ความเป็นมาของการสำรวจ
หลังจากที่แนวความคิดของนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์เรื่องการปิดถนนให้เยาวชนได้แข่งรถซิ่งได้มีการเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน ได้ก่อให้เกิดการ
วิพากษ์วิจารณ์จากผู้คนหลายกลุ่มในสังคม ทั้งนักวิชาการ นักการเมืองฝ่ายค้าน และชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจาก
ปัญหาการแข่งรถซิ่งถึงความถูกต้องเหมาะสมของแนวคิดดังกล่าว ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัย
กรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนเพศชายในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้
ชิดกับปัญหาดังกล่าว เพื่อสะท้อนข้อมูลความคิดเห็นอันจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจกำหนดวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวได้
อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของเยาวชนเพศชายในประเด็นต่อไปนี้
1. ประสบการณ์ในการเข้าร่วมแข่งรถซิ่ง และเหตุผลในการเข้าร่วม
2. ความเห็นต่อแนวคิดที่จะปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่ง
3. ความสนใจเข้าร่วมแข่งรถหากมีการปิดถนนให้แข่งรถซิ่ง
4. ความเชื่อมั่นว่าการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งจะสามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองให้หมดไปได้
5. วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมือง
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างเยาวชนเพศชายอายุ 15-22 ปีในสถานศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 19 แห่ง รวมทั้งกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้ศึกษาแล้ว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน
1,139 คน เป็นเยาวชนที่มีอายุ 15-17 ปีร้อยละ 44.0 และอายุ 18-22 ปีร้อยละ 56.0 โดยเป็นเยาวชนที่
ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและ ปวช.ร้อยละ 32.4
ระดับ ปวส.และอนุปริญญาร้อยละ 31.1 ปริญญาตรีร้อยละ 31.5 และไม่ได้ศึกษาแล้วร้อยละ 5.0
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24-25 สิงหาคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 26 สิงหาคม 2548
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. เยาวชนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.9 ระบุว่าเคยเข้าร่วมแข่งรถซิ่ง โดยมีเหตุผลในการเข้าร่วมคือ
เพื่อความตื่นเต้นสะใจ (ร้อยละ 43.7) เพื่อนชักชวน (ร้อยละ 21.2) อยู่ว่างๆ ไม่มีอะไรทำ (ร้อยละ
14.5) เพื่อโชว์ความกล้าสามารถ (ร้อยละ 10.2) เพื่อทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ (ร้อยละ 7.5)
เพื่อเงินรางวัลและผู้หญิง (ร้อยละ 2.9) ในขณะที่ร้อยละ 63.1 ไม่เคยเข้าร่วม
2. เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับแนวความคิดของนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่จะปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งได้ในวันและเวลาที่กำหนด พบว่า มีเยาวชนเห็น
ด้วยร้อยละ 41.5 ในขณะที่เยาวชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 58.5 ไม่เห็นด้วย โดยกลุ่มที่เห็นด้วยให้เหตุผลว่าเพื่อความ
เป็นระเบียบและควบคุมดูแลง่าย (ร้อยละ 36.9) ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป (ร้อยละ 34.7) เพิ่ม
ทางเลือกในการทำกิจกรรมของวัยรุ่น (ร้อยละ 22.9) และสามารถขับรถซิ่งได้โดยไม่ถูกตำรวจจับ (ร้อยละ
5.5)ส่วนกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่าไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ (ร้อยละ 30.2) เป็นการส่งเสริมเยาวชนในทางที่
ผิด (ร้อยละ 21.7) ไม่ควรใช้ถนนสาธารณะเป็นสนามแข่งรถ (ร้อยละ 18.7) เป็นการกระตุ้นเยาวชนที่ไม่
เคยแข่งรถซิ่งให้หันมาสนใจ (ร้อยละ 13.8) สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง (ร้อยละ
11.9) และไม่เหมาะกับยุคน้ำมันแพง (ร้อยละ 3.6)
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างเยาวชนกลุ่มที่เคยแข่งรถซิ่งกับกลุ่มที่ไม่เคยแข่ง พบว่า กลุ่มที่
เคยแข่งรถซิ่งเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวร้อยละ 62.5 ไม่เห็นด้วยร้อยละ 37.5 ส่วนกลุ่มที่ไม่เคยแข่งรถซิ่งเห็น
ด้วยร้อยละ 31.4และไม่เห็นด้วยร้อยละ 68.6
3. สำหรับความสนใจเข้าร่วมแข่งรถหากมีการปิดถนนให้แข่งรถซิ่งได้นั้น เยาวชนร้อยละ 43.7 ระบุ
ว่าสนใจเข้าร่วม โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องอยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนัก ขณะที่ร้อยละ 56.3 ไม่สนใจเข้าร่วม
ทั้งนี้พบว่าเยาวชนกลุ่มที่ไม่เคยแข่งรถซิ่งระบุว่าสนใจจะเข้าร่วมแข่งรถซิ่งหากมีการปิดถนนให้แข่งได้ถึง
ร้อยละ 28.6 โดยให้เหตุผลว่าสามารถขับซิ่งได้โดยไม่ถูกตำรวจจับ
ในขณะที่กลุ่มซึ่งเคยแข่งรถซิ่งร้อยละ 26.9 กลับไม่สนใจเข้าร่วมโดยให้เหตุผลว่า ไม่สะใจเพราะไม่
ได้หนีตำรวจ ไม่ชอบให้ใครมาควบคุมดูแล และชอบขับซิ่งแบบฝืนกฎมากกว่า
4. ส่วนความคิดเห็นต่อการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งว่าจะสามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองได้หรือไม่
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 60.5 เชื่อว่าวิธีการดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองได้ ขณะ
ที่ร้อยละ 39.5 เชื่อว่าแก้ได้
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่มีประสบการณ์แข่งรถซิ่งพบว่า เยาวชนกลุ่มดังกล่าวถึงร้อยละ 46.1 ที่
เห็นว่าการปิดถนนให้แข่งรถซิ่งไม่สามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองให้หมดไปได้
5. สำหรับวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองตามความเห็นของเยาวชนนั้น อันดับ
แรกเห็นว่าควร ส่งเสริมให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น ดนตรี และกีฬา (ร้อยละ 42.7) รองลงมา
คือตำรวจต้องจับกุมผู้ฝ่าฝืนอย่างจริงจังต่อเนื่อง (ร้อยละ 17.1) ควรจัดสถานที่ที่เหมาะสมเป็นสัดส่วนให้แข่งรถ
(ร้อยละ 15.7) ลงโทษสถานหนักแก่เยาวชนผู้ฝ่าฝืน (ร้อยละ 8.4) รณรงค์สร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องแก่เยาวชน
(ร้อยละ 3.1) และอื่นๆ เช่นจัดให้ไปแข่งรถซิ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 1.8)
ผลสำรวจข้างต้นชี้ให้เห็นว่าแนวความคิดปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งของนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่า
การกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่แม้ว่าจะมีเจตนาที่ดีในการแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองให้บรรเทา
เบาบางลงโดยการปิดถนนให้เยาวชนได้มาขับรถซิ่งแข่งกันเพื่อความเป็นระเบียบและง่ายต่อการควบคุมดูแล แต่จากผล
สำรวจพบว่ากลุ่มวัยรุ่นซึ่งเคยแข่งรถซิ่งถึงร้อยละ 46.1 เห็นว่าการปิดถนนให้เยาวชนได้แข่งรถจะไม่สามารถแก้ปัญหา
รถซิ่งกวนเมืองได้ นอกจากนี้ร้อยละ 26.9 ยังไม่สนใจเข้าร่วมแข่งรถตามแนวทางที่จัดให้ เนื่องจากไม่ท้าทายเพราะ
ไม่ได้ฝืนกฎและไม่มีโอกาสได้ขับหนีตำรวจซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของความมันสะใจที่ได้รับจากการแข่งรถซิ่ง ดังนั้น
เยาวชนกลุ่มนี้ย่อมไปเสาะหาถนนสายอื่นเป็นสนามแข่งต่อไป
ในขณะที่กลุ่มเยาวชนซึ่งไม่เคยเข้าร่วมแข่งรถซิ่งมาก่อนร้อยละ 28.6 กลับสนใจที่จะเข้าร่วมประลอง
ความเร็วหากมีการปิดถนนให้แข่งรถซิ่งได้โดยที่ตำรวจไม่จับ
นั่นเท่ากับว่าการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งน่าจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี กล่าวคือนอกจากจะไม่สามารถ
แก้ไข ปัญหารถซิ่งกวนเมืองได้แล้ว ยังกลับขยายวงของปัญหาดังกล่าวให้แผ่กว้างออกไปสู่เยาวชนกลุ่มใหม่ๆ อีกด้วย
จึงน่าที่จะต้องมีการพิจารณาทบทวนให้รอบคอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
อายุ :
15 — 17 ปี 501 44.0
18 — 22 ปี 638 56.0
การศึกษา
มัธยมศึกษา/ปวช. 369 32.4
ปวส./อนุปริญญา 354 31.1
ปริญญาตรี 359 31.5
ไม่ได้ศึกษาแล้ว 57 5.0
ตารางที่ 2: ประสบการณ์ในการเข้าร่วมแข่งรถซิ่ง
จำนวน ร้อยละ
ไม่เคยเข้าร่วม 719 63.1
เคยเข้าร่วม 420 36.9
โดยเหตุผลในการเข้าร่วมคือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
เพื่อความตื่นเต้นสะใจ 43.7
เพื่อนชักชวน 21.2
อยู่ว่างๆไม่มีอะไรทำ 14.5
เพื่อโชว์ความกล้าสามารถ 10.2
เพื่อทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ 7.5
เพื่อเงินรางวัลและผู้หญิง 2.9
ตารางที่ 3: ความคิดเห็นต่อการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่ง
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย เพราะ 473 41.5
เป็นระเบียบ/ควบคุมดูแลง่าย 36.9
ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป 34.7
เพิ่มทางเลือกในการทำกิจกรรมของวัยรุ่น 22.9
สามารถขับรถซิ่งได้โดยไม่โดนจับ 5.5
ไม่เห็นด้วย เพราะ 666 58.5
ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ 30.2
เป็นการส่งเสริมเยาวชนในทางที่ผิด 21.7
ไม่ควรใช้ถนนสาธารณะเป็นสนามแข่ง 18.7
เป็นการกระตุ้นเยาวชนที่ไม่เคยแข่งรถซิ่งให้หันมาสนใจ 13.8
สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง 11.9
ไม่เหมาะกับยุคน้ำมันแพง 3.6
เปรียบเทียบความเห็นต่อแนวความคิดที่จะปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งระหว่างผู้ที่เคยเข้าร่วมแข่งรถซิ่ง
และผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมแข่งรถซิ่ง
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
เยาวชนที่เคยแข่งรถซิ่ง 62.5 37.5
เยาวชนที่ไม่เคยแข่งรถซิ่ง 31.4 68.6
ตารางที่ 4: ความสนใจเข้าร่วมแข่งรถหากมีการปิดถนนให้แข่งรถซิ่งได้ตามแนวคิดของ รมว.กระทรวง
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
จำนวน ร้อยละ
สนใจเข้าร่วม 498 43.7
ไม่สนใจเข้าร่วม 641 56.3
รวม 1139 100.0
เปรียบเทียบความสนใจเข้าร่วมแข่งรถหากมีการปิดถนนให้แข่งรถซิ่งได้ระหว่างเยาวชนกลุ่มที่เคย
แข่งรถซิ่งและไม่เคยแข่งรถซิ่ง
สนใจเข้าร่วม ไม่สนใจเข้าร่วม
เยาวชนที่เคยแข่งรถซิ่ง 73.1 26.9
เยาวชนที่ไม่เคยแข่งรถซิ่ง 28.6 71.4
ตารางที่ 5: ความคิดเห็นต่อการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งว่าจะสามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมือง
ให้หมดไปได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
แก้ได้ 450 39.5
แก้ไม่ได้ 689 60.5
รวม 1139 100.0
เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งว่าจะสามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมือง
ให้หมดไปได้หรือไม่ ระหว่างกลุ่มที่เคยแข่งรถซิ่งกับไม่เคยแข่งรถซิ่ง
แก้ได้ แก้ไม่ได้
เยาวชนที่เคยแข่งรถซิ่ง 53.9 46.1
เยาวชนที่ไม่เคยแข่งรถซิ่ง 31.1 68.9
ตารางที่ 6: วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมือง
จำนวน ร้อยละ
ส่งเสริมให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น ดนตรี กีฬา 486 42.7
ตำรวจต้องจับกุมผู้ฝ่าฝืนอย่างอย่างจริงจังต่อเนื่อง 195 17.1
จัดสถานที่ที่เหมาะสมเป็นสัดส่วนให้แข่งรถ 179 15.7
ลงโทษสถานหนักแก่ร้านที่รับดัดแปลงเครื่องยนต์เกินกฎหมายกำหนด 128 11.2
เพิ่มบทลงโทษแก่เยาวชนผู้ฝ่าฝืน 96 8.4
รณรงค์สร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องแก่เยาวชน 35 3.1
อื่นๆ เช่น จัดให้ไปแข่งรถซิ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 1.8
รวม 1139 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
หลังจากที่แนวความคิดของนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์เรื่องการปิดถนนให้เยาวชนได้แข่งรถซิ่งได้มีการเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน ได้ก่อให้เกิดการ
วิพากษ์วิจารณ์จากผู้คนหลายกลุ่มในสังคม ทั้งนักวิชาการ นักการเมืองฝ่ายค้าน และชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจาก
ปัญหาการแข่งรถซิ่งถึงความถูกต้องเหมาะสมของแนวคิดดังกล่าว ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัย
กรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนเพศชายในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้
ชิดกับปัญหาดังกล่าว เพื่อสะท้อนข้อมูลความคิดเห็นอันจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจกำหนดวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวได้
อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของเยาวชนเพศชายในประเด็นต่อไปนี้
1. ประสบการณ์ในการเข้าร่วมแข่งรถซิ่ง และเหตุผลในการเข้าร่วม
2. ความเห็นต่อแนวคิดที่จะปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่ง
3. ความสนใจเข้าร่วมแข่งรถหากมีการปิดถนนให้แข่งรถซิ่ง
4. ความเชื่อมั่นว่าการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งจะสามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองให้หมดไปได้
5. วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมือง
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างเยาวชนเพศชายอายุ 15-22 ปีในสถานศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 19 แห่ง รวมทั้งกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้ศึกษาแล้ว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน
1,139 คน เป็นเยาวชนที่มีอายุ 15-17 ปีร้อยละ 44.0 และอายุ 18-22 ปีร้อยละ 56.0 โดยเป็นเยาวชนที่
ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและ ปวช.ร้อยละ 32.4
ระดับ ปวส.และอนุปริญญาร้อยละ 31.1 ปริญญาตรีร้อยละ 31.5 และไม่ได้ศึกษาแล้วร้อยละ 5.0
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24-25 สิงหาคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 26 สิงหาคม 2548
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. เยาวชนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.9 ระบุว่าเคยเข้าร่วมแข่งรถซิ่ง โดยมีเหตุผลในการเข้าร่วมคือ
เพื่อความตื่นเต้นสะใจ (ร้อยละ 43.7) เพื่อนชักชวน (ร้อยละ 21.2) อยู่ว่างๆ ไม่มีอะไรทำ (ร้อยละ
14.5) เพื่อโชว์ความกล้าสามารถ (ร้อยละ 10.2) เพื่อทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ (ร้อยละ 7.5)
เพื่อเงินรางวัลและผู้หญิง (ร้อยละ 2.9) ในขณะที่ร้อยละ 63.1 ไม่เคยเข้าร่วม
2. เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับแนวความคิดของนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่จะปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งได้ในวันและเวลาที่กำหนด พบว่า มีเยาวชนเห็น
ด้วยร้อยละ 41.5 ในขณะที่เยาวชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 58.5 ไม่เห็นด้วย โดยกลุ่มที่เห็นด้วยให้เหตุผลว่าเพื่อความ
เป็นระเบียบและควบคุมดูแลง่าย (ร้อยละ 36.9) ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป (ร้อยละ 34.7) เพิ่ม
ทางเลือกในการทำกิจกรรมของวัยรุ่น (ร้อยละ 22.9) และสามารถขับรถซิ่งได้โดยไม่ถูกตำรวจจับ (ร้อยละ
5.5)ส่วนกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่าไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ (ร้อยละ 30.2) เป็นการส่งเสริมเยาวชนในทางที่
ผิด (ร้อยละ 21.7) ไม่ควรใช้ถนนสาธารณะเป็นสนามแข่งรถ (ร้อยละ 18.7) เป็นการกระตุ้นเยาวชนที่ไม่
เคยแข่งรถซิ่งให้หันมาสนใจ (ร้อยละ 13.8) สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง (ร้อยละ
11.9) และไม่เหมาะกับยุคน้ำมันแพง (ร้อยละ 3.6)
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างเยาวชนกลุ่มที่เคยแข่งรถซิ่งกับกลุ่มที่ไม่เคยแข่ง พบว่า กลุ่มที่
เคยแข่งรถซิ่งเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวร้อยละ 62.5 ไม่เห็นด้วยร้อยละ 37.5 ส่วนกลุ่มที่ไม่เคยแข่งรถซิ่งเห็น
ด้วยร้อยละ 31.4และไม่เห็นด้วยร้อยละ 68.6
3. สำหรับความสนใจเข้าร่วมแข่งรถหากมีการปิดถนนให้แข่งรถซิ่งได้นั้น เยาวชนร้อยละ 43.7 ระบุ
ว่าสนใจเข้าร่วม โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องอยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนัก ขณะที่ร้อยละ 56.3 ไม่สนใจเข้าร่วม
ทั้งนี้พบว่าเยาวชนกลุ่มที่ไม่เคยแข่งรถซิ่งระบุว่าสนใจจะเข้าร่วมแข่งรถซิ่งหากมีการปิดถนนให้แข่งได้ถึง
ร้อยละ 28.6 โดยให้เหตุผลว่าสามารถขับซิ่งได้โดยไม่ถูกตำรวจจับ
ในขณะที่กลุ่มซึ่งเคยแข่งรถซิ่งร้อยละ 26.9 กลับไม่สนใจเข้าร่วมโดยให้เหตุผลว่า ไม่สะใจเพราะไม่
ได้หนีตำรวจ ไม่ชอบให้ใครมาควบคุมดูแล และชอบขับซิ่งแบบฝืนกฎมากกว่า
4. ส่วนความคิดเห็นต่อการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งว่าจะสามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองได้หรือไม่
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 60.5 เชื่อว่าวิธีการดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองได้ ขณะ
ที่ร้อยละ 39.5 เชื่อว่าแก้ได้
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่มีประสบการณ์แข่งรถซิ่งพบว่า เยาวชนกลุ่มดังกล่าวถึงร้อยละ 46.1 ที่
เห็นว่าการปิดถนนให้แข่งรถซิ่งไม่สามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองให้หมดไปได้
5. สำหรับวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองตามความเห็นของเยาวชนนั้น อันดับ
แรกเห็นว่าควร ส่งเสริมให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น ดนตรี และกีฬา (ร้อยละ 42.7) รองลงมา
คือตำรวจต้องจับกุมผู้ฝ่าฝืนอย่างจริงจังต่อเนื่อง (ร้อยละ 17.1) ควรจัดสถานที่ที่เหมาะสมเป็นสัดส่วนให้แข่งรถ
(ร้อยละ 15.7) ลงโทษสถานหนักแก่เยาวชนผู้ฝ่าฝืน (ร้อยละ 8.4) รณรงค์สร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องแก่เยาวชน
(ร้อยละ 3.1) และอื่นๆ เช่นจัดให้ไปแข่งรถซิ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 1.8)
ผลสำรวจข้างต้นชี้ให้เห็นว่าแนวความคิดปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งของนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่า
การกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่แม้ว่าจะมีเจตนาที่ดีในการแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองให้บรรเทา
เบาบางลงโดยการปิดถนนให้เยาวชนได้มาขับรถซิ่งแข่งกันเพื่อความเป็นระเบียบและง่ายต่อการควบคุมดูแล แต่จากผล
สำรวจพบว่ากลุ่มวัยรุ่นซึ่งเคยแข่งรถซิ่งถึงร้อยละ 46.1 เห็นว่าการปิดถนนให้เยาวชนได้แข่งรถจะไม่สามารถแก้ปัญหา
รถซิ่งกวนเมืองได้ นอกจากนี้ร้อยละ 26.9 ยังไม่สนใจเข้าร่วมแข่งรถตามแนวทางที่จัดให้ เนื่องจากไม่ท้าทายเพราะ
ไม่ได้ฝืนกฎและไม่มีโอกาสได้ขับหนีตำรวจซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของความมันสะใจที่ได้รับจากการแข่งรถซิ่ง ดังนั้น
เยาวชนกลุ่มนี้ย่อมไปเสาะหาถนนสายอื่นเป็นสนามแข่งต่อไป
ในขณะที่กลุ่มเยาวชนซึ่งไม่เคยเข้าร่วมแข่งรถซิ่งมาก่อนร้อยละ 28.6 กลับสนใจที่จะเข้าร่วมประลอง
ความเร็วหากมีการปิดถนนให้แข่งรถซิ่งได้โดยที่ตำรวจไม่จับ
นั่นเท่ากับว่าการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งน่าจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี กล่าวคือนอกจากจะไม่สามารถ
แก้ไข ปัญหารถซิ่งกวนเมืองได้แล้ว ยังกลับขยายวงของปัญหาดังกล่าวให้แผ่กว้างออกไปสู่เยาวชนกลุ่มใหม่ๆ อีกด้วย
จึงน่าที่จะต้องมีการพิจารณาทบทวนให้รอบคอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
อายุ :
15 — 17 ปี 501 44.0
18 — 22 ปี 638 56.0
การศึกษา
มัธยมศึกษา/ปวช. 369 32.4
ปวส./อนุปริญญา 354 31.1
ปริญญาตรี 359 31.5
ไม่ได้ศึกษาแล้ว 57 5.0
ตารางที่ 2: ประสบการณ์ในการเข้าร่วมแข่งรถซิ่ง
จำนวน ร้อยละ
ไม่เคยเข้าร่วม 719 63.1
เคยเข้าร่วม 420 36.9
โดยเหตุผลในการเข้าร่วมคือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
เพื่อความตื่นเต้นสะใจ 43.7
เพื่อนชักชวน 21.2
อยู่ว่างๆไม่มีอะไรทำ 14.5
เพื่อโชว์ความกล้าสามารถ 10.2
เพื่อทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ 7.5
เพื่อเงินรางวัลและผู้หญิง 2.9
ตารางที่ 3: ความคิดเห็นต่อการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่ง
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย เพราะ 473 41.5
เป็นระเบียบ/ควบคุมดูแลง่าย 36.9
ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป 34.7
เพิ่มทางเลือกในการทำกิจกรรมของวัยรุ่น 22.9
สามารถขับรถซิ่งได้โดยไม่โดนจับ 5.5
ไม่เห็นด้วย เพราะ 666 58.5
ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ 30.2
เป็นการส่งเสริมเยาวชนในทางที่ผิด 21.7
ไม่ควรใช้ถนนสาธารณะเป็นสนามแข่ง 18.7
เป็นการกระตุ้นเยาวชนที่ไม่เคยแข่งรถซิ่งให้หันมาสนใจ 13.8
สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง 11.9
ไม่เหมาะกับยุคน้ำมันแพง 3.6
เปรียบเทียบความเห็นต่อแนวความคิดที่จะปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งระหว่างผู้ที่เคยเข้าร่วมแข่งรถซิ่ง
และผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมแข่งรถซิ่ง
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
เยาวชนที่เคยแข่งรถซิ่ง 62.5 37.5
เยาวชนที่ไม่เคยแข่งรถซิ่ง 31.4 68.6
ตารางที่ 4: ความสนใจเข้าร่วมแข่งรถหากมีการปิดถนนให้แข่งรถซิ่งได้ตามแนวคิดของ รมว.กระทรวง
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
จำนวน ร้อยละ
สนใจเข้าร่วม 498 43.7
ไม่สนใจเข้าร่วม 641 56.3
รวม 1139 100.0
เปรียบเทียบความสนใจเข้าร่วมแข่งรถหากมีการปิดถนนให้แข่งรถซิ่งได้ระหว่างเยาวชนกลุ่มที่เคย
แข่งรถซิ่งและไม่เคยแข่งรถซิ่ง
สนใจเข้าร่วม ไม่สนใจเข้าร่วม
เยาวชนที่เคยแข่งรถซิ่ง 73.1 26.9
เยาวชนที่ไม่เคยแข่งรถซิ่ง 28.6 71.4
ตารางที่ 5: ความคิดเห็นต่อการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งว่าจะสามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมือง
ให้หมดไปได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
แก้ได้ 450 39.5
แก้ไม่ได้ 689 60.5
รวม 1139 100.0
เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งว่าจะสามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมือง
ให้หมดไปได้หรือไม่ ระหว่างกลุ่มที่เคยแข่งรถซิ่งกับไม่เคยแข่งรถซิ่ง
แก้ได้ แก้ไม่ได้
เยาวชนที่เคยแข่งรถซิ่ง 53.9 46.1
เยาวชนที่ไม่เคยแข่งรถซิ่ง 31.1 68.9
ตารางที่ 6: วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมือง
จำนวน ร้อยละ
ส่งเสริมให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น ดนตรี กีฬา 486 42.7
ตำรวจต้องจับกุมผู้ฝ่าฝืนอย่างอย่างจริงจังต่อเนื่อง 195 17.1
จัดสถานที่ที่เหมาะสมเป็นสัดส่วนให้แข่งรถ 179 15.7
ลงโทษสถานหนักแก่ร้านที่รับดัดแปลงเครื่องยนต์เกินกฎหมายกำหนด 128 11.2
เพิ่มบทลงโทษแก่เยาวชนผู้ฝ่าฝืน 96 8.4
รณรงค์สร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องแก่เยาวชน 35 3.1
อื่นๆ เช่น จัดให้ไปแข่งรถซิ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 1.8
รวม 1139 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-