นักเศรษฐศาสตร์ 76.2% คาดเศรษฐกิจไทยปี 58 โตได้แค่ 3.0% 84.1% เชื่อ กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิมที่ 1.75% และ 61.9% หนุน กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 25 แห่ง จำนวน 63 คน เรื่อง “คาดการณ์แนวโน้ม GDPและทิศทางดอกเบี้ย” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 – 21 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 76.2 เห็นว่า GDP ปี 58 ไม่น่าจะขยายตัวได้ตามเป้าหมายของกระทรวงการคลังที่ตั้งไว้ 3.9% และคาดว่าจะขยายตัวได้เพียง 3.0% เท่านั้น ขณะที่ร้อยละ 9.5 คาดว่า GDP น่าจะเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และมีเพียงร้อยละ 1.6 ที่คาดว่า GDP จะขยายตัวได้ 4.5% ที่เหลือร้อยละ 12.7 ไม่แน่ใจ
ในส่วนของทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 29 เมษายนที่จะถึงนี้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 84.1 คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิมที่ 1.75% มีเพียงร้อยละ 4.8 ที่คาดว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 1.50% ที่เหลือร้อยละ 11.1 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามต่อว่า กนง. ควรปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอย่างไร นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.9 เห็นว่า กนง. ควรคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิมที่ 1.75% ขณะที่ร้อยละ 22.2 เห็นว่า กนง. ควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในจำนวนนี้นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 15.9 เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ที่ 1.50% นักเศรษฐศาสตร์ที่เหลือร้อยละ 6.3 เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ที่ 1.25% ที่เหลือร้อยละ 15.9 ไม่แน่ใจ
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
1. คาดว่า GDP ปี 58 จะขยายตัวเป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงการคลัง(โดย สศค.) ที่ตั้งไว้ 3.9% ได้หรือไม่
ร้อยละ 9.5 คาดว่า GDP น่าจะเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 3.9%
ร้อยละ 76.2 คาดว่าน่าจะเห็นการปรับลด GDP ในการประมาณการครั้งถัดไป และเชื่อว่าปีนี้ GDP จะขยายตัวเพียง 3.0%
ร้อยละ 1.6 คาดว่าน่าจะเห็นการปรับเพิ่ม GDP ในการประมาณการครั้งถัดไป และเชื่อว่าปีนี้ GDP จะขยายตัวได้ 4.5%
ร้อยละ 12.7 ไม่แน่ใจ
หมายเหตุ: 1. สศค. จะมีการปรับการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 58 อีกครั้งวันที่ 29 เม.ย. 58
2. ค่าประมาณการเป็นค่าเฉลี่ย
2. การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 29 เมษายนนี้ คาดว่า กนง. จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอย่างไร (จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 1.75%)
ร้อยละ 84.1 คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิมที่ 1.75%
ร้อยละ 4.8 คาดว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 1.50%
ร้อยละ 11.1 ไม่แน่ใจ
ในจำนวนนี้นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 15.9 เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ที่ 1.50%
นักเศรษฐศาสตร์ที่เหลือร้อยละ 6.3 เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ที่ 1.25% ร้อยละ 15.9 ไม่แน่ใจ
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสะท้อนความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อการคาดการณ์แนวโน้ม GDP และทิศทางดอกเบี้ยให้กับประชาชน และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรับทราบเพื่อนำไปใช้ประกอบการวางแผนนโยบายเศรษฐกิจและธุรกิจต่อไป
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 25 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกร สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 1 – 21 เมษายน 2558 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 26 เมษายน 2558
ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
หน่วยงานภาครัฐ 37 58.7 หน่วยงานภาคเอกชน 19 30.2 สถาบันการศึกษา 7 11.1 รวม 63 100 เพศ ชาย 42 66.7 หญิง 21 33.3 รวม 63 100 อายุ 26 ปี – 35 ปี 11 17.5 36 ปี – 45 ปี 28 44.4 46 ปีขึ้นไป 24 38.1 รวม 63 100 การศึกษา ปริญญาตรี 3 4.8 ปริญญาโท 46 73 ปริญญาเอก 14 22.2 รวม 63 100 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 5 7.9 6-10 ปี 15 23.8 11-15 ปี 13 20.6 16-20 ปี 10 15.9 ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป 20 31.8 รวม 63 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--