กรุงเทพโพลล์: “คะแนนนิยมพรรคการเมืองไทยหลังการโหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ”

ข่าวผลสำรวจ Tuesday September 22, 2015 10:06 —กรุงเทพโพลล์

คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้นมากกว่าประชาธิปัตย์ หลังโหวตคว่ำ รธน. 58.2% ชี้ควรมีนักการเมืองจากพรรคใหญ่เข้าร่วม สปท.

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คะแนนนิยมพรรคการเมืองไทยหลังการโหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,062 คน พบว่า

คะแนนนิยมพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ที่ร้อยละ 29.5 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคม 2558 ร้อยละ 0.3 (จากเดิมร้อยละ 29.2) ขณะที่พรรคเพื่อไทยคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 26.7 เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งก่อนร้อยละ 0.9 (จากเดิมร้อยละ 25.8) ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนามีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 0.8 พรรคภูมิใจไทยอยู่ที่ร้อยละ 0.7 และพรรครักประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 0.6

เมื่อถามว่า “สภาปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่จะตั้งขึ้นใหม่ควรจะมีนักการเมืองจากพรรคใหญ่เข้าร่วมหรือไม่” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 58.2 เห็นว่าควรมี เพราะมีประสบการณ์ทางการเมือง และช่วยทำให้ประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง ขณะที่ร้อยละ 31.5 เห็นว่าไม่ควรมี เพราะอยากให้ใช้นักวิชาการหรือนักปฏิบัติเฉพาะด้านเข้ามาลงมือทำมากกว่า ที่เหลือร้อยละ 10.3 ไม่แน่ใจ

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจะเลือกพรรคการเมืองใด”
จะเลือกพรรค...                    สำรวจเมื่อ พ.ค. 58      สำรวจเมื่อ ก.ย. 58        เพิ่มขึ้น / ลดลง
                                          (ร้อยละ)               (ร้อยละ)             (ร้อยละ)
พรรคประชาธิปัตย์                                29.2                  29.5                 0.3
พรรคเพื่อไทย                                   25.8                  26.7                 0.9
พรรคชาติไทยพัฒนา                                0.8                   0.8                   0
พรรครักประเทศไทย                               0.5                   0.6                 0.1
พรรคภูมิใจไทย                                   0.4                   0.7                 0.3
พรรคพลังชล                                     0.2                   0.3                 0.1
พรรคอื่นๆ                                       1.1                   2.5                 1.4
ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ                              42                  38.9                -3.1

2. ข้อคำถาม “สภาปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่จะตั้งขึ้นใหม่ควรจะมีนักการเมืองจากพรรคใหญ่เข้าร่วมหรือไม่”

ควรมี เพราะมีประสบการณ์ทางการเมือง และช่วยทำให้ประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง   ร้อยละ       58.2
ไม่ควรมี เพราะอยากให้ใช้นักวิชาการหรือนักปฏิบัติเฉพาะด้านเข้ามาลงมือทำมากกว่า             ร้อยละ       31.5
ไม่แน่ใจ                                                                     ร้อยละ       10.3

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1. เพื่อสะท้อนความนิยมของประชาชนในพรรคการเมืองต่างๆ

2. เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับการเข้ามาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปประเทศของนักการเมืองจากพรรคใหญ่

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 15 – 17 กันยายน 2558

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 19 กันยายน 2558

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

            ชาย                               601      56.6
            หญิง                               461      43.4
รวม                                         1,062       100
อายุ
            18 ปี - 30 ปี                       165      15.5
            31 ปี – 40 ปี                       242      22.8
            41 ปี – 50 ปี                       274      25.8
            51 ปี - 60 ปี                       257      24.2
61 ปี ขึ้นไป                                     124      11.7
รวม                                         1,062       100
การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี                      688      64.8
            ปริญญาตรี                           294      27.7
            สูงกว่าปริญญาตรี                       80       7.5
                                 รวม        1,062       100
อาชีพ
ลูกจ้างรัฐบาล                                    148      13.9
ลูกจ้างเอกชน                                    247      23.3
ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร                    419      39.4
เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                            57       5.4
ทำงานให้ครอบครัว                                  4       0.4
พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ                        136      12.8
นักเรียน/ นักศึกษา                                 34       3.2
ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม                        17       1.6
รวม                                         1,062       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ