นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 59 โต 3.2% เงินเฟ้อ 1.0% อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.50% การส่งออกขยายตัวต่ำที่ 1.7% ค่าเงินบาทอยู่ที่ 35.9 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และ SET index จะเป็นขาขึ้น
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 26 แห่ง จำนวน 62 คน เรื่อง “คาดการณ์เศรษฐกิจปี 59” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 12-22 ตุลาคม 58 ที่ผ่านมา โดยผลสำรวจมีดังนี้
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ77.4 คาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 59 จะดีกว่าปี 58 และคาดว่าจะขยายตัว 3.4% ในส่วนของเศรษฐกิจไทยนักเศรษฐศาสตร์มากถึงร้อยละ 85.5 คาดว่าเศรษฐกิจในปี 59 จะดีกว่าปี 58 และคาดว่าเศรษฐกิจจะสามารถขยายตัวได้ 3.2%
สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีหน้าคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 1.0% เช่นเดียวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.2 คาดว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ตลอดปีหน้า
ส่วนสถานการณ์การส่งออกสินค้านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.7 เห็นว่าสถานการณ์ในปี 59 จะดีกว่าปี 58 แต่อัตราการขยายตัวก็ยังจะคงอยู่ในระดับต่ำที่ 1.7% ขณะที่ค่าเงินบาทเฉลี่ยในปี 59 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.9 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
สุดท้ายเมื่อถามถึงแนวโน้มดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 40.3 คาดว่า SET Index จะเป็นขาขึ้น โดยดัชนีจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,400 จุด ถึง 1,500 จุด มีเพียงร้อยละ 12.9 ที่คาดว่า SET Index จะเป็นขาลง โดยดัชนีจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,250 จุด ถึง 1,300 จุด
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
ร้อยละ 77.4 คาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2559 จะดีกว่าปี 2558 และคาดว่าจะขยายตัว 3.4% ร้อยละ 11.3 คาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2559 จะแย่กว่าปี 2558 และคาดว่าจะขยายตัว 3.0% ร้อยละ 11.4 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
หมายเหตุ : อัตราการขยายตัวที่แสดงเป็นค่าเฉลี่ย
ร้อยละ 85.5 คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2559 จะดีกว่าปี 2558 และคาดว่าจะขยายตัว 3.2% ร้อยละ 8.1 คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2559 จะแย่กว่าปี 2558 และคาดว่าจะขยายตัว 2.4% ร้อยละ 6.5 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
หมายเหตุ : อัตราการขยายตัวที่แสดงเป็นค่าเฉลี่ย
ร้อยละ 79.0 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2559 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.0%
(ในจำนวนนี้มีนักเศรษฐศาสตร์จำนวนร้อยละ 8.1 ที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงติดลบ)
ร้อยละ 21.0 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
หมายเหตุ : อัตราเงินเฟ้อที่แสดงเป็นค่าเฉลี่ย
ร้อยละ 53.2 คาดว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบัน(1.50%) ตลอดปี 2559 ร้อยละ 22.6 คาดว่า ธปท. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันไปสู่ระดับ 2.00% ภายในสิ้นปี 59 ร้อยละ 3.2 คาดว่า ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันลงไปสู่ระดับ 1.25% ภายในสิ้นปี 59 ร้อยละ 21.0 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
หมายเหตุ : อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แสดงเป็นค่ากลาง (Median)
ร้อยละ 67.7 การส่งออกสินค้าของไทยปี 2559 จะขยายตัวเป็นบวกได้ โดยคาดว่าจะขยายตัว 1.7% ร้อยละ 25.8 การส่งออกสินค้าของไทยปี 2559 จะยังคงติดลบ โดยคาดว่าจะขยายตัว -2.4% ร้อยละ 6.5 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
หมายเหตุ : อัตราการขยายตัวที่แสดงเป็นค่าเฉลี่ย
ร้อยละ 75.8 คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยในปี 2559 จะอยู่ที่ระดับ 35.9 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ร้อยละ 24.2 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
หมายเหตุ : ค่าเงินบาทที่แสดงเป็นค่าเฉลี่ย
7. คาดการณ์ทิศทางดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ในปี 2559 เปรียบเทียบดัชนี SET Index ณ วันที่ 7 ตุลาคม 58 ที่ค่าดัชนีเท่ากับ 1,393.66 จุด
ร้อยละ 40.3 คาดว่า SET Index จะเป็นขาขึ้น โดยดัชนีจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,400 จุด ถึง 1,500 จุด ร้อยละ 12.9 คาดว่า SET Index จะเป็นขาลง โดยดัชนีจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,250 จุด ถึง 1,300 จุด ร้อยละ 46.8 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
หมายเหตุ : ช่วงการเคลื่อนไหวของดัชนีใช้ค่าฐานนิยม (Mode) พิจารณาร่วมกับค่ากลาง (Median)
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสะท้อนการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2559 ของนักเศรษฐศาสตร์ ให้กับประชาชนและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้รับทราบ เพื่อนำไปใช้ประกอบการวางแผนนโยบายเศรษฐกิจและธุรกิจในปี 2559 ต่อไป
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 26 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 12-22 ตุลาคม 58
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 5 พฤศจิกายน 58
ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
หน่วยงานภาครัฐ 35 56.5 หน่วยงานภาคเอกชน 21 33.9 สถาบันการศึกษา 6 9.6 รวม 62 100 เพศ ชาย 39 62.9 หญิง 23 37.1 รวม 62 100 อายุ 26 ปี – 35 ปี 12 19.4 36 ปี – 45 ปี 30 48.4 46 ปีขึ้นไป 20 32.3 รวม 62 100
การศึกษา
ปริญญาตรี 3 4.8 ปริญญาโท 47 75.8 ปริญญาเอก 12 19.4 รวม 62 100 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 5 8.1 6-10 ปี 17 27.4 11-15 ปี 15 24.2 16-20 ปี 8 12.9 ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป 17 27.4 รวม 62 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--