วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :
การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายการแก้ปัญหา
ยาเสพย์ติดของรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในประเด็นความสามารถ มาตรการ ปัญหาและอุปสรรคในการปราบปราม
ยาเสพย์ติด
วิธีสำรวจ :
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร
เทคนิคการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขตปกครอง
ในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 26 เขต ดังนี้
คลองสามวา จอมทอง ดุสิต ตลิ่งชั่น ธนบุรี บางกอกน้อย บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางแค บางซื่อ
บางรัก บึงกุ่ม ป้อมปรามฯ พระโขนง ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว วัฒนา สะพานสูง สัมพันธวงศ์ หนองแขม
หนองจอก หลักสี่ ห้วยขวาง
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ โดยกำหนดโควต้า ตามเพศ กลุ่มอายุ และอาชีพ ได้ตัวอย่างทั้ง
สิ้นจำนวน 1,294 คน
ความคลาดเคลื่อน :
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน + 3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล :
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ความคิดเห็น
ของประชาชนต่อนโยบายการแก้ปัญหายาเสพย์ติด"
ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นในหัวข้อที่สำรวจ
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :
21 - 22 มีนาคม 2544
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
23 มีนาคม 2544
สำรวจโดย :
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สรุปผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพ
มหานคร เป็นชายร้อยละ 48.7 เป็นหญิงร้อยละ 51.3 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 71.8 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เหลือ
ร้อยละ 26.8 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบอาชีพหลากหลาย เช่น รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนัก
งานบริษัทเอกชน เจ้าของกิจการ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย นักศึกษา และแม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อสอบถามความเห็นถึงการประกาศนโยบายของรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เรื่องการปราบปราม
ยาเสพย์ติด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 90.0 เห็นด้วย
ร้อยละ 1.6 ไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 8.4 ไม่มีความเห็น
3. สำหรับความสามารถในการแก้ปัญหายาเสพย์ติด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.8 คิดว่าน่าจะทำได้
ร้อยละ 15.8 คิดว่าไม่น่าจะทำได้
และร้อยละ 31.4 ไม่แน่ใจ
4. เมื่อถามความเห็นว่า รัฐบาล ทักษิณ ควรมีมาตรการอย่างไรในการปราบปรามยาเสพย์ติด กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 27.2 คิดว่าควรลงโทษประหารชีวิตเฉพาะผู้ค้ายาเสพย์ติด
ร้อยละ 21.9 คิดว่าควรลงโทษประหารชีวิตทั้งผู้ค้ายาและผู้เสพย์ยา
ร้อยละ 16.6 คิดว่าควรจำคุกโดยกำหนดจำนวนปีทั้งผู้ค้ายาและผู้เสพย์ยา
ร้อยละ 12.8 คิดว่าควรจำคุกตลอดชีวิตทั้งผู้ค้ายาและผู้เสพย์ยา
ร้อยละ 9.5 คิดว่าควรจำคุกตลอดชีวิตเฉพาะผู้ค้ายาเสพย์ติด
ร้อยละ 2.9 คิดว่าควรลงโทษประหารชีวิตเฉพาะผู้เสพย์ยา
ร้อยละ 2.4 คิดว่าควรจำคุกโดยกำหนดจำนวนปีเฉพาะผู้ค้ายาเสพย์ติด
ร้อยละ 1.4 คิดว่าควรจำคุกโดยกำหนดจำนวนปีเฉพาะผู้เสพย์ยา
ร้อยละ 1.3 คิดว่าควรจำคุกตลอดชีวิตเฉพาะผู้เสพย์ยา
และร้อยละ 4.0 คิดว่าควรมีมาตรการอื่น ๆ
5. และเมื่อถามว่าปัญหาและอุปสรรคในการปราบปรามยาเสพย์ติดเกิดจากอะไร กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 39.5
คิดว่าเกิดจากนักการเมืองและข้าราชการอาวุโสที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการ
ร้อยละ 25.3 คิดว่าเกิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่สนใจปราบปรามอย่างจริงจัง
ร้อยละ 11.4 คิดว่าเกิดจากการขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
ร้อยละ 10.4 คิดว่าเกิดจากการขาดนโยบายที่ชัดเจน
ร้อยละ 6.9 คิดว่าเกิดจากการขาดงบประมาณ
ร้อยละ 3.4 คิดว่าเกิดจากการคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากเกินไป
และร้อยละ 3.1 คิดว่าเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 630 48.7
หญิง 664 51.3
อายุ :
18 - 25 223 17.2
26 - 35 393 30.4
36 - 45 451 34.9
มากกว่า 45 ปี 217 16.8
ไม่ระบุ 10 0.8
การศึกษา :
ประถมศึกษา 210 16.2
มัธยมศึกษา 244 18.9
ปวช. 176 13.6
ปวส./อนุปริญญา 299 23.1
ปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี 347 26.8
ไม่ระบุ 18 1.4
อาชีพ :
รับราชการ 58 4.5
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 49 3.8
พนักงานเอกชน 286 22.1
เจ้าของกิจการ 134 10.4
รับจ้างทั่วไป 257 19.9
ค้าขาย 227 17.5
นักศึกษา 118 9.1
แม่บ้าน 128 9.9
อาชีพอื่น ๆ 37 2.9
ตารางที่ 2 ท่านมีความเห็นอย่างไรในกรณีที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายก
รัฐมนตรี มีนโยบายประกาศสงครามกับยาเสพย์ติดอย่างจริงจัง
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 1,164 90
ไม่เห็นด้วย 21 1.6
ไม่มีความเห็น 109 8.4
ตารางที่ 3 ท่านคิดว่า นโยบายของรัฐบาลทักษิณ เรื่องการปราบปรามยาเสพย์ติด สามารถทำได้จริงหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
น่าจะทำได้ 683 52.8
ไม่น่าจะทำได้ 205 15.8
ไม่แน่ใจ 406 31.4
ตารางที่ 4 ท่านคิดว่า รัฐบาลทักษิณควรมีมาตรการอย่างไรในการปราบปรามยาเสพย์ติด
จำนวน ร้อยละ
ลงโทษประหารชีวิตเฉพาะผู้ค้ายาเสพย์ติด 352 27.2
ลงโทษประหารชีวิตทั้งผู้ค้ายาและผู้เสพย์ยา 283 21.9
จำคุกโดยกำหนดจำนวนปีทั้งผู้ค้ายาและผู้เสพย์ยา 215 16.6
จำคุกตลอดชีวิตทั้งผู้ค้ายาและผู้เสพย์ยา 166 12.8
จำคุกตลอดชีวิตเฉพาะผู้ค้ายาเสพย์ติด 123 9.5
ลงโทษประหารชีวิตเฉพาะผู้เสพย์ยา 37 2.9
จำคุกโดยกำหนดจำนวนปีเฉพาะผู้ค้ายาเสพย์ติด 31 2.4
จำคุกโดยกำหนดจำนวนปีเฉพาะผู้เสพย์ยา 18 1.4
จำคุกตลอดชีวิตเฉพาะผู้เสพย์ยา 17 1.3
อื่น ๆ 52 4
ตารางที่ 5 ท่านคิดว่าปัญหา/อุปสรรคในการปราบปรามยาเสพย์ติดเกิดจากอะไร
จำนวน ร้อยละ
นักการเมือง/ข้าราชการอาวุโสที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการ 511 39.5
ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่สนใจปราบปรามอย่างจริงจัง 327 25.3
ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ 148 11.4
ขาดนโยบายที่ชัดเจน 135 10.4
ขาดงบประมาณ 89 6.9
ห่วงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากเกินไป 44 3.4
อื่น ๆ 40 3.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายการแก้ปัญหา
ยาเสพย์ติดของรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในประเด็นความสามารถ มาตรการ ปัญหาและอุปสรรคในการปราบปราม
ยาเสพย์ติด
วิธีสำรวจ :
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร
เทคนิคการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขตปกครอง
ในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 26 เขต ดังนี้
คลองสามวา จอมทอง ดุสิต ตลิ่งชั่น ธนบุรี บางกอกน้อย บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางแค บางซื่อ
บางรัก บึงกุ่ม ป้อมปรามฯ พระโขนง ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว วัฒนา สะพานสูง สัมพันธวงศ์ หนองแขม
หนองจอก หลักสี่ ห้วยขวาง
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ โดยกำหนดโควต้า ตามเพศ กลุ่มอายุ และอาชีพ ได้ตัวอย่างทั้ง
สิ้นจำนวน 1,294 คน
ความคลาดเคลื่อน :
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน + 3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล :
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ความคิดเห็น
ของประชาชนต่อนโยบายการแก้ปัญหายาเสพย์ติด"
ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นในหัวข้อที่สำรวจ
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :
21 - 22 มีนาคม 2544
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
23 มีนาคม 2544
สำรวจโดย :
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สรุปผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพ
มหานคร เป็นชายร้อยละ 48.7 เป็นหญิงร้อยละ 51.3 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 71.8 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เหลือ
ร้อยละ 26.8 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบอาชีพหลากหลาย เช่น รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนัก
งานบริษัทเอกชน เจ้าของกิจการ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย นักศึกษา และแม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อสอบถามความเห็นถึงการประกาศนโยบายของรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เรื่องการปราบปราม
ยาเสพย์ติด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 90.0 เห็นด้วย
ร้อยละ 1.6 ไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 8.4 ไม่มีความเห็น
3. สำหรับความสามารถในการแก้ปัญหายาเสพย์ติด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.8 คิดว่าน่าจะทำได้
ร้อยละ 15.8 คิดว่าไม่น่าจะทำได้
และร้อยละ 31.4 ไม่แน่ใจ
4. เมื่อถามความเห็นว่า รัฐบาล ทักษิณ ควรมีมาตรการอย่างไรในการปราบปรามยาเสพย์ติด กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 27.2 คิดว่าควรลงโทษประหารชีวิตเฉพาะผู้ค้ายาเสพย์ติด
ร้อยละ 21.9 คิดว่าควรลงโทษประหารชีวิตทั้งผู้ค้ายาและผู้เสพย์ยา
ร้อยละ 16.6 คิดว่าควรจำคุกโดยกำหนดจำนวนปีทั้งผู้ค้ายาและผู้เสพย์ยา
ร้อยละ 12.8 คิดว่าควรจำคุกตลอดชีวิตทั้งผู้ค้ายาและผู้เสพย์ยา
ร้อยละ 9.5 คิดว่าควรจำคุกตลอดชีวิตเฉพาะผู้ค้ายาเสพย์ติด
ร้อยละ 2.9 คิดว่าควรลงโทษประหารชีวิตเฉพาะผู้เสพย์ยา
ร้อยละ 2.4 คิดว่าควรจำคุกโดยกำหนดจำนวนปีเฉพาะผู้ค้ายาเสพย์ติด
ร้อยละ 1.4 คิดว่าควรจำคุกโดยกำหนดจำนวนปีเฉพาะผู้เสพย์ยา
ร้อยละ 1.3 คิดว่าควรจำคุกตลอดชีวิตเฉพาะผู้เสพย์ยา
และร้อยละ 4.0 คิดว่าควรมีมาตรการอื่น ๆ
5. และเมื่อถามว่าปัญหาและอุปสรรคในการปราบปรามยาเสพย์ติดเกิดจากอะไร กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 39.5
คิดว่าเกิดจากนักการเมืองและข้าราชการอาวุโสที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการ
ร้อยละ 25.3 คิดว่าเกิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่สนใจปราบปรามอย่างจริงจัง
ร้อยละ 11.4 คิดว่าเกิดจากการขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
ร้อยละ 10.4 คิดว่าเกิดจากการขาดนโยบายที่ชัดเจน
ร้อยละ 6.9 คิดว่าเกิดจากการขาดงบประมาณ
ร้อยละ 3.4 คิดว่าเกิดจากการคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากเกินไป
และร้อยละ 3.1 คิดว่าเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 630 48.7
หญิง 664 51.3
อายุ :
18 - 25 223 17.2
26 - 35 393 30.4
36 - 45 451 34.9
มากกว่า 45 ปี 217 16.8
ไม่ระบุ 10 0.8
การศึกษา :
ประถมศึกษา 210 16.2
มัธยมศึกษา 244 18.9
ปวช. 176 13.6
ปวส./อนุปริญญา 299 23.1
ปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี 347 26.8
ไม่ระบุ 18 1.4
อาชีพ :
รับราชการ 58 4.5
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 49 3.8
พนักงานเอกชน 286 22.1
เจ้าของกิจการ 134 10.4
รับจ้างทั่วไป 257 19.9
ค้าขาย 227 17.5
นักศึกษา 118 9.1
แม่บ้าน 128 9.9
อาชีพอื่น ๆ 37 2.9
ตารางที่ 2 ท่านมีความเห็นอย่างไรในกรณีที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายก
รัฐมนตรี มีนโยบายประกาศสงครามกับยาเสพย์ติดอย่างจริงจัง
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 1,164 90
ไม่เห็นด้วย 21 1.6
ไม่มีความเห็น 109 8.4
ตารางที่ 3 ท่านคิดว่า นโยบายของรัฐบาลทักษิณ เรื่องการปราบปรามยาเสพย์ติด สามารถทำได้จริงหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
น่าจะทำได้ 683 52.8
ไม่น่าจะทำได้ 205 15.8
ไม่แน่ใจ 406 31.4
ตารางที่ 4 ท่านคิดว่า รัฐบาลทักษิณควรมีมาตรการอย่างไรในการปราบปรามยาเสพย์ติด
จำนวน ร้อยละ
ลงโทษประหารชีวิตเฉพาะผู้ค้ายาเสพย์ติด 352 27.2
ลงโทษประหารชีวิตทั้งผู้ค้ายาและผู้เสพย์ยา 283 21.9
จำคุกโดยกำหนดจำนวนปีทั้งผู้ค้ายาและผู้เสพย์ยา 215 16.6
จำคุกตลอดชีวิตทั้งผู้ค้ายาและผู้เสพย์ยา 166 12.8
จำคุกตลอดชีวิตเฉพาะผู้ค้ายาเสพย์ติด 123 9.5
ลงโทษประหารชีวิตเฉพาะผู้เสพย์ยา 37 2.9
จำคุกโดยกำหนดจำนวนปีเฉพาะผู้ค้ายาเสพย์ติด 31 2.4
จำคุกโดยกำหนดจำนวนปีเฉพาะผู้เสพย์ยา 18 1.4
จำคุกตลอดชีวิตเฉพาะผู้เสพย์ยา 17 1.3
อื่น ๆ 52 4
ตารางที่ 5 ท่านคิดว่าปัญหา/อุปสรรคในการปราบปรามยาเสพย์ติดเกิดจากอะไร
จำนวน ร้อยละ
นักการเมือง/ข้าราชการอาวุโสที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการ 511 39.5
ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่สนใจปราบปรามอย่างจริงจัง 327 25.3
ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ 148 11.4
ขาดนโยบายที่ชัดเจน 135 10.4
ขาดงบประมาณ 89 6.9
ห่วงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากเกินไป 44 3.4
อื่น ๆ 40 3.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--