ประชาชนส่วนใหญ่หนุน มีชัย ฤชุพันธุ์ นั่งประธาน กรธ. เชื่อสามารถร่าง รธน. ให้ผ่านประชามติได้ 60.0% ชี้ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ ควรมีบุคคลจากชุดเดิมด้วย
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเห็นของประชาชนต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,062 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 51.0 เห็นว่า นายมีชัย ฤชุพันธุ์ มีความเหมาะสมหากจะมาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ขณะที่ร้อยละ 10.4 เห็นว่าไม่เหมาะสม ทั้งนี้มีถึงร้อยละ 38.6 ที่ไม่แน่ใจ
ทั้งนี้เมื่อถามว่า “หากนายมีชัย ฤชุพันธุ์ นั่งเป็นประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เชื่อมั่นหรือไม่ว่าจะสามารถร่างรัฐธรรมนูญให้ผ่านประชามติได้” พบว่าร้อยละ 41.5 เชื่อมั่นว่าจะทำได้ ขณะที่ร้อยละ 22.1 ไม่เชื่อมั่นว่าจะทำได้ และร้อยละ 36.4 ไม่แน่ใจ
สุดท้ายเมื่อถามว่า “คิดว่าควรมีบุคคลจากคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดเดิม เข้าร่วมในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ด้วยหรือไม่” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 60.0 เห็นว่า ควรมี เพราะเป็นผู้ที่ทราบข้อมูลร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ไม่ผ่านสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ขณะที่ร้อยละ 25.5 เห็นว่า ไม่ควรมี เพราะไม่สามารถร่างรัฐธรรมนูญให้ผ่าน สปช. ได้ ส่วนที่เหลือร้อยละ 14.5 ยังไม่แน่ใจ
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
เหมาะสม ร้อยละ 51.0 ไม่เหมาะสม ร้อยละ 10.4 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 38.6 2. ข้อคำถาม “หากนายมีชัย ฤชุพันธุ์ นั่งเป็นประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เชื่อมั่นหรือไม่ว่าจะสามารถร่างรัฐธรรมนูญให้ผ่านประชามติได้” เชื่อมั่นว่าจะทำได้ ร้อยละ 41.5 ไม่เชื่อมั่นว่าจะทำได้ ร้อยละ 22.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 36.4 3. ข้อคำถาม “คิดว่าควรมีบุคคลจากคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดเดิม เข้าร่วมในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ด้วยหรือไม่” ควรมี เพราะเป็นผู้ที่ทราบข้อมูลร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ไม่ผ่าน สปช. ร้อยละ 60.0 ไม่ควรมี เพราะไม่สามารถร่างรัฐธรรมนูญให้ผ่าน สปช. ได้ ร้อยละ 25.5 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 14.5
รายละเอียดการสำรวจ
1. เพื่อสะท้อนความคิดเห็นที่มีต่อความเหมาะสมและความเชื่อมั่นหากนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
2. เพื่อสะท้อนความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญของบุคลจากชุดเดิม
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 15 – 17 กันยายน 2558 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 18 กันยายน 2558
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 601 56.6 หญิง 461 43.4 รวม 1,062 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 165 15.5 31 ปี – 40 ปี 242 22.8 41 ปี – 50 ปี 274 25.8 51 ปี - 60 ปี 257 24.2 61 ปี ขึ้นไป 124 11.7 รวม 1,062 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 688 64.8 ปริญญาตรี 294 27.7 สูงกว่าปริญญาตรี 80 7.5 รวม 1,062 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 148 13.9 ลูกจ้างเอกชน 247 23.3 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 419 39.4 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 57 5.4 ทำงานให้ครอบครัว 4 0.4 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 136 12.8 นักเรียน/ นักศึกษา 34 3.2 ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม 17 1.6 รวม 1,062 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--