ประชาชน 42.1% ระบุเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันย่ำแย่กว่าเดิม 42.8 % ระบุว่ามีรายได้พอดีกับค่าใช้จ่าย จึงไม่มีเงินเก็บออม 67.8% ต้องใช้ชีวิตแบบ “พออยู่พอกิน” แต่มีถึง 24.9 % ที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง 71.3% ระบุรัฐบาลทำดีที่สุดแล้วกับการบริหารเศรษฐกิจที่ผ่านมา
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “เศรษฐกิจระดับครัวเรือนเป็นอย่างไร ในปัจจุบัน” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 1,143 คน พบว่า
ประชาชนร้อยละ 42.1เห็นว่าเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันย่ำแย่กว่าเดิม รองลงมาร้อยละ 38.4 เห็นว่าแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 19.5 เห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น
ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 63.1 ระบุว่าราคาสินค้าในปัจจุบันมีผลกระทบกับชีวิตประจำวัน ขณะที่ร้อยละ 36.9 ระบุว่าไม่กระทบ
เมื่อถามถึงรายได้ในแต่ละเดือนว่าเพียงพอกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ ประชาชนร้อยละ 42.8 ระบุว่ามีรายได้พอดีกับค่าใช้จ่าย จึงไม่มีเงินเก็บออม รองลงมาร้อยละ 37.5 ระบุว่ารายได้ไม่เพียงพอ ต้องกู้ ต้องหยิบยืม และมีเพียงร้อยละ 19.7 ที่ระบุว่ามีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม
สำหรับความเครียดกับเรื่องการเงินของครอบครัวในปัจจุบันพบว่า ประชาชนร้อยละ 59.5 ระบุว่าไม่เครียด ขณะที่ร้อยละ 40.5 ระบุว่าเครียด
เมื่อให้เปรียบเทียบสำนวนไทยกับสภาพการเงินในปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.8 ระบุว่าสภาพการเงินของตนเองตรงกับสำนวน “พออยู่พอกิน” รองลงมาร้อยละ 29.4 ตรงกับสำนวน “ชักหน้าไม่ถึงหลัง” และ ตรงกับสำนวน “อดมื้อกินมื้อ” และ“เหลือกินเหลือใช้” ที่ร้อยละ 1.4
ส่วนความเห็นต่อการบริหารเศรษฐกิจที่ผ่านมาของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้น ประชาชนร้อยละ 71.3 ระบุว่า “รัฐบาลทำดีที่สุดแล้ว” รองลงมา ร้อยละ 17.4 ระบุว่า “น่าผิดหวัง” ที่เหลือร้อยละ 11.3 ระบุว่า “ดีกว่าที่คาดหวังไว้”
นอกจากนี้เมื่อถามถึงความคาดหวังที่มีต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยในอนาคตภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่าร้อยละ 49.7 ระบุว่ารู้สึกมีความหวัง รองลงมาร้อยละ 40.5 ระบุว่ารู้สึกเฉยๆ และมีเพียงร้อยละ 9.8 เท่านั้นที่ระบุว่า รู้สึกสิ้นหวัง
โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ความเห็นต่อสภาพเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้
เศรษฐกิจย่ำแย่กว่าเดิม ร้อยละ 42.1 เศรษฐกิจยังแย่เหมือนเดิม ร้อยละ 38.4 เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ร้อยละ 19.5 2. ราคาสินค้าและบริการในปัจจุบันส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันมากน้อยเพียงใด มีผลกระทบ ร้อยละ 63.1 (โดยในจำนวนนี้ระบุว่า มีผลกระทบมาก ร้อยละ 29.0 มีผลกระทบค่อนข้างมาก ร้อยละ 34.1) ไม่มีผลกระทบ ร้อยละ 36.9
(โดยในจำนวนนี้ระบุว่า ไม่ค่อยมีผลกระทบ ร้อยละ 30.5
ไม่มีผลกระทบเลย ร้อยละ 6.4)
พอดีกับค่าใช้จ่าย จึงไม่มีเงินเก็บออม ร้อยละ 42.8 ไม่เพียงพอ ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ร้อยละ 37.5 เพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม ร้อยละ 19.7 4. ปัจจุบันมีความเครียดกับเรื่องการเงินของครอบครัวเพียงใด มีความเครียด ร้อยละ 40.5 (โดยในจำนวนนี้ระบุว่า ไม่เครียด ร้อยละ 59.5 เครียดมาก ร้อยละ 15.6) เครียดค่อนข้างมาก ร้อยละ 24.9 (โดยในจำนวนนี้ระบุว่า ไม่ค่อยเครียด ร้อยละ 41.7 ไม่เครียดเลย ร้อยละ 17.8) 5. สำนวนไทยที่ตรงกับสภาพการเงินมากในปัจจุบันที่สุด พออยู่พอกิน ร้อยละ 67.8 ชักหน้าไม่ถึงหลัง ร้อยละ 29.4 อดมื้อกินมื้อ ร้อยละ 1.4 เหลือกินเหลือใช้ ร้อยละ 1.4 6. ความเห็นต่อการบริหารเศรษฐกิจที่ผ่านมาของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐบาลทำดีที่สุดแล้ว ร้อยละ 71.3 น่าผิดหวัง ร้อยละ 17.4 ดีกว่าที่คาดหวังไว้ ร้อยละ 11.3 7. ความรู้สึกต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยในอนาคตภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รู้สึกมีความหวัง ร้อยละ 49.7 รู้สึกเฉยๆ ร้อยละ 40.5 รู้สึกสิ้นหวัง ร้อยละ 9.8
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจในระดับครัวเรือน ในด้านผลกระทบจากราคาสินค้า ความเพียงพอของรายได้ในแต่ละเดือน และความเครียดต่อสภาพการเงินของครอบครัว รวมถึงความเห็นที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้สังคมและรัฐบาลได้รับทราบและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) แล้วได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 7-9 กรกฎาคม 2558 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 11 กรกฎาคม 2558
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 552 48.3 หญิง 591 51.7 รวม 1,143 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 186 16.3 31 ปี – 40 ปี 261 22.8 41 ปี – 50 ปี 318 27.8 51 ปี - 60 ปี 254 22.2 61 ปี ขึ้นไป 124 10.9 รวม 1,143 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 780 68.4 ปริญญาตรี 282 24.6 สูงกว่าปริญญาตรี 81 7 รวม 1,143 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 127 11.1 ลูกจ้างเอกชน 300 26.3 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 455 39.9 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 62 5.4 ทำงานให้ครอบครัว 2 0.2 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 136 11.9 นักเรียน/ นักศึกษา 40 3.5 ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม 21 1.7 รวม 1,143 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--