ชาวพุทธส่วนใหญ่รู้สึกใกล้ชิดกับพุทธศาสนามากขึ้น โดยกิจกรรมที่นิยมทำคือ ทำบุญตักบาตร ถวายเทียนพรรษา และเวียนเทียน โดยอยากร่วมทำบุญ เวียนเทียนกับ บิ๊กตู่ มากที่สุด นอกจากนี้ 73.2% ตั้งใจงดเหล้าเข้าพรรษา
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “กิจกรรมคนไทยในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา” โดยเก็บข้อมูลกับพุทธศาสนิกชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,059 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 48.3 เห็นว่าปัจจุบันคนไทยมีความใกล้ชิดกับพุทธศาสนามากขึ้น ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าชาวพุทธจะเข้าวัดทำบุญเฉลี่ยประมาณ 2 ครั้งต่อเดือน ขณะที่ร้อยละ 44.5 เห็นว่าห่างไกลกันมากขึ้น ที่เหลือร้อยละ 7.2 ไม่แน่ใจ
สำหรับกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาที่จะถึงนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 82.7 ตั้งใจจะตื่นเช้า ทำบุญตักบาตร รองลงมาร้อยละ 65.1 จะถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน และร้อยละ 64.6 จะไปเวียนเทียน
ทั้งนี้กิจกรรมที่ชาวพุทธตั้งใจจะทำในช่วงเข้าพรรษามากที่สุดคือ ตั้งใจทำทาน ตักบาตรทุกวัน (ร้อยละ 54.7) รองลงมาคือ ตั้งใจรักษาศีลให้ยิ่งๆขึ้นไป (ร้อยละ 44.9) และตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เช่น งดเหล้า การพนัน (ร้อยละ 36.4)
เมื่อถามเฉพาะผู้ที่ดื่มแอลกอฮอลล์ถึงความตั้งใจจะงดเหล้าในช่วงเข้าพรรษาพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.2 ตั้งใจจะงด โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 51.1 จะงดตลอด 3 เดือน รองลงมาร้อยละ 22.1 จะงดแต่อาจไม่ครบ 3 เดือน ขณะที่ร้อยละ 26.8 ตั้งใจจะดื่มตามปกติ ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าหลังจากออกพรรษาแล้วตั้งใจจะดื่มเหล้าอย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.5 จะดื่มลดลง ขณะที่ร้อยละ 45.5 จะดื่มเหมือนเดิม
ส่วนแผนเดินทางในช่วงวันสำคัญทางพุทธศาสนาที่จะถึงนี้ที่จะมีวันหยุดยาวถึง 4 วัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 80.6 มีแผนการเดินทาง ในจำนวนนี้ ร้อยละ 50.5 จะไปทำบุญ ปฏิบัติธรรมที่วัด รองลงมาร้อยละ 23.7 จะไปท่องเที่ยวด้วยและทำบุญปฏิบัติธรรมที่วัดด้วย ขณะที่ร้อยละ 6.4 จะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด / เยี่ยมญาติ ที่เหลือร้อยละ 19.4 ไม่มีแผนการเดินทาง คิดว่าจะพักผ่อนอยู่บ้านเฉยๆ ต้องทำงาน
สำหรับนักการเมืองที่ชาวพุทธอยากร่วมทำบุญ เวียนเทียนด้วยมากที่สุดคือ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ร้อยละ 14.0) รองลงมาคือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ร้อยละ 3.3) และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 1.5)
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
ใกล้ชิดกันมากขึ้น ร้อยละ 48.3 ห่างไกลกันมากขึ้น ร้อยละ 44.5 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.2 2. ความบ่อยครั้งเฉลี่ยต่อเดือนในการไปทำบุญเข้าวัด ฟังเทศน์ฟังธรรม (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) เฉลี่ย ประมาณ 2 ครั้งต่อเดือน 3. กิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาที่จะถึงนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ตื่นเช้า ทำบุญ ตักบาตร ร้อยละ 82.7 ถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน ร้อยละ 65.1 ไปเวียนเทียน ร้อยละ 64.6 เข้าวัด ฟังเทศน์ ฟังธรรม ร้อยละ 48.5 รักษาศีล 5 ร้อยละ 36.3 สวดมนต์ นั่งสมาธิ ร้อยละ 34.8 ปล่อยนกปล่อยปลา ร้อยละ 24.0 กินเจ/มังสวิรัติ/งดกินสัตว์ใหญ่ ร้อยละ 13.6 4. กิจกรรมที่ตั้งใจจะทำ ในช่วงเข้าพรรษา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ตั้งใจทำทาน ตักบาตรทุกวัน ร้อยละ 54.7 ตั้งใจรักษาศีลให้ยิ่งๆขึ้นไป ร้อยละ 44.9 ตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เช่น งดเหล้า การพนัน ร้อยละ 36.4 ตั้งใจสวดมนต์ นั่งสมาธิทุกวัน ร้อยละ 34.4 ตั้งใจไปทำบุญที่วัดทุกวัน ร้อยละ 34.3 5. ความตั้งใจจะงดเหล้าในช่วงเข้าพรรษา (ถามเฉพาะผู้ที่ดื่มแอลกอฮอลล์) ตั้งใจจะงด ร้อยละ 73.2 จะงดตลอด 3 เดือน ร้อยละ 51.1 จะงดแต่อาจไม่ครบ 3 เดือน ร้อยละ 22.1 ตั้งใจจะดื่มตามปกติ ร้อยละ 26.8 6. ความตั้งใจจะดื่มเหล้าหลังจากออกพรรษา (ถามเฉพาะผู้ที่ดื่มแอลกอฮอลล์) ตั้งใจจะดื่มลดลง ร้อยละ 54.5 ตั้งใจจะดื่มเหมือนเดิม ร้อยละ 45.5 7. การวางแผนเดินทางในช่วงวันสำคัญทางพุทธศาสนาที่จะถึงนี้ โดยจะหยุดยาวถึง 4 วัน (30 ก.ค. – 2 ส.ค.) มีแผนการเดินทาง ร้อยละ 80.6 จะไปทำบุญ/ปฏิบัติธรรมที่วัดใกล้บ้าน ร้อยละ 50.5
จะไปทั้งท่องเที่ยว และทำบุญ/ปฏิบัติธรรมที่วัด ร้อยละ 23.7
จะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด / เยี่ยมญาติ ร้อยละ 6.4
ไม่มีแผนกรเดินทาง คิดว่าจะพักผ่อนอยู่บ้านเฉยๆ ต้องทำงาน ร้อยละ 19.4 8. นักการเมืองที่อยากร่วมทำบุญ เวียนเทียนด้วยมากที่สุด (5 อันดับแรก) (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 14.0 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร้อยละ 3.3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 1.5 นายชวน หลีกภัย ร้อยละ 1.0 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ร้อยละ 0.5
รายละเอียดการสำรวจ
- เพื่อสะท้อนว่าพุทธศาสนิกชนมีความห่างไกลหรือความใกล้ชิดกันมากขึ้น
- เพื่อต้องการทราบถึงกิจกรรมที่ทำในช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
- เพื่อสะท้อนความตั้งใจในการงดเหล้าช่วงเข้าพรรษา
- เพื่อต้องการทราบถึงแผนเดินทางในวันสำคัญทางพุทธศาสนา ที่จะหยุดยาว 4 วัน
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และข้อคำถามปลายเปิด (Open end) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 23-27 กรกฎาคม 2558 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 28 กรกฎาคม 2558
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 494 46.6 หญิง 565 53.4 รวม 1,059 100.0 อายุ 18 ปี - 30 ปี 172 16.2 31 ปี – 40 ปี 235 22.2 41 ปี – 50 ปี 307 29.0 51 ปี - 60 ปี 214 20.2 61 ปี ขึ้นไป 131 12.4 รวม 1,059 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 699 66.0 ปริญญาตรี 290 27.4 สูงกว่าปริญญาตรี 70 6.6 รวม 1,059 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 132 12.5 ลูกจ้างเอกชน 270 25.5 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 391 36.9 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 69 6.5 ทำงานให้ครอบครัว 3 0.3 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 148 14.0 นักเรียน/ นักศึกษา 39 3.7 ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม 7 0.6 รวม 1,059 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--