ประชาชน 83.9% เผยครอบครัวมีการปลูกฝังลูกหลานไม่ให้ทุจริตคอร์รัปชั่น 80.4% เชื่อมั่นความตั้งใจของ พล.อ. ประยุทธ์ในการปราบคอร์รัปชั่นและ 77.0% ชี้ปัญหาทุจริตดีขึ้นกว่ายุคก่อนหน้านี้ พล.อ. ประยุทธ์ได้คะแนนภาพลักษณ์ความซื่อสัตย์มากที่สุด ขณะที่นักการเมืองท้องถิ่นได้คะแนนน้อยที่สุด
เนื่องด้วยวันที่ 9 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันต่อต้านการทุจริตสากล กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทย ในยุคนายกฯ ประยุทธ์” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,195 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 83.9 เห็นว่าครอบครัวของตนเองมีการปลูกฝังให้ลูกหลาน ไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น ไม่โกง ทั้งในเรื่องเรียนและเรื่องการทำงาน ขณะที่ร้อยละ 16.1 ไม่มีการปลูกฝัง
เมื่อถามว่ารัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังและเท่าเทียมกับทุกฝ่าย หรือไม่” ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.3 เห็นว่าจริงจังและเท่าเทียมกับทุกฝ่าย ส่วนร้อยละ 34.1 เห็นว่าจริงจังแต่ไม่เท่าเทียม ขณะที่ร้อยละ 5.6 เห็นว่าไม่จริงจริงและไม่เท่าเทียม ที่เหลือร้อยละ 5.0 ไม่แน่ใจ
สำหรับความเชื่อมั่นต่อพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในความตั้งใจปราบปรามและแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.4 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 16.2 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด และร้อยละ 3.4 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทยเป็นอย่างไร ภายใต้การนำของ พล.อ. ประยุทธ์ เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า ส่วนใหญ่ร้อยละ 77.0 เห็นว่าดีขึ้น รองลงมาร้อยละ 16.0 เห็นว่าเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 4.9 เห็นว่าแย่ลง และร้อยละ 2.1 ไม่แน่ใจ
ด้านความเห็นต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทยจะเป็นอย่างไรหลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 42.6 เห็นว่าน่าจะลดลง ขณะที่ร้อยละ 38.8 เห็นว่าน่าจะเพิ่มขึ้น ส่วนร้อยละ 18.6 ไม่แน่ใจ
นอกจากนี้การสำรวจด้านภาพลักษณ์ความซื่อสัตย์ ซื่อตรง ของบุคคลและกลุ่มบุคคลต่างๆ พบว่า นายกรัฐมนตรี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชามีภาพลักษณ์ความซื่อสัตย์ ซื่อตรงมากที่สุด 3.95 คะแนนเต็ม 5 คะแนน รองลงมาคือรัฐบาล
พล.อ. ประยุทธ์ (3.63 คะแนน) ข้าราชการและภาคเอกชน (2.99 คะแนนเท่ากัน) นักการเมืองระดับชาติ (2.63 คะแนน) และ นักการเมืองท้องถิ่น (2.47 คะแนน)
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
มีการปลูกฝัง ร้อยละ 83.9 ไม่มีการปลูกฝัง ร้อยละ 16.1 2. ข้อคำถาม “คิดว่ารัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชามีการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังและเท่าเทียมกับทุกฝ่าย หรือไม่” จริงจังและเท่าเทียม ร้อยละ 55.3 จริงจังแต่ไม่เท่าเทียม ร้อยละ 34.1 ไม่จริงจริงและไม่เท่าเทียม ร้อยละ 5.6 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 5.0 3. ความเชื่อมั่นที่มีต่อพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในความตั้งใจปราบปรามและแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 53.7 และเชื่อมั่นมากที่สุดร้อยละ 26.7) ร้อยละ 80.4 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยร้อยละ 13.3 และเชื่อมั่นน้อยที่สุดร้อยละ 2.9) ร้อยละ 16.2 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 3.4 4. ข้อคำถาม “คิดว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทยเป็นอย่างไร ภายใต้การนำของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชาเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า” ดีขึ้น ร้อยละ 77.0 เหมือนเดิม ร้อยละ 16.0 แย่ลง ร้อยละ 4.9 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 2.1 5. ข้อคำถาม “คิดว่าหลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทยจะเป็นอย่างไร” เพิ่มขึ้น ร้อยละ 38.8 ลดลง ร้อยละ 42.6 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 18.6 6. ภาพลักษณ์คะแนนความซื่อสัตย์ ซื่อตรง ของบุคคลและกลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้ บุคคลและกลุ่มบุคคล คะแนนความซื่อสัตย์ ซื่อตรง
(เต็ม 5 คะแนน)
นายกฯ พล.อ. ประยุทธ์ 3.95 รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ 3.63 ข้าราชการ 2.99 ภาคเอกชน 2.99 นักการเมืองระดับชาติ 2.63 นักการเมืองท้องถิ่น 2.47
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการปลูกฝังการไม่ทุจริตคอร์รัปชั่นให้แก่ลูกหลาน
2) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อความจริงจังในการตรวจสอบ ความตั้งใจ และความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์ในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
3) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทย หลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Phone Survey) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 2-4 ธันวาคม 2558 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 7 ธันวาคม 2558
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 610 51 หญิง 585 49 รวม 1,195 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 218 18.2 31 ปี – 40 ปี 260 21.8 41 ปี – 50 ปี 334 28 51 ปี - 60 ปี 245 20.5 61 ปี ขึ้นไป 138 11.5 รวม 1,195 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 806 67.5 ปริญญาตรี 311 26 สูงกว่าปริญญาตรี 78 6.5 รวม 1,195 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 160 13.4 ลูกจ้างเอกชน 276 23.1 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 482 40.3 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 62 5.2 ทำงานให้ครอบครัว 1 0.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 151 12.6 นักเรียน/ นักศึกษา 48 4 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 15 1.3 รวม 1,195 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--