69.1% ระบุมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้างเพียงบางส่วน
54.5% มองเครื่องมือที่ใช้เป็นนโยบายประชานิยม แต่ในจำนวนนี้ 30.9% เห็นว่าเป็นนโยบายประชานิยมที่ดี
ส่วนมาตรการระยะที่ 2 นักเศรษฐศาสตร์ 90.9% สนับสนุนและเห็นด้วยกับการส่งเสริม SMEs
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ ได้ดำเนินการสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 25 แห่ง จำนวน 55 คน เรื่อง “ความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 4 – 10 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.1 เชื่อมั่นว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง ส่วนร้อยละ 23.6 เชื่อมั่นว่าจะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มาก มีเพียงร้อยละ 5.5 ที่บอกว่ามาตรการดังกล่าวแทบไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเลย
เมื่อถามว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 เป็นนโยบายประชานิยมหรือไม่ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.5 เห็นว่าเป็นนโยบายประชานิยม อย่างไรก็ตามในจำนวนนี้ร้อยละ 30.9 มองว่าเป็นนโยบายประชานิยมที่ดี ขณะที่ร้อยละ 23.6 เห็นว่าเป็นนโยบายประชานิยมที่ไม่ดี นอกจากนี้ร้อยละ 10.9 เห็นว่ามาตรการดังกล่าวไม่ใช่นโยบายประชานิยม ที่เหลือร้อยละ 34.6 ไม่ขอออกความเห็น
ทั้งนี้ เมื่อนักเศรษฐศาสตร์ทราบรายละเอียดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 ที่ออกมาจากทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ของรัฐบาล ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.5 เห็นว่ามาตรการที่ออกมาพอๆ กับที่คาดหวังไว้ รองลงมาร้อยละ 18.2 เห็นว่าแย่กว่าที่คาดหวัง ขณะที่ร้อยละ 14.5 บอกว่าดีกว่าที่คาดหวัง ที่เหลือร้อยละ 12.8 ไม่ขอออกความเห็น สิ่งที่น่าสนใจสำหรับผลการสำรวจในประเด็นนี้คือ ผู้ที่ตอบว่า “แย่กว่าที่คาดหวัง” มากกว่าที่ตอบว่า “ดีกว่าที่คาดหวัง” ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวไม่ได้เหนือความคาดหวังมากนัก
สำหรับความเห็นที่มีต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ที่จะมุ่งช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) นักเศรษฐศาสตร์มากถึงร้อยละ 90.9 สนับสนุนและเห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว มีเพียงร้อยละ 3.6 ที่ไม่เห็นด้วย
สุดท้ายเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ที่มี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 67.3 ระบุว่า “ค่อนข้างเชื่อมั่น” ขณะที่ร้อยละ 18.2 ระบุว่า “ไม่ค่อยเชื่อมั่น” และร้อยละ 5.5 “เชื่อมั่นมาก” ทำให้มีคะแนนความเชื่อมั่นในภาพรวมเท่ากับร้อยละ 62.0
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
ร้อยละ 23.6 ช่วยได้มาก ร้อยละ 69.1 ช่วยได้บ้าง ร้อยละ 5.5 แทบไม่ช่วย ร้อยละ 1.8 ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ 2. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 (เฟส 1) เป็นนโยบายประชานิยมที่ดีหรือไม่ดี หรือไม่ใช่นโยบายประชานิยม ร้อยละ 54.5 เห็นว่ามาตรการดังกล่าวเป็นนโยบายประชานิยม ในจำนวนนี้... ร้อยละ 30.9 มองว่าเป็นนโยบายประชานิยมที่ดี
ร้อยละ 23.6 มองว่าเป็นนโยบายประชานิยมไม่ที่ดี
ร้อยละ 10.9 เห็นว่ามาตรการดังกล่าวไม่ใช่นโยบายประชานิยม ร้อยละ 34.6 ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ 3. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 (เฟส 1) ที่ออกมาเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับการคาดหวัง ร้อยละ 14.5 ดีกว่าที่คาดหวัง ร้อยละ 54.5 พอๆ กับที่คาดหวัง ร้อยละ 18.2 แย่กว่าที่คาดหวัง ร้อยละ 12.8 ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ 4. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 (เฟส 2) ที่จะมุ่งช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นมาตรการที่ท่านสนับสนุนและเห็นด้วย ใช่หรือไม่ ร้อยละ 90.9 ตอบว่า “ใช่” ร้อยละ 3.6 ตอบว่า “ไม่ใช่” ร้อยละ 5.5 ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ 5. เชื่อมั่นทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ที่มี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ในระดับใด ร้อยละ 5.5 เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 67.3 ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 18.2 ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 0.0 ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 9.0 ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ
โดยภาพรวมนักเศรษฐศาสตร์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับร้อยละ 62.0
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อทีมเศรษฐกิจชุดใหม่
2. เพื่อสะท้อนความคิดเห็นที่มีต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 และระยะที่ 2
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 25 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานชั้นนำภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 4 – 10 กันยายน 2558 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 12 กันยายน 2558
ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
หน่วยงานภาครัฐ 29 52.7 หน่วยงานภาคเอกชน 20 36.4 สถาบันการศึกษา 6 10.9 รวม 55 100 เพศ ชาย 34 61.8 หญิง 21 38.2 รวม 55 100 อายุ 26 ปี – 35 ปี 10 18.1 36 ปี – 45 ปี 25 45.5 46 ปีขึ้นไป 20 36.4 รวม 55 100 การศึกษา ปริญญาตรี 3 5.5 ปริญญาโท 44 80 ปริญญาเอก 8 14.5 รวม 55 100 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 5 9.1 6-10 ปี 13 23.6 11-15 ปี 14 25.5 16-20 ปี 8 14.5 ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป 15 27.3 รวม 55 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--