ประชาชน 88.2% เตรียมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง 67.4% ชี้ภัยแล้งรุนแรงสุดเท่าที่เคยเจอมา 72.5% กังวลจะกระทบรายได้ ข้าวของแพง วอนรัฐแก้ปัญหาให้จริงจังกว่านี้ 56.9% เชื่ออนาคตจัดการภัยแล้งและน้ำท่วมได้แน่
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับสถานการณ์ภัยแล้งในประเทศไทย” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,133 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 67.4 เห็นว่าสถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบันรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเจอมา ขณะที่ร้อยละ 27.7 เห็นว่าไม่ค่อยรุนแรงมากนัก และร้อยละ 3.0 เห็นว่าไม่รุนแรงเลย
สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งในปีนี้พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.4 เห็นว่ามาจากปัญหาจากภัยธรรมชาติ รองลงมาร้อยละ 68.0 มาจากการตัดไม้ทำลายป่า และร้อยละ 28.3 มาจากการบริหารจัดการน้ำไม่ดี
เมื่อถามว่าสถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบันมีผลกระทบทำให้กังวลในเรื่องใดมากที่สุด ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.5 กังวลว่า จะกระทบรายได้/การทำเกษตร/พืชผลเสียหาย รองลงมาร้อยละ 49.5 กังวลว่าข้าวของจะราคาแพงขึ้น/ราคาสินค้าเกษตรแพงขึ้น และร้อยละ 49.0 กังวลว่าจะไม่มีน้ำใช้อุปโภคบริโภค
ส่วนการเตรียมป้องกันและรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 88.2 มีการเตรียมป้องกันและรับมือไว้แล้ว โดย จะ ใช้น้ำอย่างประหยัด (ร้อยละ 78.2) รองลงมาคือ ซื้อถังไว้กักเก็บน้ำ (ร้อยละ 20.1) และกักตุนน้ำไว้อุปโภคบริโภค(ร้อยละ 16.4) ขณะที่ร้อยละ 11.8 ไม่มีการเตรียมป้องกันรับมือเพราะคิดว่าไม่น่าจะขาดน้ำ
เมื่อถามว่า “คิดว่ากรุงเทพฯ มีโอกาสจะเจอปัญหาน้ำประปาไม่ไหลจากสถานการณ์ภัยแล้งครั้งนี้หรือไม่” ร้อยละ 58.1 คิดว่าน่าจะมีโอกาส ขณะที่ร้อยละ 34.0 คิดว่าไม่น่าจะมีโอกาส ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้ตอบที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.4 คิดว่าไม่น่าจะมีโอกาส ขณะที่ร้อยละ 45.0 คิดว่าน่าจะมีโอกาส
นอกจากนี้เมื่อถามต่อว่า “จากข่าวที่นักวิชาการเตือนภัยแล้ง จะทำให้คนไทยขาดน้ำกินถึงสิ้นปี” ประชาชนร้อยละ 49.0 คิดว่าไม่น่ากังวลเลยเพราะเป็นไปไม่ได้ ขณะที่ร้อยละ 46.1 คิดว่าน่ากังวลเพราะอาจจะเกิดขึ้นจริง
สำหรับความเห็นต่อการแก้ปัญหาภัยแล้งของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.5 เห็นว่ารัฐบาลควรจริงจังในการแก้ปัญหามากกว่านี้ ขณะที่ร้อยละ 43.2 เห็นว่ารัฐบาลจริงจังและพยายามแก้ปัญหาอย่างเต็มความสามารถแล้ว
สุดท้ายเมื่อถามว่าเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่ารัฐบาลจะสามารถจัดการกับสถานการณ์ภัยแล้งรวมถึงปัญหาน้ำท่วมในอนาคตได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.9 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 30.4 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ที่เหลือร้อยละ 12.7 ยังไม่แน่ใจ
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเจอมา ร้อยละ 67.4 ไม่ค่อยรุนแรงมากนัก ร้อยละ 27.7 ไม่รุนแรงเลย ร้อยละ 3.0 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 1.9 2. สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งในปีนี้ (ตอบได้มากว่า 1 ข้อ) ปัญหาจากภัยธรรมชาติ ร้อยละ 68.4 การตัดไม้ทำลายป่า ร้อยละ 68.0 การบริหารจัดการน้ำไม่ดี ร้อยละ 28.3 การใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง ร้อยละ 23.9 3. สถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบันมีผลกระทบทำให้กังวลในเรื่องใดมากที่สุด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) กระทบรายได้/การทำเกษตร/พืชผลเสียหาย ร้อยละ 72.5 ข้าวของราคาแพงขึ้น /ราคาสินค้าเกษตรแพงขึ้น ร้อยละ 49.5 ไม่มีน้ำใช้อุปโภคบริโภค ร้อยละ 49.0 ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 39.5 การกักตุนสินค้า/สินค้าขาดแคลน ร้อยละ 23.0 4. การเตรียมป้องกันและรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง มีการเตรียมป้องกันและรับมือ ร้อยละ 88.2 โดย ใช้น้ำอย่างประหยัดขึ้น ร้อยละ 78.2 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ซื้อถังไว้กักเก็บน้ำ ร้อยละ 20.1
กักตุนน้ำไว้อุปโภคบริโภค ร้อยละ 16.4
ไม่มีการเตรียมป้องกันรับมือ คิดว่าไม่น่าจะขาดน้ำ ร้อยละ 11.8 5. ข้อคำถาม “ท่านคิดว่ากรุงเทพฯ มีโอกาสจะเจอปัญหาน้ำประปาไม่ไหลจากสถานการณ์ภัยแล้งครั้งนี้หรือไม่” น่าจะมีโอกาส ร้อยละ 58.1 ไม่น่าจะมีโอกาส ร้อยละ 34.0 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.9 เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้ตอบที่อาศัยในกรุงเทพฯ พบว่า น่าจะมีโอกาส ร้อยละ 45.0 ไม่น่าจะมีโอกาส ร้อยละ 50.4 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 4.6 6. ข้อคำถาม “จากข่าวที่นักวิชาการเตือนภัยแล้ง จะทำให้คนไทยขาดน้ำกินถึงสิ้นปี ท่านคิดอย่างไรกับสถานการณ์ดังกล่าว” คิดว่าไม่น่ากังวลเลยเพราะเป็นไปไม่ได้ ร้อยละ 49.0 คิดว่าน่ากังวลเพราะอาจจะเกิดขึ้นจริง ร้อยละ 46.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 4.9 7. ความเห็นต่อการแก้ปัญหาภัยแล้งของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เห็นว่ารัฐบาลควรจริงจังในการแก้ปัญหามากกว่านี้ ร้อยละ 49.5 เห็นว่ารัฐบาลจริงจังและพยายามแก้ปัญหาอย่างเต็มความสามารถแล้ว ร้อยละ 43.2 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.3 8. ความเชื่อมั่นต่อการจัดการกับสถานการณ์ภัยแล้งรวมถึงปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลในอนาคต เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 56.9 (โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 43.5 และเชื่อมั่นมากที่สุดร้อยละ 13.4) เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 30.4 (โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยร้อยละ 22.0 และเชื่อมั่นน้อยที่สุดร้อยละ 8.4) ไม่แน่ใจ ร้อยละ 12.7
รายละเอียดการสำรวจ
- เพื่อสะท้อนความเห็นต่อสถานการณ์ภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
- เพื่อสะท้อนความจริงจังในการแก้ปัญหาภัยแล้งของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
- เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อมาตรการจัดการปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำท่วมในอนาคต
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 15-16 กรกฎาคม 2558 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 18 กรกฎาคม 2558
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 578 51 หญิง 555 49 รวม 1,133 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 136 12 31 ปี – 40 ปี 280 24.7 41 ปี – 50 ปี 313 27.6 51 ปี - 60 ปี 264 23.3 61 ปี ขึ้นไป 140 12.4 รวม 1,133 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 771 68 ปริญญาตรี 293 25.9 สูงกว่าปริญญาตรี 69 6.1 รวม 1,133 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 147 13 ลูกจ้างเอกชน 247 21.8 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว 323 28.5 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 54 4.8 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 134 11.8 นักเรียน/ นักศึกษา 26 2.3 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 14 1.2 เกษตรกร 188 16.6 รวม 1,133 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--