กรุงเทพโพลล์: “ความเห็นของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่”

ข่าวผลสำรวจ Friday September 4, 2015 10:53 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชน 61.0% ไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 60.9% เห็นด้วยที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะลดอำนาจนักการเมือง แต่ 52.1% ไม่เห็นด้วยหากมีนายกฯ ที่ไม่มาจากการเลือกตั้ง และ 57.3% รับได้ หาก สปช. จะไม่รับร่างฯ แต่ในมุมมองประชาชน 44.4% โหวตเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเห็นของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,021 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 61.0 ไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ขณะที่ร้อยละ 34.4 มีความรู้ความเข้าใจบ้างในประเด็นที่สำคัญๆ และมีเพียงร้อยละ 3.6 ที่มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 91.3 จึงอยากให้มีผู้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาช่วยอธิบายให้ประชาชนทั่วประเทศฟัง มีเพียงร้อยละ 5.2 เท่านั้นที่บอกว่าไม่อยากให้มี

เมื่อถามว่า “เห็นด้วยหรือไม่ที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะทำให้อำนาจของนักการเมืองและพรรคการเมืองลดลง” ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.9 “เห็นด้วย” ขณะที่ร้อยละ 20.4 “ไม่เห็นด้วย” ส่วนร้อยละ 18.7 ไม่แน่ใจ

แต่ที่น่าสนใจคือเมื่อถามว่า “เห็นด้วยหรือไม่ กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่อาจทำให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 52.1 ระบุว่า “ไม่เห็นด้วย” ขณะที่ร้อยละ 36.4 “เห็นด้วย” ที่เหลือร้อยละ 11.5 ไม่แน่ใจ

นอกจากนี้เมื่อถามว่า “รับได้หรือไม่ หาก สปช. ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จนทำให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไป” ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.3 บอกว่า “รับได้ เพราะบ้านเมืองจะสงบ ไม่มีความขัดแย้ง” ขณะที่ร้อยละ 29.1 “รับไม่ได้เพราะอยากให้มีการเลือกตั้งตามโรดแมป” ที่เหลือร้อยละ 13.6 ไม่แน่ใจ

สำหรับปัจจัยที่ประชาชนใช้ประกอบการตัดสินใจลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คือ ฟังความคิดเห็นของนักวิชาการ (ร้อยละ 40.8) รองลงมาคือ ฟังความคิดเห็นของญาติ/ ครอบครัว (ร้อยละ 25.0) และฟังความคิดเห็นของนักการเมืองท้องถิ่น (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต.) (ร้อยละ 22.7)

สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากถึงวันลงประชามติ จะโหวตเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้” ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.4 บอกว่า “เห็นด้วย” ขณะที่ร้อยละ 21.7 “ไม่เห็นด้วย” ส่วนร้อยละ 33.9 ยังไม่แน่ใจ

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
          ไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจ                                 ร้อยละ          61.0
          มีความรู้ความเข้าใจบ้างในประเด็นที่สำคัญๆ                     ร้อยละ          34.4
          มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี                              ร้อยละ           3.6
          ไม่แน่ใจ                                               ร้อยละ           1.0

2. อยากให้มีผู้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาช่วยอธิบายให้ประชาชนทั่วประเทศฟังหรือไม่
          อยากให้มี                                              ร้อยละ          91.3
          ไม่อยากให้มี                                            ร้อยละ           5.2
          ไม่แน่ใจ                                               ร้อยละ           3.5

3. เห็นด้วยหรือไม่ที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะทำให้อำนาจของนักการเมืองและพรรคการเมืองลดลง
          เห็นด้วย                                               ร้อยละ          60.9
          ไม่เห็นด้วย                                             ร้อยละ          20.4
          ไม่แน่ใจ                                               ร้อยละ          18.7

4.  เห็นด้วยหรือไม่ กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่อาจทำให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
          เห็นด้วย                                               ร้อยละ          36.4
          ไม่เห็นด้วย                                             ร้อยละ          52.1
          ไม่แน่ใจ                                               ร้อยละ          11.5

5. รับได้หรือไม่  หาก สปช. ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จนทำให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไป
          รับได้ เพราะบ้านเมืองจะสงบ ไม่มีความขัดแย้ง                  ร้อยละ          57.3
          รับไม่ได้ เพราะอยากให้มีการเลือกตั้งตามโรดแมป                ร้อยละ          29.1
          ไม่แน่ใจ                                               ร้อยละ          13.6

6.  ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจประกอบการลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
          ฟังความคิดเห็นของนักวิชาการ                               ร้อยละ          40.8
          ฟังความคิดเห็นของญาติ/ ครอบครัว                           ร้อยละ          25.0
          ฟังความคิดเห็นของนักการเมืองท้องถิ่น (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต.)     ร้อยละ          22.7
          ฟังความคิดเห็นของนักการเมืองจากพรรคใหญ่                    ร้อยละ          18.5
          เชื่อมั่นว่าคณะกรรมาธิการยกร่างคงร่างรัฐธรรมนูญมาดีแล้ว          ร้อยละ          15.8

7.  หากถึงวันลงประชามติ  จะโหวตเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
          เห็นด้วย                                               ร้อยละ          44.4
          ไม่เห็นด้วย                                             ร้อยละ          21.7
          ไม่แน่ใจ                                               ร้อยละ          33.9

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1) เพื่อสะท้อนความความรู้ความเข้าใจที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

2) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน ประเด็นการลดอำนาจนักการเมืองและพรรคการเมือง และประเด็นนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

3) เพื่อต้องการทราบถึงปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจประกอบการลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  1-3 กันยายน 2558

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  4 กันยายน 2558

ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                               550      53.9
          หญิง                               471      46.1
          รวม                             1,021       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                       151      14.8
          31 ปี – 40 ปี                       261      25.6
          41 ปี – 50 ปี                       283      27.6
          51 ปี - 60 ปี                       217      21.3
          61 ปี ขึ้นไป                         109      10.7
          รวม                             1,021       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                      707      69.2
          ปริญญาตรี                           257      25.2
          สูงกว่าปริญญาตรี                       57       5.6
          รวม                             1,021       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                        125      12.2
          ลูกจ้างเอกชน                        245        24
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว                 454      44.5
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                54       5.3
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ              3       0.3
          นักเรียน/ นักศึกษา                     93       9.1
          ว่างงาน/ รวมกลุ่ม                     21       2.1
          เกษตรกร                            26       2.5
          รวม                              1,021      100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ