วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :
การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนใน กทม. ว่าคิดอย่างไรถ้า พรรค
ชาติพัฒนารวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย หรือเข้าร่วมรัฐบาล ตลอดจนสาเหตุและอุปสรรคของการรวมพรรคการเมืองเข้าด้วยกัน
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง :
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร
เทคนิคการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขตปกครอง
ในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 33 เขต ดังนี้
คลองเตย คลองสามวา คันนายาว จตุจักร จอมทอง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทุ่งครุ ธนบุรี บางกะปิ
บางเขน บางแค บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน พญาไท พระโขนง พระนคร มีนบุรี ยานนาวา
ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว วัฒนา สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม หนอกจอก หนองแขม หลักสี่
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ โดยกำหนดโควต้า ตามกลุ่มอายุ เพศ และอาชีพ ได้ตัวอย่างทั้ง
สิ้นจำนวน 1,318 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) :
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล :
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ประชาชนคิด
อย่างไร ถ้าพรรคชาติพัฒนารวมกับพรรคไทยรักไทยหรือเข้าร่วมรัฐบาล"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :
13 - 14 กรกฎาคม 2544
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
15 กรกฎาคม 2544
สำรวจโดย :
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สรุปผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพ
มหานคร จำนวน 1,318 คน เป็นชายร้อยละ 52.1 เป็นหญิงร้อยละ 47.9 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 74.5 มีการศึกษาต่ำ
กว่าปริญญาตรี ที่เหลือร้อยละ 24.7 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบอาชีพ รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานบริษัทเอกชน เจ้าของกิจการ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย นักศึกษา และแม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าพรรคชาติพัฒนาจะรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.9 ระบุว่าเห็นด้วย
ร้อยละ 31.3 ระบุว่าไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 19.7 ไม่มีความเห็น
3. สำหรับคำถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมรัฐบาล
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 49.0 ระบุว่าเห็นด้วย
ร้อยละ 31.5 ระบุว่าไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 19.5 ไม่มีความเห็น
4. เมื่อถามว่าอะไรเป็นสาเหตุที่พรรคการเมืองพยายามรวมเข้าด้วยกัน กลุ่มตัวอย่างให้เหตุผลเรียงตามลำดับคือ
ร้อยละ 66.6 ระบุว่าต้องการเป็นพรรคเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
ร้อยละ 49.2 ระบุว่าต้องการเป็นฝ่ายรัฐบาลให้นานที่สุด
ร้อยละ 48.1 ระบุว่าต้องการคานอำนาจของกลุ่มต่าง ๆ ภายในพรรค
ร้อยละ 27.6. ระบุว่าต้องการให้พรรคการเมืองเหลือน้อยลง
และร้อยละ 27.2 ระบุว่าต้องการโดดเดี่ยวพรรคประชาธิปัตย์
5. ส่วนอุปสรรคสำคัญของการรวมพรรคการเมืองนั้น
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 68.1 ระบุว่านโยบายพรรคไม่เหมือนกัน
ร้อยละ 67.5 ระบุว่ามาจากการจัดสรรตำแหน่งต่าง ๆ ในการรวมพรรค
ร้อยละ 42.7 ระบุว่าเกิดจากการกีดกันของกลุ่มต่าง ๆ ภายในแต่ละพรรค
ร้อยละ 25.1 ระบุว่าเกิดจากการขัดแย้งเรื่องส่วนตัวในอดีต
และร้อยละ 23.1 เกิดจากเขตเลือกตั้งของ ส.ส. แต่ละพรรคทับซ้อนกัน
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 687 52.1
หญิง 631 47.9
อายุ :
18 - 25 ปี 174 13.2
26 - 35 ปี 499 37.9
36 - 45 ปี 502 38.1
มากกว่า 45 ปี 143 10.8
การศึกษา :
ประถมศึกษา 98 7.4
มัธยมศึกษา 208 15.8
ปวช. 322 24.4
ปวส./อนุปริญญา 355 26.9
ปริญญาตรี 292 22.2
สูงกว่าปริญญาตรี 33 2.5
ไม่ระบุ 10 0.8
อาชีพ :
รับราชการ 64 4.9
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 117 8.9
พนักงานเอกชน 339 25.7
เจ้าของกิจการ 99 7.5
รับจ้างทั่วไป 191 14.5
ค้าขาย 237 18
นักศึกษา 116 8.8
แม่บ้าน 113 8.6
อาชีพอื่น ๆ 42 2.2
ตารางที่ 2 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าพรรคชาติพัฒนาจะรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 645 48.9
ไม่เห็นด้วย 413 31.3
ไม่มีความเห็น 260 19.7
ตารางที่ 3 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมรัฐบาล
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 646 49
ไม่เห็นด้วย 415 31.5
ไม่มีความเห็น 257 19.5
ตารางที่ 4 สาเหตุที่พรรคการเมืองพยายามรวมเข้าด้วยกันเป็นเพราะอะไร
จำนวน ร้อยละ
ต้องการเป็นพรรคเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร 878 66.6
ต้องการเป็นฝ่ายรัฐบาลให้นานที่สุด 649 49.2
ต้องการคานอำนาจของกลุ่มต่าง ๆ ภายในพรรค 634 48.1
ให้พรรคการเมืองเหลือน้อยลง 364 27.6
ต้องการโดดเดี่ยวพรรคประชาธิปัตย์ 359 27.2
สาเหตุอื่น ๆ 31 2.4
ตารางที่ 5 อุปสรรคสำคัญของการรวมพรรคการเมืองคืออะไร
จำนวน ร้อยละ
นโยบายพรรคไม่เหมือนกัน 897 68.1
การจัดสรรตำแหน่งต่าง ๆ ในการรวมพรรค 889 67.5
การกีดกันของกลุ่มต่าง ๆ ภายในแต่ละพรรค 563 42.7
การขัดแย้งเรื่องส่วนตัวในอดีต 331 25.1
เขตเลือกตั้งของ ส.ส. แต่ละพรรคทับซ้อนกัน 304 23.1
เหตุผลอื่น ๆ 17 1.3
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนใน กทม. ว่าคิดอย่างไรถ้า พรรค
ชาติพัฒนารวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย หรือเข้าร่วมรัฐบาล ตลอดจนสาเหตุและอุปสรรคของการรวมพรรคการเมืองเข้าด้วยกัน
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง :
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร
เทคนิคการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขตปกครอง
ในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 33 เขต ดังนี้
คลองเตย คลองสามวา คันนายาว จตุจักร จอมทอง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทุ่งครุ ธนบุรี บางกะปิ
บางเขน บางแค บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน พญาไท พระโขนง พระนคร มีนบุรี ยานนาวา
ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว วัฒนา สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม หนอกจอก หนองแขม หลักสี่
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ โดยกำหนดโควต้า ตามกลุ่มอายุ เพศ และอาชีพ ได้ตัวอย่างทั้ง
สิ้นจำนวน 1,318 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) :
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล :
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ประชาชนคิด
อย่างไร ถ้าพรรคชาติพัฒนารวมกับพรรคไทยรักไทยหรือเข้าร่วมรัฐบาล"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :
13 - 14 กรกฎาคม 2544
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
15 กรกฎาคม 2544
สำรวจโดย :
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สรุปผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพ
มหานคร จำนวน 1,318 คน เป็นชายร้อยละ 52.1 เป็นหญิงร้อยละ 47.9 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 74.5 มีการศึกษาต่ำ
กว่าปริญญาตรี ที่เหลือร้อยละ 24.7 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบอาชีพ รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานบริษัทเอกชน เจ้าของกิจการ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย นักศึกษา และแม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าพรรคชาติพัฒนาจะรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.9 ระบุว่าเห็นด้วย
ร้อยละ 31.3 ระบุว่าไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 19.7 ไม่มีความเห็น
3. สำหรับคำถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมรัฐบาล
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 49.0 ระบุว่าเห็นด้วย
ร้อยละ 31.5 ระบุว่าไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 19.5 ไม่มีความเห็น
4. เมื่อถามว่าอะไรเป็นสาเหตุที่พรรคการเมืองพยายามรวมเข้าด้วยกัน กลุ่มตัวอย่างให้เหตุผลเรียงตามลำดับคือ
ร้อยละ 66.6 ระบุว่าต้องการเป็นพรรคเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
ร้อยละ 49.2 ระบุว่าต้องการเป็นฝ่ายรัฐบาลให้นานที่สุด
ร้อยละ 48.1 ระบุว่าต้องการคานอำนาจของกลุ่มต่าง ๆ ภายในพรรค
ร้อยละ 27.6. ระบุว่าต้องการให้พรรคการเมืองเหลือน้อยลง
และร้อยละ 27.2 ระบุว่าต้องการโดดเดี่ยวพรรคประชาธิปัตย์
5. ส่วนอุปสรรคสำคัญของการรวมพรรคการเมืองนั้น
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 68.1 ระบุว่านโยบายพรรคไม่เหมือนกัน
ร้อยละ 67.5 ระบุว่ามาจากการจัดสรรตำแหน่งต่าง ๆ ในการรวมพรรค
ร้อยละ 42.7 ระบุว่าเกิดจากการกีดกันของกลุ่มต่าง ๆ ภายในแต่ละพรรค
ร้อยละ 25.1 ระบุว่าเกิดจากการขัดแย้งเรื่องส่วนตัวในอดีต
และร้อยละ 23.1 เกิดจากเขตเลือกตั้งของ ส.ส. แต่ละพรรคทับซ้อนกัน
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 687 52.1
หญิง 631 47.9
อายุ :
18 - 25 ปี 174 13.2
26 - 35 ปี 499 37.9
36 - 45 ปี 502 38.1
มากกว่า 45 ปี 143 10.8
การศึกษา :
ประถมศึกษา 98 7.4
มัธยมศึกษา 208 15.8
ปวช. 322 24.4
ปวส./อนุปริญญา 355 26.9
ปริญญาตรี 292 22.2
สูงกว่าปริญญาตรี 33 2.5
ไม่ระบุ 10 0.8
อาชีพ :
รับราชการ 64 4.9
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 117 8.9
พนักงานเอกชน 339 25.7
เจ้าของกิจการ 99 7.5
รับจ้างทั่วไป 191 14.5
ค้าขาย 237 18
นักศึกษา 116 8.8
แม่บ้าน 113 8.6
อาชีพอื่น ๆ 42 2.2
ตารางที่ 2 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าพรรคชาติพัฒนาจะรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 645 48.9
ไม่เห็นด้วย 413 31.3
ไม่มีความเห็น 260 19.7
ตารางที่ 3 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมรัฐบาล
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 646 49
ไม่เห็นด้วย 415 31.5
ไม่มีความเห็น 257 19.5
ตารางที่ 4 สาเหตุที่พรรคการเมืองพยายามรวมเข้าด้วยกันเป็นเพราะอะไร
จำนวน ร้อยละ
ต้องการเป็นพรรคเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร 878 66.6
ต้องการเป็นฝ่ายรัฐบาลให้นานที่สุด 649 49.2
ต้องการคานอำนาจของกลุ่มต่าง ๆ ภายในพรรค 634 48.1
ให้พรรคการเมืองเหลือน้อยลง 364 27.6
ต้องการโดดเดี่ยวพรรคประชาธิปัตย์ 359 27.2
สาเหตุอื่น ๆ 31 2.4
ตารางที่ 5 อุปสรรคสำคัญของการรวมพรรคการเมืองคืออะไร
จำนวน ร้อยละ
นโยบายพรรคไม่เหมือนกัน 897 68.1
การจัดสรรตำแหน่งต่าง ๆ ในการรวมพรรค 889 67.5
การกีดกันของกลุ่มต่าง ๆ ภายในแต่ละพรรค 563 42.7
การขัดแย้งเรื่องส่วนตัวในอดีต 331 25.1
เขตเลือกตั้งของ ส.ส. แต่ละพรรคทับซ้อนกัน 304 23.1
เหตุผลอื่น ๆ 17 1.3
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--