กรุงเทพโพลล์: “ความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่”

ข่าวผลสำรวจ Thursday September 17, 2015 09:11 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์เชื่อมั่นผู้ว่าการ ธปท. คนใหม่ 62.4% ระบุสิ่งที่ต้องทำทันทีหลังรับตำแหน่งคือ รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท สร้างความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจให้กับประชาชน

ในวันที่ 1 ตุลาคม 2558 “ดร.วิรไท สันติประภพ” จะเข้าปฏิบัติงานในฐานะผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ จึงได้ดำเนินการสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 27 แห่ง จำนวน 59 คน เรื่อง “ความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 17 – 25 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา พบว่า

ในภาพรวมนักเศรษฐศาสตร์เชื่อมั่น “ดร.วิรไท สันติประภพ” ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ อยู่ที่ร้อยละ 62.4 โดยมีความเชื่อมั่นมากที่สุดในด้าน ความซื่อสัตย์ การยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติ (ร้อยละ 73.6) ส่วนความเชื่อมั่นด้านอื่นๆ มีดังนี้

ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ (ร้อยละ 69.0)

การมีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล (ร้อยละ 63.6)

การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ นวัตกรรม ความคิดใหม่ๆ (ร้อยละ 61.0)

ความเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซง (ร้อยละ 57.9)

การเข้าถึงประชาชน เข้าใจประชาชน (ร้อยละ 49.4)

สำหรับสิ่งที่อยากให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ทำทันทีที่รับตำแหน่ง คือ

อันดับ 1 รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท

อันดับ 2 สร้างความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจให้กับประชาชน สื่อสารกับประชาชนในเรื่องนโยบาย และเรื่องอื่นๆ

อันดับ 3 ประสานนโยบายการเงินและการคลังเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโต กระตุ้นการลงทุน กระตุ้นการบริโภค รวมถึงการช่วยเหลือ SMEs ชาวไร่ชาวสวน ผู้มีรายได้น้อย รวมถึงการทำงานเชิงรุกให้มากขึ้น

หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
          นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

1. ความเชื่อมั่นที่มีต่อ ว่าที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ “ดร.วิรไท สันติประภพ”

          ความเชื่อมั่นด้าน..                      ร้อยละ                                         ค่าร้อยละ
                                           ค่าความเชื่อมั่น         เชื่อมั่นมาก       ค่อนข้าง        ไม่ค่อย        ไม่เชื่อมั่นเลย       ไม่ตอบ/
                                                                               เชื่อมั่น        เชื่อมั่น                         ไม่ทราบ
1. ด้านการมีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล                    63.6              11.9           64.4         13.6             3.4            6.7
2. ด้านความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์                 69                22           59.3         11.9             1.7            5.1
3. ด้านความเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซง            57.9              15.3           40.7         28.8             5.1           10.1
4. ด้านความซื่อสัตย์ การยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติ     73.6              32.2           44.1         13.6               0           10.1
5. ด้านการเข้าถึงประชาชน เข้าใจประชาชน             49.4               5.1           35.6         44.1             3.4           11.8
6. ด้านการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ นวัตกรรม ความคิดใหม่ๆ        61               8.5           62.7         13.6             5.1           10.1
          รวม                                  62.4              15.8           51.1         20.9             3.1            9.1

2. สิ่งที่อยากให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ทำทันทีที่รับตำแหน่ง

อันดับ 1 รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท

อันดับ 2 สร้างความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจให้กับประชาชน สื่อสารกับประชาชนในเรื่องนโยบาย และเรื่องอื่นๆ

อันดับ 3 ประสานนโยบายการเงินและการคลังเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโต กระตุ้นการลงทุน กระตุ้นการบริโภค รวมถึงการช่วยเหลือ SMEs ชาวไร่ชาวสวน

ผู้มีรายได้น้อย รวมถึงการทำงานเชิงรุกให้มากขึ้น

อันดับ 4 ทบทวนนโยบาย Inflation targeting ว่ายังจำเป็นหรือเหมาะสมอยู่หรือไม่

อันดับ 5 อื่นๆ ดูแลเรื่องการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์/ปรับองค์กร ธปท. ให้มีประสิทธิภาพขึ้น

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่

2. เพื่อทราบสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ควรทำทันทีที่รับตำแหน่ง

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 27 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะพัฒนาการเศรษฐกิจสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานชั้นนำภายในระยะเวลาที่กำหนด

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  17 – 25 สิงหาคม 2558

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  17 กันยายน 2558

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่

          หน่วยงานภาครัฐ                            28       47.5
          หน่วยงานภาคเอกชน                         19       32.2
          สถาบันการศึกษา                            10       16.9
          ไม่ระบุ                                    2        3.4
          รวม                                     59        100
เพศ
          ชาย                                     36         61
          หญิง                                     21       35.6
          ไม่ระบุ                                    2        3.4
          รวม                                     59        100
อายุ
          26 ปี – 35 ปี                              6       10.2
          36 ปี – 45 ปี                             31       52.5
          46 ปีขึ้นไป                                20       33.9
          ไม่ระบุ                                    2        3.4
          รวม                                     59        100
การศึกษา
          ปริญญาตรี                                  2        3.4
          ปริญญาโท                                 42       71.2
          ปริญญาเอก                                13         22
          ไม่ระบุ                                    2        3.4
          รวม                                     59        100
ประสบการณ์ทำงานรวม
          1-5  ปี                                   3        5.1
          6-10 ปี                                  12       20.3
          11-15 ปี                                 17       28.8
          16-20 ปี                                  9       15.3
          ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป                           16       27.1
          ไม่ระบุ                                    2        3.4
          รวม                                     59        100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ