คะแนนนิยมพรรคประชาธิปัตย์ยังคงนำพรรคเพื่อไทยประชาชน 61% ชี้ควรเลือกตั้งเมื่อปฏิรูปพร้อมแล้วในทุกๆ ด้าน ส่วนใหญ่อยากเลือกตั้งบัญชีรายชื่อแบบ โอเพ่นลิสต์63% ชมผลงานเด่นนายกฯ คือ การแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่น
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คะแนนนิยมพรรคการเมืองไทยหลังผ่าน 1 ปี คสช.” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,014 คน พบว่า
คะแนนนิยมพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ที่ร้อยละ 29.2 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม 2558 ร้อยละ 8.7 (จากเดิมร้อยละ 20.5) ขณะที่พรรคเพื่อไทยคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 25.8 เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งก่อน ร้อยละ 7.3 (จากเดิมร้อยละ 18.5) รองลงมาคือ พรรคชาติไทยพัฒนา อยู่ที่ร้อยละ 0.8 (จากเดิมร้อยละ 1.7) และพรรครักประเทศไทย อยู่ที่ร้อยละ 0.5 (จากเดิมร้อยละ 0.9)
เมื่อถามถึง “ระยะเวลาที่คิดว่าเหมาะสมสำหรับการเลือกตั้งควรเป็นอย่างไร หลังผ่าน 1 ปี คสช.” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.1 คิดว่าการเลือกตั้งควรเกิดเมื่อประเทศปฏิรูปแล้วในทุกด้าน ขณะที่ร้อยละ 32.0 คิดว่าการเลือกตั้งไม่ควรเกิน 1 ปีนับจากนี้ ส่วนที่เหลือร้อยละ 6.9 ยังไม่แน่ใจ
นอกจากนี้เมื่อถามว่า “อยากให้ประเทศไทยมีการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเป็นอย่างไร” ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.9 อยากเลือกแบบโอเพ่นลิสต์ คือ เลือกทั้งพรรคและเลือกผู้สมัคร ขณะที่ร้อยละ 39.7 อยากเลือกแบบเดิม คือ เลือกพรรคอย่างเดียว ส่วนที่เหลือร้อยละ 13.4 ยังไม่แน่ใจ
สุดท้ายเมื่อถามว่ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีผลงานการแก้ปัญหาประเทศในเรื่องใดเด่นชัดมากที่สุด หลังผ่าน 1 ปี คสช. ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.0 เห็นว่าเป็นเรื่องการคอร์รัปชั่น รองลงมาคือ เรื่องความแตกแยกในสังคม (ร้อยละ 48.3) และเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน การค้ามนุษย์ (ร้อยละ 30.4)
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
จะเลือกพรรค... สำรวจเมื่อ มี.ค. 58 สำรวจเมื่อ พ.ค. 58 เพิ่มขึ้น / ลดลง (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) พรรคประชาธิปัตย์ 20.5 29.2 8.7 พรรคเพื่อไทย 18.5 25.8 7.3 พรรคชาติไทยพัฒนา 1.7 0.8 -0.9 พรรครักประเทศไทย 0.9 0.5 -0.4 พรรคภูมิใจไทย 0.6 0.4 -0.2 พรรคพลังชล 0.4 0.2 -0.2 พรรคอื่นๆ 4.4 1.1 -3.3 ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 53.0 42.0 -11.0 2. ข้อคำถาม “คิดว่าระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเลือกตั้งควรเป็นอย่างไร หลังผ่าน 1 ปี คสช.” คิดว่าการเลือกตั้งควรเกิดเมื่อประเทศปฏิรูปแล้วในทุกด้าน ร้อยละ 61.1 คิดว่าการเลือกตั้งควรเกิดขึ้นไม่เกิน 1 ปีนับจากนี้ ร้อยละ 32.0 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 6.9 3. ข้อคำถาม “อยากให้ประเทศไทยมีการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเป็นอย่างไร” เลือกแบบโอเพ่นลิสต์ คือ เลือกทั้งพรรคและเลือกผู้สมัคร ร้อยละ 46.9 เลือกแบบเดิม คือ เลือกพรรคอย่างเดียว ร้อยละ 39.7 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 13.4 4. ข้อคำถาม “หลังผ่าน 1 ปี คสช. รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีผลงานในการ แก้ปัญหาประเทศในเรื่องใดเด่นชัดมากที่สุด” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ปัญหาคอร์รัปชั่น ร้อยละ 63.0 ปัญหาความแตกแยกในสังคม ร้อยละ 48.3 ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน การค้ามนุษย์ ร้อยละ 30.4 กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 28.9 เศรษฐกิจข้าวของแพง ร้อยละ 19.3 การศึกษา การเรียนรู้ ร้อยละ 15.2 ปัญหาพื้นที่ชายแดนใต้ ร้อยละ 12.8 รายละเอียดการสำรวจ วัตถุประสงค์การสำรวจ
1. เพื่อสะท้อนความนิยมของประชาชนในพรรคการเมืองต่างๆ
2. เพื่อสะท้อนความคิดเห็นต่อระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเลือกตั้ง
3. เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อแบบเดิมและแบบใหม่
4. เพื่อสะท้อนความเห็นต่อผลงานที่เด่นชัดของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลังผ่าน 1 ปี คสช.
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25 – 28 พฤษภาคม 2558
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 1 มิถุนายน 2558
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 513 50.6 หญิง 501 49.4 รวม 1,014 100.0 อายุ 18 ปี - 30 ปี 137 13.5 31 ปี – 40 ปี 244 24.1 41 ปี – 50 ปี 272 26.8 51 ปี - 60 ปี 246 24.3 61 ปี ขึ้นไป 115 11.3 รวม 1,014 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 651 64.2 ปริญญาตรี 291 28.7 สูงกว่าปริญญาตรี 72 7.1 รวม 1,014 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 141 13.9 ลูกจ้างเอกชน 241 23.8 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 342 33.6 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 94 9.3 ทำงานให้ครอบครัว 1 0.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 145 14.3 นักเรียน/ นักศึกษา 27 2.7 ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม 23 2.3 รวม 1,014 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--