นักเศรษฐศาสตร์ 74.6% ระบุเศรษฐกิจโลกคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น 52.4% ระบุรัฐบาลทำดีที่สุดแล้วภายใต้ข้อจำกัดและปัจจัยต่างๆ ที่กระทบ แต่ 36.5% เห็นว่ารัฐบาลน่าจะทำได้ดีกว่านี้ 71.4% เสนอให้รัฐบาลเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่อย่างเร่งด่วน
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจความเห็น นักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 27 แห่ง จำนวน 63 คน เรื่อง “ความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยทำไมยังไม่ฟื้น” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 3-14 กรกฎาคม 58 ที่ผ่านมา พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 74.6 เห็นว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นในปัจจุบันคือ เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นหรือฟื้นไม่เต็มที่ส่งผลต่อการส่งออก รองลงมาเป็นขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยที่ลดลง(ร้อยละ 46.6) ราคาสินค้าเกษตรหลายๆ ชนิดที่ตกต่ำ (ร้อยละ 32.3) และหนี้ภาคครัวเรือนที่ส่งผลต่อการบริโภคของคนในประเทศ (ร้อยละ 31.2)
เมื่อถามว่า “คิดเห็นอย่างไรกับผลงานการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา”
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.4 เห็นว่ารัฐบาลทำดีที่สุดแล้วภายใต้ข้อจำกัดและปัจจัยต่างๆ ที่กระทบ รองลงมาร้อยละ 36.5 เห็นว่ารัฐบาลน่าจะทำได้ดีกว่านี้ และร้อยละ 7.9 บอกว่าน่าผิดหวัง มีเพียงร้อยละ 3.2 ที่เห็นว่า ดีกว่าที่คาดหวังไว้
สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าในตอนนี้ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 71.4 เสนอว่ารัฐบาลต้องเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ อย่างเร่งด่วนเป็นพิเศษ รองลงมาร้อยละ 61.9 เสนอให้เร่งช่วยเหลือเกษตรกร/แก้ปัญหาภัยแล้ง และร้อยละ 52.4 เสนอให้เร่งกระตุ้นกำลังซื้อ/กระตุ้นการบริโภค
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
ร้อยละ 74.6 เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นหรือฟื้นไม่เต็มที่ส่งผลต่อการส่งออก
ร้อยละ 46.6 ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยที่ลดลง
ร้อยละ 32.3 ราคาสินค้าเกษตรหลายๆ ชนิดที่ตกต่ำ
ร้อยละ 31.2 หนี้ภาคครัวเรือนที่ส่งผลต่อการบริโภคของคนในประเทศ
ร้อยละ 7.4 ปัญหาทางการเมืองที่คอยเหนี่ยวรั้งให้รัฐบาลทำงานได้ไม่เต็มที่
ร้อยละ 3.7 ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่มีฝีมือพอ
ร้อยละ 1.6 อื่นๆ คือ ภัยแล้งกระทบรายได้เกษตรกร/รัฐบาลใช้จ่ายล่าช้า
ร้อยละ 1.6 ไม่แน่ใจ
ร้อยละ 3.2 ดีกว่าที่คาดหวังไว้
ร้อยละ 52.4 รัฐบาลทำดีที่สุดแล้ว ภายใต้ข้อจำกัดและปัจจัยต่างๆ ที่กระทบ
ร้อยละ 36.5 น่าจะทำได้ดีกว่านี้
ร้อยละ 7.9 น่าผิดหวัง
ร้อยละ 71.4 เร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โครงการขนาดใหญ่
ร้อยละ 61.9 ช่วยเหลือเกษตรกร/แก้ปัญหาภัยแล้ง
ร้อยละ 52.4 กระตุ้นกำลังซื้อ กระตุ้นการบริโภค
ร้อยละ 38.1 ดูแลภาคส่งออก
ร้อยละ 34.9 ส่งเสริมการท่องเที่ยว
ร้อยละ 28.6 ดูแลผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs เช่น ให้เงินกู้
ร้อยละ 9.5 อื่นๆ คือ กระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน/สร้างความเชื่อมั่น/สร้างความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและยุโรป
ร้อยละ 1.6 ไม่แน่ใจ
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นในปัจจุบัน รวมถึงความพึงพอใจต่อการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ควรเร่งดำเนินการในตอนนี้ โดยผลสำรวจนี้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการนำไปใช้ประกอบการวางแผนนโยบายเศรษฐกิจและธุรกิจต่อไป กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 27 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิธีการรวบรวมข้อมูล การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3-14 กรกฎาคม 58 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 2 สิงหาคม 58 ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่ หน่วยงานภาครัฐ 34 54 หน่วยงานภาคเอกชน 22 34.9 สถาบันการศึกษา 7 11.1 รวม 63 100 เพศ ชาย 39 61.9 หญิง 24 38.1 รวม 63 100 อายุ 26 ปี – 35 ปี 13 20.6 36 ปี – 45 ปี 28 44.5 46 ปีขึ้นไป 22 34.9 รวม 63 100 การศึกษา ปริญญาตรี 3 4.7 ปริญญาโท 49 77.8 ปริญญาเอก 11 17.5 รวม 63 100 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 7 11.1 6-10 ปี 13 20.6 11-15 ปี 15 23.8 16-20 ปี 9 14.3 ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป 19 30.2 รวม 63 100 --ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--