กรุงเทพโพลล์: “มุมมองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในสายตาประชาชน”

ข่าวผลสำรวจ Monday March 7, 2016 10:41 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชน 88.7% ทราบข้อมูลร่างรัฐธรรมนูญค่อนข้างน้อย และ 45.8% เชื่อรัฐธรรมนูญมีความเป็นประชาธิปไตย 88.8% เห็นว่ารัฐบาลควรแจ้งล่วงหน้าว่าจะทำอย่างไร หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ 51.8% ไม่เห็นด้วยกับการตั้ง ส.ว. ดูแลยุทธศาสตร์ชาติ ชี้ เสียงหนุน(48.4%) และต้าน(47.6%) ให้ คสช. อยู่ต่อเมื่อมีรัฐบาลใหม่สูสีกัน และ 45.1 % เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “มุมมองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในสายตาประชาชน” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,159 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.7 ทราบข้อมูลร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ค่อนข้างน้อย มีเพียงร้อยละ 11.3 ที่ทราบค่อนข้างมาก

เมื่อถามว่ารัฐบาล คสช. ให้สิทธิเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 44.9 เห็นว่าให้สิทธิเสรีภาพค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ซึ่งมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับร้อยละ 44.7 ที่เห็นว่าให้สิทธิเสรีภาพค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ที่เหลือร้อยละ 10.4 ไม่แน่ใจ

ทั้งนี้เมื่อถามว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ร้อยละ 45.8 เห็นว่ามีความเป็นประชาธิปไตย ขณะที่ร้อยละ 36.1 เห็นว่าไม่ค่อยมีความเป็นประชาธิปไตย และร้อยละ 18.1 ไม่แน่ใจ

ส่วนความเห็นในประเด็น รัฐบาลควรแจ้งล่วงหน้าหรือไม่ว่าจะทำอย่างไร หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ส่วนใหญ่ร้อยละ 88.8 เห็นว่าควรแจ้งล่วงหน้า เพราะประชาชนจะได้รู้ทางออกว่าเป็นอย่างไร มีเพียงร้อยละ 6.8 ที่เห็นว่าไม่ควรแจ้งล่วงหน้า เพราะจะทำให้ประชาชนไขว้เขวและขาดการไตร่ตรองในร่างฯที่จะลงประชามติ ที่เหลือร้อยละ 4.4 ไม่แน่ใจ

ด้านแนวคิดเกี่ยวกับ การกำหนดหน้าที่เพิ่มเติมให้สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ทำหน้าที่ดูแลยุทธศาสตร์ชาติ แทนคณะกรรมการยุทธศาสตร์แห่งชาติ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 51.8 ไม่เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 32.5 เห็นด้วย และร้อยละ 15.7 ไม่แน่ใจ

นอกจากนี้ เมื่อถามว่าหลังจากได้รัฐบาลชุดใหม่แล้ว ควรมี คสช. ปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไปหรือไม่ ร้อยละ 48.4 เห็นว่าควรมี คสช. เพื่อป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับร้อยละ 47.6 ที่เห็นว่า ไม่ควรมี คสช. เพราะควรให้รัฐบาลชุดใหม่ทำงานได้อย่างเต็มที่ ส่วนที่เหลือร้อยละ 4.0 ไม่แน่ใจ

สุดท้ายเมื่อถามว่าหากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ จะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 45.1 ระบุว่า “เห็นชอบ” ขณะที่ร้อยละ 16.0 ระบุว่า “ไม่เห็นชอบ” และมีถึงร้อยละ 27.9 ระบุว่า “งดออกเสียง” ส่วนที่เหลือร้อยละ 11.0 ไม่แน่ใจ

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. การรับทราบข้อมูลในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ทราบค่อนข้างน้อย                                                ร้อยละ          88.7
ทราบค่อนข้างมาก                                                ร้อยละ          11.3

2. ข้อคำถาม “คิดว่ารัฐบาล คสช. ให้สิทธิเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ ร่างรัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงใด”
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 40.1 และมากที่สุดร้อยละ 4.8)            ร้อยละ          44.9
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 34.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 10.2)           ร้อยละ          44.7
ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ          10.4

3.  ข้อคำถาม “คิดว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่”
มีความเป็นประชาธิปไตย                                           ร้อยละ          45.8
ไม่ค่อยมีความเป็นประชาธิปไตย                                      ร้อยละ          36.1
ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ          18.1

4. ข้อคำถาม “คิดว่ารัฐบาลควรแจ้งล่วงหน้าหรือไม่ว่าจะทำอย่างไร  หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ”
ควรแจ้งล่วงหน้า เพราะประชาชนจะได้รู้ทางออกว่าเป็นอย่างไร              ร้อยละ          88.8
ไม่ควรแจ้งล่วงหน้า เพราะจะทำให้ประชาชนไขว้เขวและขาดการไตร่ตรอง      ร้อยละ           6.8
ในร่างฯที่จะลงประชามติ
ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ           4.4

5.  ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่  หากกำหนดหน้าที่เพิ่มเติมให้สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ทำหน้าที่ดูแลยุทธศาสตร์ชาติ แทนคณะกรรมการยุทธศาสตร์แห่งชาติ”
เห็นด้วย                                                       ร้อยละ          32.5
ไม่เห็นด้วย                                                     ร้อยละ          51.8
ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ          15.7

6. ข้อคำถาม “คิดว่าภายหลังได้รัฐบาลชุดใหม่แล้ว    ควรมี คสช. ปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไปหรือไม่”
ควรมี คสช. เพื่อป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นอีก                       ร้อยละ          48.4
ไม่ควรมี คสช. เพราะควรให้รัฐบาลชุดใหม่ทำงานได้อย่างเต็มที่              ร้อยละ          47.6
ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ           4.0

7. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ท่านจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่”
เห็นชอบ                                                       ร้อยละ          45.1
ไม่เห็นชอบ                                                     ร้อยละ          16.0
งดออกเสียง                                                    ร้อยละ          27.9
ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ          11.0

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1) เพื่อสะท้อนความเห็นที่มีต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

2) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ คสช. หลังจากได้รัฐบาลชุดใหม่แล้ว

3) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการเพิ่มหน้าที่ให้ ส.ว. ดูแลยุทธศาสตร์แห่งชาติ แทนคณะกรรมการยุทธศาสตร์

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  1-3 มีนาคม 2559

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  5 มีนาคม 2559

ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                           623      53.8
          หญิง                                           536      46.2
          รวม                                         1,159       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                                   188      16.2
          31 ปี – 40 ปี                                   262      22.6
          41 ปี – 50 ปี                                   297      25.6
          51 ปี - 60 ปี                                   285      24.6
          61 ปี ขึ้นไป                                     127        11
          รวม                                         1,159       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                                  734      63.3
          ปริญญาตรี                                       330      28.5
          สูงกว่าปริญญาตรี                                   95       8.2
          รวม                                         1,159       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                                    182      15.7
          ลูกจ้างเอกชน                                    292      25.2
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร                    448      38.7
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                            37       3.2
          ทำงานให้ครอบครัว                                  2       0.2
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ                        136      11.7
          นักเรียน/ นักศึกษา                                 42       3.6
          ว่างงาน/ รวมกลุ่ม                                 20       1.7
          รวม                                         1,159       100
ภูมิภาค
          กรุงเทพมหานครและปริมณฑล                         245      21.1
          ภาคกลาง                                       221      19.1
          ภาคตะวันออก                                    120      10.4
          ภาคเหนือ                                       168      14.5
          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                            258      22.2
          ภาคใต้                                         147      12.7
          รวม                                         1,159       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ