กรุงเทพโพลล์: “เศรษฐกิจในครอบครัว กับความพึงพอใจต่อการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์”

ข่าวผลสำรวจ Friday January 15, 2016 09:04 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชนมากถึง 45.8% มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ในจำนวนนี้ 28.9% ต้องกู้หนี้ยืมสิน ประชาชน 50.2% ไม่ค่อยพอใจการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “เศรษฐกิจในครอบครัวกับความพึงพอใจต่อการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,052 คน พบว่าสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพของครอบครัว ในปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 37.1 มีรายได้พอๆ กับรายจ่าย ส่วนร้อยละ 28.9 มีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายต้องกู้หนี้ยืมสิน และร้อยละ 16.9 มีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายทำให้ต้องนำเงินออมมาใช้ ขณะที่ร้อยละ 17.1 มีรายได้มากกว่ารายจ่าย มีเงินเหลือออม

เมื่อถามว่ามีความเครียด ความกังวลต่อสถานการณ์การเงิน และเศรษฐกิจของครัวเรือนหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 62.5 ไม่ค่อยมีความเครียดและความกังวล แต่มีถึงร้อยละ 37.5 ที่มีความความเครียดและความกังวล

สำหรับวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาการเงิน และปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัว พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.2 ใช้วิธีเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่าย รองลงมาร้อยละ 33.1 ใช้วิธีหาอาชีพเสริมหรือเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นที่รายได้มากกว่า และร้อยละ 22.0 ใช้วิธีหยิบยืมญาติพี่น้อง / กู้ธนาคาร และประชาชนร้อยละ 5.6 เลือกที่จะกู้เงินนอกระบบในการแก้ปัญหา ขณะที่ร้อยละ 2.9 ไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร / ไม่มีที่พึ่ง

สุดท้ายเมื่อถามว่าพอใจมากน้อยเพียงใดต่อการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ ในเรื่อง รายได้ค่าครองชีพ และปากท้องของประชาชน ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.2 พอใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 49.8 พอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. สภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพของครอบครัว ในปัจจุบัน
รายได้มากกว่ารายจ่าย มีเงินเหลือออม                                        ร้อยละ          17.1
รายได้พอๆ กับรายจ่าย                                                    ร้อยละ          37.1
รายได้ไม่พอกับรายจ่าย  ต้องนำเงินออมมาใช้                                   ร้อยละ          16.9
รายได้ไม่พอกับรายจ่ายต้องกู้หนี้ยืมสิน                                          ร้อยละ          28.9

2. ความเครียด ความกังวลต่อสถานการณ์การเงิน และเศรษฐกิจของครอบครัว
ไม่ค่อยมีความเครียดและความกังวล                                           ร้อยละ          62.5
มีความเครียดและความกังวล                                                ร้อยละ          37.5

3. วิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาการเงิน และปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
เพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่าย                                            ร้อยละ          66.2
หาอาชีพเสริมหรือเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นที่มีรายได้มากกว่า                            ร้อยละ          33.1
หยิบยืมญาติพี่น้อง / กู้ธนาคาร                                               ร้อยละ          22.0
กู้นอกระบบ                                                             ร้อยละ           5.6
ไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร / ไม่มีที่พึ่ง                                           ร้อยละ           2.9

4.  ความพึงพอใจต่อการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์  ในเรื่องรายได้  ค่าครองชีพ และปากท้องของประชาชน
พอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นพอใจค่อนข้างมากร้อยละ 42.1 และพอใจมากที่สุดร้อยละ 7.7)            ร้อยละ          49.8
พอใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นพอใจค่อนข้างน้อยร้อยละ 33.8 และพอใจน้อยที่สุดร้อยละ 16.4)           ร้อยละ          50.2

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1) เพื่อต้องการทราบถึงสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพของครอบครัวในปัจจุบัน

2) เพื่อสะท้อนความเครียด ความกังวลต่อสถานการณ์การเงิน และเศรษฐกิจของครอบครัว

3) เพื่อต้องการทราบถึงวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาการเงิน ปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัว

4) เพื่อสะท้อนความพึงพอใจต่อการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ ในเรื่องรายได้ ค่าครองชีพ และปากท้องของประชาชน

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  12-14 มกราคม 2559

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  15 มกราคม 2559

ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                 536        51
          หญิง                                 516        49
          รวม                               1,052       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                         143      13.6
          31 ปี – 40 ปี                         218      20.7
          41 ปี – 50 ปี                         286      27.2
          51 ปี - 60 ปี                         257      24.4
          61 ปี ขึ้นไป                           148      14.1
          รวม                               1,052       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                        721      68.6
          ปริญญาตรี                             259      24.6
          สูงกว่าปริญญาตรี                         72       6.8
          รวม                               1,052       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                          136      12.9
          ลูกจ้างเอกชน                          205      19.5
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว                   324      30.8
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                  55       5.2
          ทำงานให้ครอบครัว                        4       0.4
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ              110      10.5
          นักเรียน/ นักศึกษา                       32         3
          ว่างงาน/ รวมกลุ่ม                       20       1.9
          เกษตรกร                             166      15.8
          รวม                               1,052       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ