กรุงเทพโพลล์: “ประเมินผลงาน 1 ปี 6 เดือน รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา”

ข่าวผลสำรวจ Tuesday February 23, 2016 10:50 —กรุงเทพโพลล์

ครบ 1 ปี 6 เดือน รัฐบาล ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจ 5.92 คะแนน ลดลงจากครั้งก่อน 0.02 คะแนน ส่วนคะแนนการทำหน้าที่นายกฯ ได้ 7.24 คะแนน เพิ่มขึ้น 0.13 คะแนน แต่เสียงสนับสนุนให้เป็น นายกฯ ลดลง 4.5% โดยมาอยู่ที่ 58.6% 65.9% ระบุ เสียงวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญของนักการเมือง/นักวิชาการ ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงประชามติ

เนื่องด้วยเดือนกุมภาพันธ์นี้ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะบริหารประเทศครบ 1 ปี 6 เดือน กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ประเมินผลงาน 1 ปี 6 เดือน รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,189 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า

ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจในการบริหารงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วง 1 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา เฉลี่ย 5.92 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งลดลงจากการประเมินการทำงานรอบ 1 ปีที่ได้ 5.94 คะแนน และรอบ 6 เดือนที่ได้ 6.20 คะแนน โดยการสำรวจครั้งนี้รัฐบาลได้คะแนนมากที่สุดในด้านความมั่นคงของประเทศ 7.10 คะแนน และได้คะแนนน้อยที่สุดในด้านเศรษฐกิจ 5.04 คะแนน

สำหรับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วง 1 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมาได้คะแนนเฉลี่ย 7.24 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการประเมินรอบ 1 ปี ที่ได้ 7.11 คะแนน โดยการสำรวจครั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้คะแนนเพิ่มขึ้นในทุกด้าน และได้คะแนนมากที่สุดในด้านความเด็ดขาดกล้าตัดสินใจ 7.95 คะแนน ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือด้านความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือโครงการใหม่ๆ ได้ 6.10 คะแนน อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงพบว่าด้านนี้ได้คะแนนเพิ่มขึ้นสูงกว่าด้านอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้เมื่อถามว่า “หากวันนี้ ท่านมีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ท่านจะออกเสียงสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 58.6 จะออกเสียงสนับสนุน ขณะที่ร้อยละ 21.8 จะไม่ออกเสียงสนับสนุน ที่เหลือร้อยละ 19.6 งดออกเสียง ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานครบ 1 ปี รัฐบาล พบว่า เสียงสนับสนุนลดลงร้อยละ 4.5 และเป็นระดับเสียงสนับสนุนที่ต่ำสุดนับจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี

สำหรับความเห็นต่อการออกมาวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญของนักการเมืองและนักวิชาการในขณะนี้ ว่าส่งผลต่อการตัดสินใจในการลงประชามติในระดับใด พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.9 ระบุว่าส่งผลน้อย ขณะที่ร้อยละ 34.1 ระบุว่า ส่งผลมาก

โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้

1. คะแนนความพึงพอใจ ที่มีต่อการบริหารประเทศของรัฐบาล ในช่วง 1 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา ได้คะแนนเฉลี่ย 5.92 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

ด้านที่ทำการประเมินความพึงพอใจ                             คะแนนความพึงพอใจ (เต็ม10 คะแนน)
                                         ครบ 6 เดือน     ครบ 1 ปี     ครบ 1 ปี 6เดือน   เพิ่มขึ้น / ลดลง
                                           รัฐบาล         รัฐบาล          รัฐบาล
ด้านความมั่นคงของประเทศ                        7.11          6.47          7.10          +0.63
ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย          6.57          6.78          6.33          -0.45
ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต                          6.12          5.95          5.70          -0.25
ด้านการต่างประเทศ                             5.60          5.32          5.41          +0.09
ด้านเศรษฐกิจ                                  5.58          5.18          5.04          -0.14
คะแนนเฉลี่ย                                   6.20          5.94          5.92          -0.02
หมายเหตุ :  การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน

2.  คะแนนความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้คะแนนเฉลี่ย 7.24 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

ด้านที่ทำการประเมินความพึงพอใจ                                    คะแนนความพึงพอใจ (เต็ม10 คะแนน)
                                                  ครบ 6 เดือน      ครบ 1 ปี     ครบ 1 ปี 6เดือน  เพิ่มขึ้น/ลดลง
                                                  นายกรัฐมนตรี     นายกรัฐมนตรี      นายกฯ
ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ                                 7.89          7.80          7.95          +0.15
ความซื่อสัตย์สุจริต                                        7.58          7.55          7.67          +0.12
การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ                   7.41          7.33          7.41          +0.08
ความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศ              7.50          7.25          7.36          +0.11
ความสามารถในการบริหารจัดการตามอำนาจหน้าที่ ที่มี             7.04          6.89          6.97          +0.08
ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือโครงการใหม่ๆ                6.13          5.82          6.10          +0.28
คะแนนเฉลี่ย                                            7.26          7.11          7.24          +0.13
หมายเหตุ :  การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน

3. ข้อคำถาม “หากวันนี้  ท่านมีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ท่านจะออกเสียงสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่”
                                          ครบ 6 เดือน        ครบ 1 ปี              ครบ 1 ปี 6เดือน   เพิ่มขึ้น/ ลดลง
                                          นายกรัฐมนตรี     นายกรัฐมนตรี (ร้อยละ)         นายกฯ
                                           (ร้อยละ)          (ร้อยละ)                (ร้อยละ)
สนับสนุน                                      68.7              63.1                  58.6            -4.5
ไม่สนับสนุน                                    12.6              19.5                  21.8            +2.3
งดออกเสียง                                   18.7              17.4                  19.6            +2.2

4. ความเห็นต่อการออกมาวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญของนักการเมืองและนักวิชาการในขณะนี้ ส่งผลต่อการตัดสินใจในการลงประชามติในระดับใด
ส่งผลต่อการตัดสินใจมาก                   ร้อยละ 34.1
ส่งผลต่อการตัดสินใจน้อย                   ร้อยละ 65.9

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

เพื่อวัดความพึงพอใจของประชาชนต่อการทำหน้าที่ของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ในการบริหารประเทศครบ 1 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา ตลอดจนเสียงสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี หากมีการเลือกตั้งในอนาคต และความเห็นต่อการวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญของบุคคลต่างๆ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) แล้วได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 16 – 18 กุมภาพันธ์ 2559

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ          :  20 กุมภาพันธ์ 2559

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                               640      53.8
          หญิง                               549      46.2
          รวม                             1,189       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                       186      15.6
          31 ปี – 40 ปี                       283      23.8
          41 ปี – 50 ปี                       316      26.6
          51 ปี - 60 ปี                       259      21.8
          61 ปี ขึ้นไป                         145      12.2
          รวม                             1,189       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                      797        67
          ปริญญาตรี                           320      26.9
          สูงกว่าปริญญาตรี                       72       6.1
          รวม                             1,189       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                        144      12.1
          ลูกจ้างเอกชน                        278      23.4
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร        531      44.7
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                56       4.7
          ทำงานให้ครอบครัว                      1       0.1
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ            128      10.8
          นักเรียน/ นักศึกษา                     30       2.5
          ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม            21       1.7
          รวม                             1,189       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ