กรุงเทพโพลล์: “ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในประเทศไทยรุนแรงเพียงใด”

ข่าวผลสำรวจ Tuesday December 1, 2015 10:44 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชนเกือบครึ่งเคยพบเห็นการซื้อสิทธิ์ขายเสียงทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ชี้ภาคใต้เป็นภาคที่ประชาชนพบเห็นการซื้อสิทธิ์ขายเสียงมากที่สุด ส่วน กทม. พบเห็นน้อยสุดแต่ยังมีมากถึง 1 ใน 4

เพื่อเป็นข้อมูลประกอบปฏิรูปการเลือกตั้งของประเทศไทย รวมถึงเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในประเทศไทยรุนแรงเพียงใด” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,192 คน พบว่า

ในภาพรวมประชาชนร้อยละ 57.0 ไม่เคยพบเห็นการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในการเลือกตั้งใหญ่ปี 2554 ที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 43.0 เคยพบเห็น โดยเมื่อแยกพิจารณาแต่ละภูมิภาคพบว่า ภาคใต้เป็นภาคที่ประชาชนเคยพบเห็นการซื้อสิทธิ์ขายเสียงมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 51.0 รองลงมาเป็นภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เคยพบเห็นร้อยละ 49.1) ส่วนภาคอื่นๆ มีดังนี้

          ภาคกลาง              เคยพบเห็นร้อยละ 45.9 ขณะที่ร้อยละ 54.1 ไม่เคยพบเห็น
          ปริมณฑล               เคยพบเห็นร้อยละ 45.3 ขณะที่ร้อยละ 54.7 ไม่เคยพบเห็น
          ภาคตะวันออก           เคยพบเห็นร้อยละ 40.2 ขณะที่ร้อยละ 59.8 ไม่เคยพบเห็น
          ภาคเหนือ              เคยพบเห็นร้อยละ 36.9 ขณะที่ร้อยละ 63.1 ไม่เคยพบเห็น
          กรุงเทพมหานคร         เคยพบเห็นร้อยละ 27.4 ขณะที่ร้อยละ72.6 ไม่เคยพบเห็น

ส่วนการเลือกตั้งท้องถิ่น เช่น อบต. อบจ. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นับจาก ปี 2554 เป็นต้นมา พบว่า ในภาพรวมประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 50.1 ไม่เคยพบเห็น ขณะที่ร้อยละ 49.9 เคยพบเห็น โดยเมื่อแยกพิจารณาแต่ละภูมิภาคพบว่า ภาคใต้เป็นภาคที่ประชาชนเคยพบเห็นการซื้อสิทธิ์ขายเสียงมากที่สุด (ร้อยละ 63.8) รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เคยพบเห็น ร้อยละ 54.8) ส่วนภาคอื่นๆ มีดังนี้

          ปริมณฑล               เคยพบเห็นร้อยละ 52.3 ขณะที่ร้อยละ 47.7 ไม่เคยพบเห็น
          ภาคกลาง              เคยพบเห็นร้อยละ 49.5 ขณะที่ร้อยละ 50.5 ไม่เคยพบเห็น
          ภาคตะวันออก           เคยพบเห็นร้อยละ 47.7 ขณะที่ร้อยละ 52.3 ไม่เคยพบเห็น
          ภาคเหนือ              เคยพบเห็นร้อยละ 45.8 ขณะที่ร้อยละ 54.2 ไม่เคยพบเห็น
          กรุงเทพมหานคร         เคยพบเห็นร้อยละ 34.5 ขณะที่ร้อยละ 65.5 ไม่เคยพบเห็น

ทั้งนี้จากผลสำรวจในภาพรวมที่ประชาชนเกือบครึ่งเคยพบเห็นการซื้อสิทธิ์ สะท้อนให้เห็นถึงระดับปัญหาที่อยู่ในขั้นรุนแรง โดยการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในการเลือกตั้งท้องถิ่นจะมีระดับความรุนแรงที่มากกว่าการเลือกตั้งใหญ่ และเกือบทุกภาคจะมีระดับความรุนแรงที่พอๆ กันยกเว้นพื้นที่กรุงเทพมหานคร ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการเร่งปฏิรูปการเลือกตั้งเพื่อให้ได้ตัวแทนของประชาชนที่เป็นคนดีและคนเก่งมากที่สุด

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. ข้อคำถาม “การเลือกตั้งใหญ่ครั้งที่ผ่านมา ปี 2554 เคยพบเห็นการซื้อสิทธิ์ขายเสียงหรือไม่”
ไม่เคยพบเห็น          ร้อยละ          57.0
เคยพบเห็น            ร้อยละ          43.0

เมื่อพิจารณาในแต่ละภาค พบว่า

ภาค                                             การซื้อสิทธิ์ขายเสียง
                                   เคยพบเห็น       ไม่เคยพบเห็น         รวม
                                   (ร้อยละ)          (ร้อยละ)        (ร้อยละ)
ใต้                                   51.0             49.0          100.0
ตะวันออกเฉียงเหนือ                      49.1             50.9          100.0
กลาง                                 45.9             54.1          100.0
ปริมณฑล                               45.3             54.7          100.0
ตะวันออก                              40.2             59.8          100.0
เหนือ                                 36.9             63.1          100.0
กรุงเทพมหานคร                         27.4             72.6          100.0

2. ข้อคำถาม “นับจาก ปี 2554 เป็นต้นมา เคยพบเห็นการซื้อสิทธิ์ขายเสียงการเลือกตั้งท้องถิ่น เช่น อบต. อบจ. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือไม่”
ไม่เคยพบเห็น          ร้อยละ          50.1
เคยพบเห็น            ร้อยละ          49.9

เมื่อพิจารณาในแต่ละภาค พบว่า

ภาค                                             การซื้อสิทธิ์ขายเสียง
                                   เคยพบเห็น       ไม่เคยพบเห็น         รวม
                                   (ร้อยละ)          (ร้อยละ)        (ร้อยละ)
ใต้                                   63.8             36.2          100.0
ตะวันออกเฉียงเหนือ                      54.8             45.2          100.0
ปริมณฑล                               52.3             47.7          100.0
กลาง                                 49.5             50.5          100.0
ตะวันออก                              47.7             52.3          100.0
เหนือ                                 45.8             54.2          100.0
กรุงเทพมหานคร                         34.5             65.5          100.0

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

เพื่อต้องการทราบถึงระดับความรุนแรงของการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในช่วงการเลือกตั้งใหญ่ ปี 2554 และการเลือกตั้งท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ และสะท้อนผลสำรวจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้พัฒนาประเทศต่อไป

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Phone Survey) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  24-26 พฤศจิกายน 2558

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  1 ธันวาคม 2558

ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                               645      54.1
          หญิง                               547      45.9
          รวม                             1,192       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                       178      14.9
          31 ปี – 40 ปี                       279      23.4
          41 ปี – 50 ปี                       318      26.6
          51 ปี - 60 ปี                       271      22.8
          61 ปี ขึ้นไป                         146      12.3
          รวม                             1,192       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                      815      68.4
          ปริญญาตรี                           303      25.4
          สูงกว่าปริญญาตรี                       74       6.2
          รวม                             1,192       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                        142      11.9
          ลูกจ้างเอกชน                        286        24
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร        553      46.4
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                39       3.3
          ทำงานให้ครอบครัว                      6       0.5
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ            129      10.8
          นักเรียน/ นักศึกษา                     25       2.1
          ว่างงาน/ รวมกลุ่ม                     12         1
          รวม                             1,192       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ