ประชาชน 56.6% ไม่ทราบว่าร่างรัฐธรรมนูญ ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว 75.0% จะศึกษาร่างรัฐธรรมนูญก่อนไปลงประชามติ และ 58.4% ตั้งใจว่าจะไปออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ 77.3% เห็นด้วยกับหลักสูตรปรับทัศนคติทางการเมือง
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเห็นของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,198 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 56.6 ไม่ทราบว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 29 มี.ค. ที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 43.4 ระบุว่า “ทราบ”
เมื่อถามว่าจะศึกษาร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนไปออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.0 ระบุว่า “จะศึกษา” โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 39.1 จะศึกษาด้วยตัวเอง จากเนื้อหาสรุปร่างรัฐธรรมนูญ ที่ กกต. จะแจกจ่ายให้ ส่วนร้อยละ 35.9 จะศึกษาโดยฟังการชี้แจงข้อดี-ข้อเสีย จากนักวิชาการ นักการเมือง หรือ กรธ. ขณะที่ร้อยละ 10.3 จะไม่ศึกษา เพราะเห็นว่า กรธ. คงร่างรัฐธรรมนูญมาดีแล้ว และร้อยละ 14.7 ไม่แน่ใจ
สำหรับความตั้งใจจะไปลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าน่าจะเป็นวันที่ 7 ส.ค. 59 พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 58.4 ตั้งใจว่าจะไป ขณะที่ร้อยละ 19.1 ตั้งใจว่าจะไม่ไป ส่วนที่เหลือร้อยละ 22.5 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามว่า “หากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ท่านจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่” ร้อยละ 34.5 ระบุว่า “เห็นชอบ” (ลดลงจากสำรวจครั้งก่อน ร้อยละ 10.6) ขณะที่ร้อยละ 8.0 ไม่เห็นชอบ (ลดลงร้อยละ 8.0) และร้อยละ 21.0 งดออกเสียง (ลดลงร้อยละ 6.9) ส่วนที่เหลือร้อยละ 36.5 ไม่แน่ใจ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5)
นอกจากนี้เมื่อถามว่า “หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติ คิดว่าทางออกของปัญหาดังกล่าวควรดำเนินการอย่างไร” ร้อยละ 33.3 ให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ของ คสช. ขณะที่ร้อยละ 18.4 ให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี 2540 และร้อยละ 17.0 ให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ส่วนที่เหลือร้อยละ 31.3 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามว่า“เห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิดการเปิดหลักสูตรอบรม ปรับทัศนคติทางการเมือง ที่จะอบรมเรื่องการเมือง ธรรมาภิบาล ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม แก่ทุกกลุ่ม ทั้งนักการเมือง ประชาชน และสื่อมวลชน” ส่วนใหญ่ร้อยละ 77.3 เห็นด้วยกับการเปิดหลักสูตรอบรม ปรับทัศนคติทางการเมือง ขณะที่ร้อยละ 14.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 8.1 ยังไม่แน่ใจ
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
ทราบ ร้อยละ 43.4 ไม่ทราบ ร้อยละ 56.6 2. การศึกษาร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนไปออกเสียงลงประชามติ จะศึกษา โดย ร้อยละ 39.1 จะศึกษาด้วยตัวเอง จากเนื้อหาสรุปร่างรัฐธรรมนูญ ที่ กกต. จะแจกจ่ายให้ ร้อยละ 35.9 จะศึกษาโดยฟังการชี้แจงข้อดี-ข้อเสีย จากนักวิชาการ นักการเมือง หรือ กรธ. ร้อยละ 75.0 จะไม่ศึกษา เพราะเห็นว่า กรธ. คงร่างรัฐธรรมนูญมาดีแล้ว ร้อยละ 10.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 14.7 3. ความตั้งใจ จะไปออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าน่าจะเป็นวันที่ 7 ส.ค. 59 ตั้งใจว่าจะไป ร้อยละ 58.4 ตั้งใจว่าจะไม่ไป ร้อยละ 19.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 22.5 4. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ท่านจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่” สำรวจเมื่อ1-3 มี.ค. 59 สำรวจเมื่อ 30-31 มี.ค. 59 เพิ่มขึ้น / ลดลง (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) เห็นชอบ 45.1 34.5 -10.6 ไม่เห็นชอบ 16.0 8.0 -8.0 งดออกเสียง 27.9 21.0 -6.9 ไม่แน่ใจ 11.0 36.5 +25.5 5. ข้อคำถาม “หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติ คิดว่าทางออกของปัญหาดังกล่าวควรดำเนินการอย่างไร” กลับไปใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ของ คสช. ร้อยละ 33.3 กลับไปใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี 2540 ร้อยละ 18.4 กลับไปใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี 2550 ร้อยละ 17.0 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 31.3 6. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิดการเปิดหลักสูตรอบรม ปรับทัศนคติทางการเมือง ที่จะอบรมเรื่องการเมือง ธรรมาภิบาล ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม แก่ทุกกลุ่มทั้งนักการเมือง ประชาชน และสื่อมวลชน” เห็นด้วย ร้อยละ 77.3 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 14.6 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 8.1
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนความเห็นที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ในประเด็นที่เกี่ยวกับการรับทราบ การศึกษาร่างรัฐธรรมนูญก่อนไปลงประชามติ และความตั้งใจที่จะไปออกเสียงลงประชามติ
2) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อทางออก หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงประชามติ
3) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อแนวคิดการเปิดหลักสูตรอบรมปรับทัศนคติทางการเมือง
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 30-31 มีนาคม 2559 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 2 เมษายน 2559
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 625 52.2 หญิง 573 47.8 รวม 1,198 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 165 13.8 31 ปี – 40 ปี 259 21.6 41 ปี – 50 ปี 335 28 51 ปี - 60 ปี 274 22.8 61 ปี ขึ้นไป 165 13.8 รวม 1,198 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 763 63.7 ปริญญาตรี 346 28.9 สูงกว่าปริญญาตรี 89 7.4 รวม 1,198 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 165 13.8 ลูกจ้างเอกชน 274 22.9 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 502 41.9 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 48 4 ทำงานให้ครอบครัว 2 0.2 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 153 12.8 นักเรียน/ นักศึกษา 29 2.4 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 25 2 รวม 1,198 100 ภูมิภาค กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 231 19.3 ภาคกลาง 215 17.9 ภาคตะวันออก 99 8.3 ภาคเหนือ 197 16.4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 258 21.6 ภาคใต้ 198 16.5 รวม 1,198 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--