ผู้สูบบุหรี่ 69.6% ยังคงมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่เหมือนเดิมแม้ราคาบุหรี่จะเพิ่มขึ้น ผู้สูบ 75.5% ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นอัตราภาษีของรัฐบาล และ 59.3% มองรัฐบาลเพิ่มภาษีเพราะต้องการหาได้เพิ่มมากกว่าต้องการให้สูบบุหรี่น้อยลง
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้สูบบุหรี่ เรื่อง “พฤติกรรมการสูบและเลือกซื้อบุหรี่หลังรัฐบาลขึ้นอัตราภาษี” โดยเก็บข้อมูลจากผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำทุกวันทั่วประเทศจำนวน 902 คน ผลสำรวจพบว่า
ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำส่วนใหญ่ร้อยละ 66.9 สูบบุหรี่ซองที่ผลิตในประเทศ รองลงมาร้อยละ 23.6 สูบบุหรี่ซองที่ผลิตจากต่างประเทศ และร้อยละ 9.5 สูบบุหรี่มวนเอง
ด้านความคิดเห็นต่อการปรับเพิ่มภาษีบุหรี่จากร้อยละ 87 เป็นร้อยละ 90 พบว่าผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่คิดเป็น ร้อยละ 75.5 ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นอัตราภาษี โดยให้เหตุผลสำคัญว่า ทำให้ราคาบุหรี่สูงเกินไป(ร้อยละ 81.2) รองลงมาเห็นว่า เป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงจุด(ร้อยละ 9.8) และเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับผู้ที่สูบบุหรี่(ร้อยละ 9.0) ในขณะที่ร้อยละ 24.5 เห็นด้วยกับการปรับเพิ่มภาษีบุหรี่ โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า มาตรการนี้สามารถลดปริมาณการสูบบุหรี่ลงได้(ร้อยละ 48.4) รองลงมาช่วยทำให้เลิกสูบบุหรี่ได้(ร้อยละ20.8) และช่วยเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล(ร้อยละ 11.8)
ทั้งนี้ผู้สูบบุหรี่ร้อยละ 59.3 เห็นว่าวัตถุประสงค์หลักของรัฐบาลในการเพิ่มภาษีบุหรี่ คือ การหารายได้เข้ารัฐบาล ขณะที่ร้อยละ 40.7 คิดว่ารัฐบาลต้องการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่
สำหรับพฤติกรรมของผู้สูบบุหรี่หลังการปรับเพิ่มภาษี พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.6 ยังคงสูบเหมือนเดิมในปริมาณเท่าเดิม ส่วนร้อยละ 30.4 มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดลงจากเดิมที่สูบ เฉลี่ย 13 มวนต่อวันลดลงเหลือ 7 มวนต่อวัน หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 46.2 ด้านค่าใช้จ่ายของผู้สูบก่อนรัฐบาลขึ้นภาษีบุหรี่เฉลี่ยอยู่ที่ 253 บาทต่อสัปดาห์ และหลังจากเพิ่มภาษีบุหรี่ ผู้สูบมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเป็น 274 บาทต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.3
ในส่วนของการปรับเปลี่ยนยี่ห้อบุหรี่ภายหลังการปรับเพิ่มภาษีบุหรี่พบว่า ผู้สูบส่วนใหญ่ร้อยละ 66.7 ไม่มีการปรับเปลี่ยนยี่ห้อ/ยังคงสูบยี่ห้อเดิม ขณะที่ร้อยละ 33.3 เปลี่ยนเป็นซื้อยี่ห้อที่มีราคาต่ำกว่า
เมื่อถามว่า “คิดจะเลิกสูบบุหรี่หรือไม่ หลังจากมีการปรับเพิ่มภาษีบุหรี่’’ ร้อยละ 51.7 ระบุว่า “ไม่คิดจะเลิกสูบบุหรี่” ขณะที่ ร้อยละ 48.3 ระบุว่า “คิดจะเลิกสูบบุหรี่” สุดท้ายเมื่อถามถึงผลกระทบของการปรับขึ้นภาษีบุหรี่ที่มีต่อการใช้ชีวิตของผู้สูบ ร้อยละ 37.2 ระบุว่ากระทบในระดับปานกลาง รองลงมาร้อยละ 22.2 กระทบในระดับน้อย และร้อยละ 17.0 กระทบในระดับมาก
มีรายละเอียดดังนี้
- ร้อยละ 66.9 บุหรี่ซองที่ผลิตในประเทศ - ร้อยละ 23.6 บุหรี่ซองที่ผลิตจากต่างประเทศ - ร้อยละ 9.5 บุหรี่มวนเอง 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มภาษีบุหรี่จาก 87% เป็น 90% ของรัฐบาล - ร้อยละ 75.5 ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า... ทำให้บุหรี่มีราคาแพงเกินไป ร้อยละ 81.2 รัฐบาลแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด ร้อยละ 9.8 ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ร้อยละ 9.0 - ร้อยละ 24.5 เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า... จะทำให้สูบบุหรี่ลดลง ร้อยละ 48.4 ช่วยทำให้เลิกสูบบุหรี่ได้ ร้อยละ 20.8 ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล ร้อยละ 11.8 อื่นๆ เช่น เป็นการทำลายสุขภาพ เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย ร้อยละ 19.0 3. ความคิดเห็นต่อวัตถุประสงค์หลักของรัฐบาลในการเพิ่มภาษีบุหรี่ - ร้อยละ 59.3 เพื่อหารายได้เข้ารัฐบาล - ร้อยละ 40.7 เพื่อต้องการให้คนสูบบุหรี่ลดลง 4. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ภายหลังการปรับเพิ่มภาษีและทำให้ราคาบุหรี่สูงขึ้น - ร้อยละ 69.6 ไม่เปลี่ยนแปลง/สูบเหมือนเดิม - ร้อยละ 30.4 สูบน้อยลง (โดยก่อนปรับเพิ่มภาษีบุหรี่สูบเฉลี่ย 13 มวนต่อวัน ลดลงเหลือ 7 มวนต่อวัน หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 46.2) 5. พฤติกรรมการเลือกซื้อบุหรี่ภายหลังการปรับเพิ่มภาษีและทำให้ราคาบุหรี่สูงขึ้น - ร้อยละ 66.7 ซื้อเหมือนเดิม/ไม่เปลี่ยนยี่ห้อ - ร้อยละ 33.3 เปลี่ยนไปซื้อยี่ห้อที่มีราคาต่ำกว่า 6. ค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่ต่อสัปดาห์ - ค่าใช้จ่ายก่อนปรับเพิ่มภาษีบุหรี่เฉลี่ยอยู่ที่ 253 บาทต่อสัปดาห์ - ค่าใช้จ่ายหลังปรับเพิ่มภาษีบุหรี่เฉลี่ยอยู่ที่ 274 บาทต่อสัปดาห์ โดยผู้สูบบุหรี่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 21 บาทต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.3 7. ความคิดเห็นต่อคำถาม “คิดจะเลิกสูบบุหรี่หรือไม่ หลังจากมีการปรับเพิ่มภาษีบุหรี่’’ - ร้อยละ 51.7 คิดว่าจะไม่เลิกสูบบุหรี่ - ร้อยละ 48.3 คิดจะเลิกสูบบุหรี่ 8. ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหลังจากมีการปรับขึ้นภาษีบุหรี่ - ร้อยละ 9.4 มากที่สุด - ร้อยละ 17.0 มาก - ร้อยละ 37.2 ปานกลาง - ร้อยละ 22.2 น้อย - ร้อยละ 14.2 น้อยที่สุด
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
1. เพื่อทราบความคิดเห็นของกลุ่มผู้สูบบุหรี่ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับนโยบายปรับเพิ่มอัตราภาษีบุหรี่
2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่หลังจากปรับขึ้นอัตราภาษีบุหรี่
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากผู้สูบบุหรี่เป็นประจำทั่วประเทศและครอบคลุมพื้นที่ทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาล และมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 902 คน เป็นเพศชายร้อยละ 92.7 และเพศหญิงร้อยละ 7.3
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?4 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Ended) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 20 – 23 กุมภาพันธ์ 2559 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 27 กุมภาพันธ์ 2559
ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 836 92.7 หญิง 66 7.3 รวม 902 100 อายุ 15 - 24 ปี 244 27 25 - 40 ปี 254 28.2 41 - 60 ปี 255 28.3 60 ปีขึ้นไป 149 16.5 รวม 902 100 อาชีพ พนักงานรัฐบาล 67 7.4 พนักงานเอกชน 197 21.8 ค้าขาย/รับจ้างทั่วไป/เกษตรกร 430 47.7 เจ้าของกิจการ/นายจ้าง 32 3.6 นักเรียน/นักศึกษา 97 10.7 อื่นๆ เช่น ว่างงาน 79 8.8 รวม 902 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--