื่องทรงเครื่องดนตรีไทย โดยเฉพาะการทรงระนาดเอก และร้อยละ 31.7 คือเรื่องที่ทรงถือสมุดและจดบันทึกเรื่องราวในทุกแห่งที่เสด็จฯ
ด้านพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ประจักษ์ในสายตาคนไทยมากที่สุด คือ พระอัจฉริยภาพในด้านการดนตรี (ร้อยละ 69.0) รองลงมาเป็นด้านภาษา (ร้อยละ 61.5) และด้านการถ่ายทอดความรู้ (ร้อยละ 51.0)
สำหรับคำถวายพระพรแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ของคนไทย คือขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนมายุยิ่งยืนนานและเป็นมิ่งขวัญของคนไทยและประเทศไทยตลอดไป (ร้อยละ 71.0) รองลงมา คือ ขอให้พระองค์มีพระพลานมัยที่แข็งแรง ไม่เจ็บไม่ไข้ (ร้อยละ 26.7) และขอให้พระองค์ทรงเกษมสำราญ ยิ้มแย้ม เป็นกันเองกับทุกคนตลอดไป (ร้อยละ 1.8)
ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
สวมใส่เสื้อสีม่วง (สีประจำพระองค์) ร้อยละ 73.8 ทำบุญ ตักบาตร สวดมนต์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ร้อยละ 53.3 ร่วมจุดเทียนถวายพระพร ร้อยละ 45.9 ประดับธงประจำพระองค์ ตามอาคารบ้านเรือน ร้อยละ 30.6 ร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ร้อยละ 30.3 อื่นๆ อาทิ ลงนามถวายพระพร บริจาคเงิน อุปสมบทหมู่ ปลูกต้นไม้ ฯลฯ ร้อยละ 13.6 2. เรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่จำได้ดีที่สุดเมื่อกล่าวถึงพระองค์ท่าน คือ ทรงตามเสด็จฯ ในหลวงตามที่ต่างๆ และเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ ไปเยี่ยมราษฎร ตามถิ่นทุรกันดาร ร้อยละ 69.2 โรงเรียน ตชด. หมู่บ้านชาวเขา ฯลฯ ทรงเครื่องดนตรีไทย โดยเฉพาะการทรงระนาดเอก ทรงสีซอ และทรงขับร้องเพลง ร้อยละ 36.0 ร่วมกับวงดนตรีไทย ทรงถือสมุดและจดบันทึกเรื่องราว ในทุกแห่งที่เสด็จฯ ร้อยละ 31.7 การพูด และเขียนภาษาจีน รวมถึงการเจริญสัมพันธไมตรี ไทย-จีน ร้อยละ 30.0 ภาพวาดฝีพระหัตถ์ ร้อยละ 22.7 อื่นๆ อาทิ ทรงเป็นพระอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อย จปร. ร้อยละ 11.6 ทรงสะพายกล้องถ่ายรูป ทรงวางพระองค์เรียบง่ายเป็นกันเอง ฯลฯ 3. พระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ประจักษ์ในสายตาคนไทยมากที่สุด คือ ด้านการดนตรี โดยทรงเครื่องดนตรีไทยเช่น ระนาดเอก ซอสามสาย ตลอดจนการขับร้องเพลง ร้อยละ 69.0 ร่วมกับวงดนตรีไทย ด้านภาษา ทรงพูดได้หลายภาษา เช่น ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ ร้อยละ 61.5 ด้านการถ่ายทอดความรู้ ทรงเป็น"ทูลกระหม่อมอาจารย์" ที่โรงเรียนนายร้อย จปร. ร้อยละ 51.0 ด้านพระราชนิพนธ์ ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือและเพลงต่างๆมากมาย เช่น แก้ว จอมแก่น บุหงารำไป ร้อยละ 46.1 เพลงส้มตำ เพลงเมนูไข่ ฯลฯ อื่นๆ อาทิ ด้านวาดรูป ด้านการต่างประเทศ ฯลฯ ร้อยละ 3.0 4. คำถวายพระพรแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ของคนไทยคือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน และเป็นมิ่งขวัญของคนไทย และประเทศไทยตลอดไป ร้อยละ 71.0 ขอให้พระองค์มีพระพลานมัยที่แข็งแรง ไม่เจ็บไม่ไข้ ร้อยละ 26.7 ขอให้พระองค์ทรงเกษมสำราญ ยิ้มแย้ม เป็นกันเองกับทุกคนตลอดไป ร้อยละ 1.8 ขอให้พระองค์ทรงงานเก่งๆ แบบนี้ เพื่อช่วยเหลือประเทศตลอดไป อย่าท้อ ร้อยละ 0.5
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ครบ 5 รอบ เกี่ยวกับวิธีแสดงออกถึงความรักและเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน เรื่องราวที่ประชาชนจดจำได้ดีเมื่อกล่าวถึงพระองค์ ตลอดจนพระอัจฉริยภาพที่เป็นที่ประจักษ์และคำถวายพระพรจากประชาชน ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Ended) จากนั้นจึงได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24 -26 มีนาคม 2558 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 29 มีนาคม 2558
ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 577 48.4 หญิง 615 51.6 รวม 1,192 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 205 17.2 31 ปี – 40 ปี 266 22.3 41 ปี – 50 ปี 349 29.3 51 ปี - 60 ปี 230 19.3 61 ปี ขึ้นไป 142 11.9 รวม 1,192 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 793 66.5 ปริญญาตรี 331 27.8 สูงกว่าปริญญาตรี 68 5.7 รวม 1,192 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 160 13.5 ลูกจ้างเอกชน 297 24.9 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 488 40.9 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 43 3.6 ทำงานให้ครอบครัว 4 0.3 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 138 11.6 นักเรียน/ นักศึกษา 48 4 ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม 14 1.2 รวม 1,192 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--