วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกี่ยวกับการจัดเที่ยวบินทดสอบที่นายกรัฐมนตรีนำคณะสื่อ
มวลชนร่วมทดสอบความพร้อมของสนามบินสุวรรณภูมิในวันที่ 29 กันยายน 2548 ในประเด็นต่อไปนี้
1. ประสิทธิผลและความคุ้มค่าของการจัดเที่ยวบินทดสอบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความพร้อมของสนามบินสุวรรณภูมิ
2. ความคิดเห็นต่อผลงานในส่วนที่เกี่ยวกับการก่อสร้างและเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
3. ความคิดเห็นต่อการจัดเที่ยวบินทดสอบว่าจะช่วยลบภาพการทุจริตคอร์รัปชันในการก่อสร้างและจัดซื้ออุปกรณ์ตามที่เคยเป็นข่าวได้หรือไม่
4. ความเชื่อมั่นต่อการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการของสนามบินสุวรรณภูมิให้ทันตามเวลาที่กำหนด
5. ความเชื่อมั่นต่อความสามารถของรัฐบาลในการผลักดันให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชีย
6. เรื่องที่เป็นห่วงมากที่สุดในการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการในปีหน้า
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-
Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,144 คน เป็น
ชายร้อยละ 47.9 และหญิงร้อยละ 52.1
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-25 ปีร้อยละ 30.0 อายุ 26-35 ปีร้อยละ 27.3 อายุ 36-45 ปีร้อยละ 28.2 และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อย
ละ 14.5 โดยมีการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 8.4 มัธยมศึกษาและปวช.ร้อยละ 31.5 ปวส.และอนุปริญญาร้อยละ 12.1 ปริญญาตรี
ร้อยละ 43.2 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 4.9
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 9.9 พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 21.2 ค้าขายและ
ธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 23.6 รับจ้างทั่วไปร้อยละ 9.8 พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 3.3 นิสิตนักศึกษาร้อยละ 22.0 อาชีพอิสระ
ร้อยละ 8.1 และอื่นๆ ร้อยละ 2.1
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 27-28 กันยายน 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 29 กันยายน 2548
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามว่าการจัดเที่ยวบินทดสอบในวันที่ 29 กันยายนนี้ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำคณะสื่อมวลชนทั้งชาวไทยและต่างชาติขึ้นเครื่องบิน
ไปลงยังสนามบินสุวรรณภูมิ ผ่านกระบวนการต่างๆ แล้วบินกลับมายังสนามบินดอนเมือง จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นในความพร้อมของสนามบิน
สุวรรณภูมิที่คาดว่าจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปีหน้าได้หรือไม่ ผลปรากฏว่า ประชาชนร้อยละ 40.7 เห็นว่าการกระทำดังกล่าวสามารถสร้าง
ความเชื่อมั่นได้ โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากคนระดับผู้นำกล้าใช้ตัวเองเป็นผู้ทดสอบ และอย่างน้อยก็ได้มีการทดสอบในระดับหนึ่งแล้ว ขณะที่ร้อยละ
19.4 เห็นว่าไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ เนื่องจากการก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เป็นการบินทดสอบเพียงครั้งเดียว และไม่ได้มีการเชิญ
องค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านการบินมาร่วมทดสอบ และร้อยละ 39.9 ไม่แน่ใจ
สำหรับประเด็นเรื่องความคุ้มค่าของการทดสอบความพร้อมด้วยวิธีการดังกล่าวเมื่อเทียบกับการลงทุนแล้ว ประชาชนร้อยละ 42.3 เห็น
ว่าเป็นการกระทำที่คุ้มค่า ขณะที่ร้อยละ 31.1 เห็นว่าไม่คุ้มค่า และร้อยละ 26.6 ไม่แน่ใจ
2. ส่วนความคิดเห็นต่อผลงานในส่วนที่เกี่ยวกับการก่อสร้างและเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิของรัฐบาลชุดปัจจุบันนั้น ประชาชนส่วนใหญ่คือ
ร้อยละ 53.8 ระบุว่าไม่พอใจ (โดยไม่พอใจเพราะมีเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันและผลประโยชน์แอบแฝงมาก ร้อยละ 32.3 และไม่พอใจเพราะไม่
ได้มีการเตรียมแผนรองรับผลกระทบจากการเปิดใช้สนามบินให้ชัดเจนล่วงหน้า ร้อยละ 21.5) ในขณะที่อีกร้อยละ 46.2 ระบุว่าพอใจ (โดยพอใจที่
รัฐบาลเร่งรัดการก่อสร้างจนสามารถเปิดใช้งานได้ ร้อยละ 22.2 และพอใจที่ช่วยสร้างชื่อเสียงและขยายโอกาสทางการค้าการลงทุนให้กับประเทศ
ไทย ร้อยละ 24.0 )
3. สำหรับคำถามที่ว่าการจัดเที่ยวบินทดสอบดังกล่าวจะช่วยลบภาพเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันในการก่อสร้างและจัดซื้ออุปกรณ์ของสนาม
บินสุวรรณภูมิตามที่เคยเป็นข่าวได้หรือไม่นั้น ปรากฎว่าส่วนใหญ่คือร้อยละ 68.0 เห็นว่าไม่ได้ มีเพียงร้อยละ 13.5 ที่ เห็นว่าได้ และร้อยละ
18.5 ไม่แน่ใจ
4. ส่วนความเชื่อมั่นว่าการก่อสร้างและจัดการรายละเอียดในส่วนต่างๆ ของสนามบินสุวรรณภูมิจะเสร็จทันการเปิดใช้งานอย่างเป็นทาง
การในเดือนมิถุนายน 2549 หรือไม่นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.5 เชื่อว่าจะเสร็จทันแบบไม่สมบูรณ์ มีเพียงร้อยละ 19.9 ที่เชื่อว่าจะเสร็จทัน
แบบสมบูรณ์ และร้อยละ 9.6 เชื่อว่าจะเสร็จไม่ทัน
5. ในส่วนของความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถผลักดันให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชียได้หรือไม่นั้น
ส่วนใหญ่คือร้อยละ 53.5 เชื่อว่าได้ ขณะที่ร้อยละ 13.6 เชื่อว่าไม่ได้ และร้อยละ 32.9 ไม่แน่ใจ
6. สำหรับเรื่องที่ประชาชนเป็นห่วงที่สุดเกี่ยวกับการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการในปีหน้าคือ เรื่องความโปร่งใสในการ
จัดการเกี่ยวกับรายได้และผลประโยชน์ (ร้อยละ 26.6) รองลงมาได้แก่ เรื่องระบบนิเวศน์และผังเมืองของพื้นที่โดยรอบสนามบิน (ร้อยละ
25.4) ความพร้อมของระบบต่างๆ ในสนามบิน (ร้อยละ 25.1) ระบบการจราจรขนส่งที่เชื่อมโยงจากสนามบินสุวรรณภูมิไปยังพื้นที่ส่วนอื่นของ
กทม. (ร้อยละ 13.8) ความสามารถในการบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าต่อการลงทุน (ร้อยละ 7.2) และ
อันตรายจากฝูงนกและสัตว์ต่างๆ (ร้อยละ 1.9)
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 548 47.9
หญิง 596 52.1
อายุ :
18 — 25 ปี 343 30.0
26 — 35 ปี 312 27.3
36 — 45 ปี 323 28.2
46 ปีขึ้นไป 166 14.5
การศึกษา:
ประถมศึกษา 96 8.4
มัธยมศึกษา/ปวช. 360 31.5
ปวส./อนุปริญญา 138 12.1
ปริญญาตรี 494 43.2
สูงกว่าปริญญาตรี 56 4.9
อาชีพ :
รับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 114 9.9
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 242 21.2
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 270 23.6
รับจ้างทั่วไป 112 9.8
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 38 3.3
นิสิต/นักศึกษา 252 22.0
อาชีพอิสระ 92 8.1
อื่นๆ 24 2.1
ตารางที่ 2: การจัดเที่ยวบินทดสอบที่นายกรัฐมนตรีนำคณะสื่อมวลชนขึ้นเครื่องบินไปลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ และขึ้นกลับมายังสนามบินดอนเมือง
จะสามารถสร้างความมั่นใจในความพร้อมของสนามบินสุวรรณภูมิที่คาดว่าจะเปิดใช้ในปีหน้าได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ เพราะคนระดับผู้นำกล้าใช้ตัวเองเป็นผู้
ทดสอบ และอย่างน้อยก็ได้มีการทดสอบ
ในระดับหนึ่งแล้ว 466 40.7
ไม่ได้ เพราะการก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์
เป็นการบินทดสอบเพียงครั้งเดียว
และไม่ได้มีการเชิญองค์กรผู้เชี่ยวชาญด้าน
การบินมาร่วมทดสอบ 222 19.4
ไม่แน่ใจ 456 39.9
ตารางที่ 3: การทดสอบความพร้อมของสนามบินสุวรรณภูมิด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้นเป็นการกระทำที่คุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
คุ้มค่า 484 42.3
ไม่คุ้มค่า 356 31.1
ไม่แน่ใจ 304 26.6
ตารางที่ 4: ความคิดเห็นต่อผลงานการก่อสร้างและเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
จำนวน ร้อยละ
พอใจ เพราะ 528 46.2
รัฐบาลเร่งรัดการก่อสร้างจนสามารถเปิดใช้งานได้ 22.2%
ช่วยสร้างชื่อเสียงและขยายโอกาสทางการค้าการลงทุน 24.0%
ไม่พอใจ เพราะ 616 53.8
มีเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันและผลประโยชน์แอบแฝงมาก 32.3%
ไม่ได้เตรียมแผนรองรับผลกระทบจากการเปิดใช้สนามบินอย่างชัดเจน 21.5%
ตารางที่ 5: การจัดเที่ยวบินทดสอบจะช่วยลบภาพเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันในการก่อสร้าง
และจัดซื้ออุปกรณ์ของสนามบินสุวรรณภูมิตามที่เคยเป็นข่าวได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 154 13.5
ไม่ได้ 778 68.0
ไม่แน่ใจ 212 18.5
ตารางที่ 6: คาดว่าการก่อสร้างและจัดการเกี่ยวกับรายละเอียดในส่วนต่างๆ ของสนามบินสุวรรณภูมิ
จะเสร็จทันการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน 2549 หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เสร็จทันแบบสมบูรณ์ 228 19.9
เสร็จทันแบบไม่สมบูรณ์ 806 70.5
เสร็จไม่ทัน 110 9.6
ตารางที่ 7: คิดว่ารัฐบาลจะสามารถผลักดันให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชียได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 612 53.5
ไม่ได้ 156 13.6
ไม่แน่ใจ 376 32.9
ตารางที่ 8: เรื่องที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดเกี่ยวกับการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการในปีหน้า
จำนวน ร้อยละ
ความโปร่งใสในการจัดการเกี่ยวกับรายได้และผลประโยชน์ 304 26.6
ระบบนิเวศน์และผังเมืองของพื้นที่โดยรอบสนามบิน 290 25.4
ความพร้อมของระบบต่างๆ ในสนามบิน 288 25.1
ระบบการจราจรขนส่งที่เชื่อมโยงจากสนามบินสุวรรณภูมิไปยังพื้นที่ส่วนอื่นของ กทม. 158 13.8
ความสามารถในการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าต่อการลงทุน 82 7.2
อันตรายจากฝูงนก 22 1.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกี่ยวกับการจัดเที่ยวบินทดสอบที่นายกรัฐมนตรีนำคณะสื่อ
มวลชนร่วมทดสอบความพร้อมของสนามบินสุวรรณภูมิในวันที่ 29 กันยายน 2548 ในประเด็นต่อไปนี้
1. ประสิทธิผลและความคุ้มค่าของการจัดเที่ยวบินทดสอบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความพร้อมของสนามบินสุวรรณภูมิ
2. ความคิดเห็นต่อผลงานในส่วนที่เกี่ยวกับการก่อสร้างและเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
3. ความคิดเห็นต่อการจัดเที่ยวบินทดสอบว่าจะช่วยลบภาพการทุจริตคอร์รัปชันในการก่อสร้างและจัดซื้ออุปกรณ์ตามที่เคยเป็นข่าวได้หรือไม่
4. ความเชื่อมั่นต่อการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการของสนามบินสุวรรณภูมิให้ทันตามเวลาที่กำหนด
5. ความเชื่อมั่นต่อความสามารถของรัฐบาลในการผลักดันให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชีย
6. เรื่องที่เป็นห่วงมากที่สุดในการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการในปีหน้า
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-
Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,144 คน เป็น
ชายร้อยละ 47.9 และหญิงร้อยละ 52.1
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-25 ปีร้อยละ 30.0 อายุ 26-35 ปีร้อยละ 27.3 อายุ 36-45 ปีร้อยละ 28.2 และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อย
ละ 14.5 โดยมีการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 8.4 มัธยมศึกษาและปวช.ร้อยละ 31.5 ปวส.และอนุปริญญาร้อยละ 12.1 ปริญญาตรี
ร้อยละ 43.2 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 4.9
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 9.9 พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 21.2 ค้าขายและ
ธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 23.6 รับจ้างทั่วไปร้อยละ 9.8 พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 3.3 นิสิตนักศึกษาร้อยละ 22.0 อาชีพอิสระ
ร้อยละ 8.1 และอื่นๆ ร้อยละ 2.1
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 27-28 กันยายน 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 29 กันยายน 2548
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามว่าการจัดเที่ยวบินทดสอบในวันที่ 29 กันยายนนี้ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำคณะสื่อมวลชนทั้งชาวไทยและต่างชาติขึ้นเครื่องบิน
ไปลงยังสนามบินสุวรรณภูมิ ผ่านกระบวนการต่างๆ แล้วบินกลับมายังสนามบินดอนเมือง จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นในความพร้อมของสนามบิน
สุวรรณภูมิที่คาดว่าจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปีหน้าได้หรือไม่ ผลปรากฏว่า ประชาชนร้อยละ 40.7 เห็นว่าการกระทำดังกล่าวสามารถสร้าง
ความเชื่อมั่นได้ โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากคนระดับผู้นำกล้าใช้ตัวเองเป็นผู้ทดสอบ และอย่างน้อยก็ได้มีการทดสอบในระดับหนึ่งแล้ว ขณะที่ร้อยละ
19.4 เห็นว่าไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ เนื่องจากการก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เป็นการบินทดสอบเพียงครั้งเดียว และไม่ได้มีการเชิญ
องค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านการบินมาร่วมทดสอบ และร้อยละ 39.9 ไม่แน่ใจ
สำหรับประเด็นเรื่องความคุ้มค่าของการทดสอบความพร้อมด้วยวิธีการดังกล่าวเมื่อเทียบกับการลงทุนแล้ว ประชาชนร้อยละ 42.3 เห็น
ว่าเป็นการกระทำที่คุ้มค่า ขณะที่ร้อยละ 31.1 เห็นว่าไม่คุ้มค่า และร้อยละ 26.6 ไม่แน่ใจ
2. ส่วนความคิดเห็นต่อผลงานในส่วนที่เกี่ยวกับการก่อสร้างและเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิของรัฐบาลชุดปัจจุบันนั้น ประชาชนส่วนใหญ่คือ
ร้อยละ 53.8 ระบุว่าไม่พอใจ (โดยไม่พอใจเพราะมีเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันและผลประโยชน์แอบแฝงมาก ร้อยละ 32.3 และไม่พอใจเพราะไม่
ได้มีการเตรียมแผนรองรับผลกระทบจากการเปิดใช้สนามบินให้ชัดเจนล่วงหน้า ร้อยละ 21.5) ในขณะที่อีกร้อยละ 46.2 ระบุว่าพอใจ (โดยพอใจที่
รัฐบาลเร่งรัดการก่อสร้างจนสามารถเปิดใช้งานได้ ร้อยละ 22.2 และพอใจที่ช่วยสร้างชื่อเสียงและขยายโอกาสทางการค้าการลงทุนให้กับประเทศ
ไทย ร้อยละ 24.0 )
3. สำหรับคำถามที่ว่าการจัดเที่ยวบินทดสอบดังกล่าวจะช่วยลบภาพเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันในการก่อสร้างและจัดซื้ออุปกรณ์ของสนาม
บินสุวรรณภูมิตามที่เคยเป็นข่าวได้หรือไม่นั้น ปรากฎว่าส่วนใหญ่คือร้อยละ 68.0 เห็นว่าไม่ได้ มีเพียงร้อยละ 13.5 ที่ เห็นว่าได้ และร้อยละ
18.5 ไม่แน่ใจ
4. ส่วนความเชื่อมั่นว่าการก่อสร้างและจัดการรายละเอียดในส่วนต่างๆ ของสนามบินสุวรรณภูมิจะเสร็จทันการเปิดใช้งานอย่างเป็นทาง
การในเดือนมิถุนายน 2549 หรือไม่นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.5 เชื่อว่าจะเสร็จทันแบบไม่สมบูรณ์ มีเพียงร้อยละ 19.9 ที่เชื่อว่าจะเสร็จทัน
แบบสมบูรณ์ และร้อยละ 9.6 เชื่อว่าจะเสร็จไม่ทัน
5. ในส่วนของความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถผลักดันให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชียได้หรือไม่นั้น
ส่วนใหญ่คือร้อยละ 53.5 เชื่อว่าได้ ขณะที่ร้อยละ 13.6 เชื่อว่าไม่ได้ และร้อยละ 32.9 ไม่แน่ใจ
6. สำหรับเรื่องที่ประชาชนเป็นห่วงที่สุดเกี่ยวกับการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการในปีหน้าคือ เรื่องความโปร่งใสในการ
จัดการเกี่ยวกับรายได้และผลประโยชน์ (ร้อยละ 26.6) รองลงมาได้แก่ เรื่องระบบนิเวศน์และผังเมืองของพื้นที่โดยรอบสนามบิน (ร้อยละ
25.4) ความพร้อมของระบบต่างๆ ในสนามบิน (ร้อยละ 25.1) ระบบการจราจรขนส่งที่เชื่อมโยงจากสนามบินสุวรรณภูมิไปยังพื้นที่ส่วนอื่นของ
กทม. (ร้อยละ 13.8) ความสามารถในการบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าต่อการลงทุน (ร้อยละ 7.2) และ
อันตรายจากฝูงนกและสัตว์ต่างๆ (ร้อยละ 1.9)
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 548 47.9
หญิง 596 52.1
อายุ :
18 — 25 ปี 343 30.0
26 — 35 ปี 312 27.3
36 — 45 ปี 323 28.2
46 ปีขึ้นไป 166 14.5
การศึกษา:
ประถมศึกษา 96 8.4
มัธยมศึกษา/ปวช. 360 31.5
ปวส./อนุปริญญา 138 12.1
ปริญญาตรี 494 43.2
สูงกว่าปริญญาตรี 56 4.9
อาชีพ :
รับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 114 9.9
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 242 21.2
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 270 23.6
รับจ้างทั่วไป 112 9.8
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 38 3.3
นิสิต/นักศึกษา 252 22.0
อาชีพอิสระ 92 8.1
อื่นๆ 24 2.1
ตารางที่ 2: การจัดเที่ยวบินทดสอบที่นายกรัฐมนตรีนำคณะสื่อมวลชนขึ้นเครื่องบินไปลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ และขึ้นกลับมายังสนามบินดอนเมือง
จะสามารถสร้างความมั่นใจในความพร้อมของสนามบินสุวรรณภูมิที่คาดว่าจะเปิดใช้ในปีหน้าได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ เพราะคนระดับผู้นำกล้าใช้ตัวเองเป็นผู้
ทดสอบ และอย่างน้อยก็ได้มีการทดสอบ
ในระดับหนึ่งแล้ว 466 40.7
ไม่ได้ เพราะการก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์
เป็นการบินทดสอบเพียงครั้งเดียว
และไม่ได้มีการเชิญองค์กรผู้เชี่ยวชาญด้าน
การบินมาร่วมทดสอบ 222 19.4
ไม่แน่ใจ 456 39.9
ตารางที่ 3: การทดสอบความพร้อมของสนามบินสุวรรณภูมิด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้นเป็นการกระทำที่คุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
คุ้มค่า 484 42.3
ไม่คุ้มค่า 356 31.1
ไม่แน่ใจ 304 26.6
ตารางที่ 4: ความคิดเห็นต่อผลงานการก่อสร้างและเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
จำนวน ร้อยละ
พอใจ เพราะ 528 46.2
รัฐบาลเร่งรัดการก่อสร้างจนสามารถเปิดใช้งานได้ 22.2%
ช่วยสร้างชื่อเสียงและขยายโอกาสทางการค้าการลงทุน 24.0%
ไม่พอใจ เพราะ 616 53.8
มีเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันและผลประโยชน์แอบแฝงมาก 32.3%
ไม่ได้เตรียมแผนรองรับผลกระทบจากการเปิดใช้สนามบินอย่างชัดเจน 21.5%
ตารางที่ 5: การจัดเที่ยวบินทดสอบจะช่วยลบภาพเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันในการก่อสร้าง
และจัดซื้ออุปกรณ์ของสนามบินสุวรรณภูมิตามที่เคยเป็นข่าวได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 154 13.5
ไม่ได้ 778 68.0
ไม่แน่ใจ 212 18.5
ตารางที่ 6: คาดว่าการก่อสร้างและจัดการเกี่ยวกับรายละเอียดในส่วนต่างๆ ของสนามบินสุวรรณภูมิ
จะเสร็จทันการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน 2549 หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เสร็จทันแบบสมบูรณ์ 228 19.9
เสร็จทันแบบไม่สมบูรณ์ 806 70.5
เสร็จไม่ทัน 110 9.6
ตารางที่ 7: คิดว่ารัฐบาลจะสามารถผลักดันให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชียได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 612 53.5
ไม่ได้ 156 13.6
ไม่แน่ใจ 376 32.9
ตารางที่ 8: เรื่องที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดเกี่ยวกับการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการในปีหน้า
จำนวน ร้อยละ
ความโปร่งใสในการจัดการเกี่ยวกับรายได้และผลประโยชน์ 304 26.6
ระบบนิเวศน์และผังเมืองของพื้นที่โดยรอบสนามบิน 290 25.4
ความพร้อมของระบบต่างๆ ในสนามบิน 288 25.1
ระบบการจราจรขนส่งที่เชื่อมโยงจากสนามบินสุวรรณภูมิไปยังพื้นที่ส่วนอื่นของ กทม. 158 13.8
ความสามารถในการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าต่อการลงทุน 82 7.2
อันตรายจากฝูงนก 22 1.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-