ประชาชน 66.3% อยากให้ กรธ. นำร่างฯ เก่าที่ไม่ผ่านประชามติ มาแก้ไขใหม่ 64.8 หนุนให้เชิญพรรคการเมืองใหญ่มาเสนอข้อคิดเห็นก่อนร่างฯ ส่วนใหญ่คาดหวังว่าร่างฯ ฉบับใหม่จะนำไปสู่การปฏิรูปและปรองดอง และเชื่อมั่นว่าจะเลือกตั้งได้ปี 2560
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความคาดหวังประชาชนต่อการทำหน้าที่ของ กรธ. และ สปท.” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,004 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 66.3 อยากให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับเก่าที่ไม่ผ่านประชามติมาปรับปรุงใหม่ โดยแก้ไขจุดที่บกพร่อง ขณะที่ร้อยละ 18.2 อยากให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และร้อยละ 15.5 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามว่า “คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ควรเชิญพรรคการเมืองใหญ่ในประเทศ มาเสนอแนะข้อคิดเห็นก่อนร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่” ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.8 เห็นว่า “ควรเชิญ” ขณะที่ร้อยละ 24.5 เห็นว่า “ไม่ควรเชิญ” ส่วนที่เหลือร้อยละ 10.7 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามว่าคาดหวังเพียงใดต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่าจะสามารถนำพาประเทศไปสู่การปฏิรูปและสร้างความปรองดองได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.9 คาดหวังค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 45.1 คาดหวังค่อนข้างน้อยถึงไม่คาดหวัง
ส่วนความเชื่อมั่นต่อการมีเครือข่ายนักการเมืองเข้าร่วม สภาปฏิรูปประเทศ (สปท.) ว่าจะสามารถทำให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติได้พบว่า ร้อยละ 45.7 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 44.7 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด และร้อยละ 9.6 ไม่แน่ใจ
สุดท้ายเมื่อถามว่า เชื่อมั่นหรือไม่ว่าหลังจากการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และสภาปฏิรูปประเทศ (สปท.) แล้วจะสามารถเลือกตั้งได้ตามโรดแม็ปปี 2560 ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.9 เชื่อมั่นว่าทำได้ ขณะที่ร้อยละ 41.5 ไม่เชื่อมั่นว่าจะทำได้ และร้อยละ 8.6 ไม่แน่ใจ
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
อยากให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับเก่าที่ไม่ผ่านประชามติมาปรับปรุงใหม่ โดยแก้ไขจุดที่บกพร่อง ร้อยละ 66.3 อยากให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ร้อยละ 18.2 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 15.5 2. ข้อคำถาม “คิดว่า คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ควรเชิญพรรคการเมืองใหญ่ในประเทศ มาเสนอแนะข้อคิดเห็นก่อนร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่” ควรเชิญ ร้อยละ 64.8 ไม่ควรเชิญ ร้อยละ 24.5 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 10.7 3. ความคาดหวัง ต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่าจะสามารถนำพาประเทศไปสู่การปฏิรูปและสร้างความปรองดอง คาดหวังค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 54.9 (โดยแบ่งเป็นคาดหวังค่อนข้างมากร้อยละ 37.2 และคาดหวังมากที่สุดร้อยละ 17.7 ) คาดหวังค่อนข้างน้อยถึงไม่คาดหวัง ร้อยละ 45.1 (โดยแบ่งเป็นคาดหวังค่อนข้างน้อยร้อยละ 33.7 และไม่คาดหวังร้อยละ 11.4) 4. ความเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่า การมีเครือข่ายนักการเมืองเข้าร่วม สภาปฏิรูปประเทศ (สปท.) จะสามารถทำให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติได้ เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 44.7 (โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 40.0 และเชื่อมั่นมากที่สุดร้อยละ 4.7) เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 45.7 (โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยร้อยละ 34.5 และเชื่อมั่นน้อยที่สุดร้อยละ 11.2) ไม่แน่ใจ ร้อยละ 9.6 5. ความเชื่อมั่นว่าหลังจากการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และสภาปฏิรูปประเทศ (สปท.) แล้วจะสามารถเลือกตั้งได้ตามโรดแม็ปปี 2560 เชื่อมั่นว่าทำได้ ร้อยละ 49.9 ไม่เชื่อมั่นว่าจะทำได้ ร้อยละ 41.5 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 8.6
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการร่างรัฐธรรมนูญ ของ กรธ. ชุดใหม่
2) เพื่อสะท้อนความคาดหวังต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะสามารถนำพาประเทศไปสู่การปฏิรูปและสร้างความปรองดองได้
3) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการเชิญพรรคการเมืองใหญ่ในประเทศ มาเสนอแนะข้อคิดเห็นก่อนร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
4) เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อการมีเครือข่ายนักการเมืองเข้าร่วม สภาปฏิรูปประเทศ (สปท).จะสามารถทำให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติได้
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 6-8 ตุลาคม 2558 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 9 ตุลาคม 2558
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 514 51.2 หญิง 490 48.8 รวม 1,004 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 134 13.3 31 ปี – 40 ปี 240 23.9 41 ปี – 50 ปี 261 26.1 51 ปี - 60 ปี 239 23.8 61 ปี ขึ้นไป 130 12.9 รวม 1,004 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 615 61.2 ปริญญาตรี 300 29.9 สูงกว่าปริญญาตรี 89 8.9 รวม 1,004 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 147 14.6 ลูกจ้างเอกชน 240 23.9 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว 424 42.2 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 31 3.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 3 0.3 นักเรียน/ นักศึกษา 120 12 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 25 2.5 เกษตรกร 14 1.4 รวม 1,004 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--