กลุ่มตัวอย่าง:
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
โดยสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) คือ
ขั้นแรก สุ่มเขตปกครองกรุงเทพมหานคร ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอกจำนวน 32 เขต ได้เขตต่าง ๆ คือ
คลองสาน คันนายาว ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ
บางขุนเทียน บางเขน บางแค บางซื่อ บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พระโขนง มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี
ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สัมพันธวงศ์ สาทร สายไหม
หนองแขม และหลักสี่
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ โดยกำหนดโค้วต้าตาม เพศ กลุ่มอายุ และอาชีพ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,596 คน
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ในเรื่อง “ภาพลักษณ์ว่าที่นายกรัฐมนตรีในใจคนกรุง”
แบบสอบถามที่ใช้มี 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นในหัวข้อที่สำรวจ
ระยะเวลาเก็บข้อมูล:
19 - 20 กันยายน 2543
สรุปผลการสำรวจ
1. การเก็บข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,596 คน
เป็นชายร้อยละ 57.5
เป็นหญิงร้อยละ 42.5
มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 62.4
ปริญญาตรีหรือสูงกว่าร้อยละ 35.2
ประกอบอาชีพรับราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานบริษัทเอกชน
เจ้าของกิจการ
รับจ้างทั่วไป
ค้าขาย
นักศึกษา
และแม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อสอบถามถึง คุณลักษณะเด่นของว่าที่นายกรัฐมนตรีคนต่อไป
กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า
นายชวน หลีกภัย มีคุณลักษณะเด่นในเรื่อง การพูดจาเป็นที่น่าเชื่อถือมากที่สุด (ร้อยละ 41.5) และควบคุมอารมณ์ได้ดีที่สุด (ร้อยละ 66.7)
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มีคุณลักษณะเด่นในเรื่องการแต่งกายที่เหมาะสม (ร้อยละ 45.4) และมีบุคลิกดี (ร้อยละ46.7)
ส่วนนายกร ทัพพะรังสี เป็นผู้ที่มีอารมณ์ขันมากที่สุด (ร้อยละ 35.7)
3. เมื่อสอบถามถึง ความรู้ ความสามารถ ของว่าที่นายกรัฐมนตรี
กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า
นายชวน หลีกภัย เป็นผู้ที่เด่นในเรื่อง
ทนต่อแรงกดดัน บีบคั้นได้ดีที่สุด (ร้อยละ 66.9)
มีความซื่อสัตย์ สุจริต (ร้อยละ 60.2)
เป็นคนไม่รับใช้กลุ่มผลประโยชน์ (ร้อยละ 44.5)
กล้าเผชิญกับปัญหาความขัดแย้ง (ร้อยละ 41.0)
เป็นนายกรัฐมนตรีที่คนไทยภูมิใจ (ร้อยละ 39.7)
ส่วน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เด่นในเรื่อง
เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ดี มองการณ์ไกล (ร้อยละ 66.6)
สามารถเป็นผู้นำในเวทีโลก (ร้อยละ 60.1)
เข้าใจปัญหาต่าง ๆ ของประเทศและของโลก (ร้อยละ 55.0)
และเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง กล้าตัดสินใจ (ร้อยละ 49.9)
4. สำหรับนายกรัฐมนตรีคนต่อไปในใจของคนกรุงนั้น
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 40.2 เห็นว่าควรเป็น พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ร้อยละ 33.2 นายชวน หลีกภัย
และร้อยละ 10.6 นายกร ทัพพะรังสี
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
โดยสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) คือ
ขั้นแรก สุ่มเขตปกครองกรุงเทพมหานคร ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอกจำนวน 32 เขต ได้เขตต่าง ๆ คือ
คลองสาน คันนายาว ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ
บางขุนเทียน บางเขน บางแค บางซื่อ บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พระโขนง มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี
ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สัมพันธวงศ์ สาทร สายไหม
หนองแขม และหลักสี่
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ โดยกำหนดโค้วต้าตาม เพศ กลุ่มอายุ และอาชีพ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,596 คน
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ในเรื่อง “ภาพลักษณ์ว่าที่นายกรัฐมนตรีในใจคนกรุง”
แบบสอบถามที่ใช้มี 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นในหัวข้อที่สำรวจ
ระยะเวลาเก็บข้อมูล:
19 - 20 กันยายน 2543
สรุปผลการสำรวจ
1. การเก็บข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,596 คน
เป็นชายร้อยละ 57.5
เป็นหญิงร้อยละ 42.5
มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 62.4
ปริญญาตรีหรือสูงกว่าร้อยละ 35.2
ประกอบอาชีพรับราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานบริษัทเอกชน
เจ้าของกิจการ
รับจ้างทั่วไป
ค้าขาย
นักศึกษา
และแม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อสอบถามถึง คุณลักษณะเด่นของว่าที่นายกรัฐมนตรีคนต่อไป
กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า
นายชวน หลีกภัย มีคุณลักษณะเด่นในเรื่อง การพูดจาเป็นที่น่าเชื่อถือมากที่สุด (ร้อยละ 41.5) และควบคุมอารมณ์ได้ดีที่สุด (ร้อยละ 66.7)
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มีคุณลักษณะเด่นในเรื่องการแต่งกายที่เหมาะสม (ร้อยละ 45.4) และมีบุคลิกดี (ร้อยละ46.7)
ส่วนนายกร ทัพพะรังสี เป็นผู้ที่มีอารมณ์ขันมากที่สุด (ร้อยละ 35.7)
3. เมื่อสอบถามถึง ความรู้ ความสามารถ ของว่าที่นายกรัฐมนตรี
กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า
นายชวน หลีกภัย เป็นผู้ที่เด่นในเรื่อง
ทนต่อแรงกดดัน บีบคั้นได้ดีที่สุด (ร้อยละ 66.9)
มีความซื่อสัตย์ สุจริต (ร้อยละ 60.2)
เป็นคนไม่รับใช้กลุ่มผลประโยชน์ (ร้อยละ 44.5)
กล้าเผชิญกับปัญหาความขัดแย้ง (ร้อยละ 41.0)
เป็นนายกรัฐมนตรีที่คนไทยภูมิใจ (ร้อยละ 39.7)
ส่วน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เด่นในเรื่อง
เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ดี มองการณ์ไกล (ร้อยละ 66.6)
สามารถเป็นผู้นำในเวทีโลก (ร้อยละ 60.1)
เข้าใจปัญหาต่าง ๆ ของประเทศและของโลก (ร้อยละ 55.0)
และเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง กล้าตัดสินใจ (ร้อยละ 49.9)
4. สำหรับนายกรัฐมนตรีคนต่อไปในใจของคนกรุงนั้น
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 40.2 เห็นว่าควรเป็น พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ร้อยละ 33.2 นายชวน หลีกภัย
และร้อยละ 10.6 นายกร ทัพพะรังสี
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--