ประชาชน 53.7% ระบุ ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 89.7% ระบุหากไม่สามารถแก้ปัญหาได้จะส่งผลกระทบต่อการคิดค้นสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ 57.4% พอใจการแก้ปัญหาของรัฐบาล และ 78.4 % เห็นด้วยกับมาตรการเอาผิดผู้ซื้อ 55.4% ของผู้ที่เคยซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ บอกปัจจุบันเลิกซื้อแล้วเพราะคุณภาพไม่ดี ใช้แล้วไม่สบายใจ
เนื่องด้วยวันที่ 26 เมษายนของทุกปี เป็นวันทรัพย์สินทางปัญญาโลก กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาในสายตาประชาชน” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,178 คน พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.7 เห็นว่าปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทยในปัจจุบัน มีเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม รองลงมาร้อยละ 16.6 เห็นว่ามีเท่าเดิม และมีเพียงร้อยละ 12.3 เท่านั้นที่เห็นว่าลดลงกว่าเดิม
ส่วนสาเหตุหลักที่ประเทศไทยยังคงมีปัญหาดังกล่าวอยู่นั้น ประชาชนร้อยละ 41.4 ระบุว่า “สินค้าถูกลิขสิทธิ์มีราคาแพงเกินไป” รองลงมาร้อยละ 20.5 ระบุว่า “คนไทยขาดจิตสำนึกเรื่องการเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น” และร้อยละ 19.3 ระบุว่า “เจ้าหน้าที่รัฐปล่อยปละละเลยหรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง” โดยแนวทางในการแก้ปัญหาที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด คือ ลดราคาสินค้าที่ถูกลิขสิทธิ์ลง (ร้อยละ 28.4) รองลงมาคือ ปลูกจิตสำนึกให้ละอายต่อการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง (ร้อยละ 22.8) และเพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงขึ้น (ร้อยละ 15.5)
ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 89.7 ระบุว่าหากไม่สามารถแก้ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาได้ จะส่งผลกระทบต่อแรงบันดาลใจในการคิดค้น สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ มากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 10.3 ระบุว่า จะส่งผลกระทบค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
สำหรับความพึงพอใจต่อการเร่งปราบปรามและแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของรัฐบาลชุดปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 57.4 พอใจ ขณะที่ร้อยละ 42.6 ไม่ค่อยพอใจ
เมื่อถามถึงการออกกมาตรการเพื่อเอาผิดกับผู้ซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 78.4 เห็นด้วย โดยระบุว่า เห็นด้วยกับสินค้าทุกประเภทที่ละเมิดลิขสิทธิ์ (ร้อยละ 58.6) เห็นด้วยเฉพาะสินค้าแบรนด์เนม (ร้อยละ 10.4) และ เห็นด้วยเฉพาะสินค้าประเภทซีดี/ดีวีดีเพลงและภาพยนตร์ (ร้อยละ 9.4)
ส่วนพฤติกรรมการซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ประชาชนร้อยละ 63.0 ระบุว่าเคยซื้อ( โดยส่วนใหญ่เคยซื้อสินค้าประเภท ซีดีเพลง/ภาพยนตร์ รองลงมาเคยซื้อกระเป๋า รองเท้า และเสื้อผ้า) ขณะที่ร้อยละ 37.0 ระบุว่าไม่เคยซื้อ (โดยให้เหตุผลว่า ไม่ชอบ ผิดกฎหมาย เห็นใจผู้ที่เป็นเจ้าของผลงาน)
อย่างไรก็ดีประชาชนที่ระบุว่าเคยซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.4 ระบุว่าปัจจุบันไม่ได้ซื้อแล้ว (โดยให้เหตุผลว่า คุณภาพไม่ดี ใช้แล้วไม่สบายใจ ฯลฯ) ขณะที่ร้อยละ 44.6 ระบุว่าปัจจุบันยังซื้ออยู่ (โดยให้เหตุผลว่า ราคาถูก หาซื้อง่าย มีงบประมาณจำกัด ฯลฯ)
โดยมีรายระเอียดดังต่อไปนี้
มีเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ร้อยละ 53.7 มีเท่าเดิม ร้อยละ 16.6 ลดลงจากเดิม ร้อยละ 12.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 17.4 2. สาเหตุหลักที่ประเทศไทยยังคงมีปัญหาเรื่องสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ สินค้าถูกลิขสิทธิ์มีราคาแพงเกินไป ร้อยละ 41.4 คนไทยขาดจิตสำนึกเรื่องการเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น ร้อยละ 20.5 เจ้าหน้าที่รัฐปล่อยปละละเลยหรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ร้อยละ 19.3 คนไทยขาดความรู้ความเข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของเรื่องดังกล่าว ร้อยละ 9.3 กฎหมายมีช่องโหว่ ร้อยละ 8.9 อื่นๆ อาทิ คนขายอยากได้กำไรเยอะ ยังมีคนชอบโชว์ว่าใช้ของแบรนด์เนม ร้อยละ 0.6 3. แนวทางการแก้ปัญหาที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมที่สุด ลดราคาสินค้าที่ถูกลิขสิทธิ์ลง ร้อยละ 28.4 ปลูกจิตสำนึกให้ละอายต่อการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 22.8 เพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงขึ้น ร้อยละ 15.5 ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยและครอบคลุมมากขึ้น ร้อยละ 13.8 ปรับปรุงกระบวนการดำเนินคดีให้กระชับรวดเร็วขึ้น ร้อยละ 8.0 มีมาตรการลงโทษสำหรับผู้ซื้อ/ผู้ใช้ ร้อยละ 6.7 สนับสนุนการใช้สินค้า OTOP ร้อยละ 4.8 4. หากไม่สามารถแก้ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาได้ จะส่งผลกระทบต่อแรงบันดาลใจในการคิดค้น สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ เพียงใด ส่งผลกระทบค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 89.7 ส่งผลกระทบค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 10.3 5. ความพึงพอใจต่อการเร่งปราบปรามและแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์/ทรัพย์สินทางปัญญาของรัฐบาลชุดปัจจุบัน พอใจ ร้อยละ 57.4 ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 42.6 6. ความเห็นต่อการออกมาตรการเพื่อเอาผิดกับผู้ซื้อและผู้ใช้สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 21.6 เห็นด้วย ร้อยละ 78.4 โดย..... - เห็นด้วยกับสินค้าทุกประเภทที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ร้อยละ 58.6 - เห็นด้วยเฉพาะสินค้าแบรนด์เนม ร้อยละ 10.4 - เห็นด้วยเฉพาะสินค้าประเภทซีดี/ดีวีดีเพลงและภาพยนตร์ ร้อยละ 9.4 7. พฤติกรรมการซื้อสินค้าลอกเลียนแบบหรือสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่เคยซื้อหรือใช้ ร้อยละ 37.0 (โดยให้เหตุผลว่า คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ไม่ชอบ ผิดกฎหมาย เห็นใจผู้ที่เป็นเจ้าของผลงาน ฯลฯ) เคยซื้อหรือใช้ ร้อยละ 63.0 โดยในจำนวนนี้ระบุว่าสินค้าที่เคยซื้อหรือใช้ ได้แก่ - ซีดี ดีวีดีเพลงและภาพยนตร์ ร้อยละ 25.7 - กระเป๋า รองเท้า แว่นตา นาฬิกา ร้อยละ 19.6 - เสื้อผ้า ร้อยละ 16.1 - อื่นๆ อาทิ เครื่องสำอาง ฯลฯ ร้อยละ 1.6 8. ปัจจุบันยังซื้อสินค้าลอกเลียนแบบ หรือสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์อยู่หรือไม่ ไม่ได้ซื้อแล้ว ร้อยละ 55.4
(โดยให้เหตุผลว่า คุณภาพไม่ดี ใช้แล้วไม่สบายใจ ผิดกฎหมาย โหลดทางอินเทอร์เนตแทน ฯลฯ)
ยังซื้ออยู่ ร้อยละ 44.6
(โดยให้เหตุผลว่า ราคาถูก หาซื้อง่าย มีงบประมาณจำกัด ฯลฯ)
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทยในประเด็นต่างๆ และแนวทางแก้ปัญหา รวมถึงพฤติกรรมในการใช้สินค้าลอกเลียนแบบของประชาชน ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองของความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยแบ่งเป็นเขตการปกครองชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน ได้แก่ คลองเตย ดินแดง ดุสิต ทุ่งครุ บางเขน บางซื่อ บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สวนหลวงและสาทร และปริมณฑลได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Ended) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 22 - 24 เมษายน 2559 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 26 เมษายน 2559
ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 599 50.8 หญิง 579 49.2 รวม 1,178 100 อายุ 18 - 30 ปี 290 24.6 31 - 40 ปี 234 19.9 41 - 50 ปี 245 20.8 51 – 60 ปี 238 20.2 61 ปีขึ้นไป 171 14.5 รวม 1,178 100 การศึกษาปัจจุบัน ต่ำกว่าปริญญาตรี 701 59.5 ปริญญาตรี 411 34.9 สูงกว่าปริญญาตรี 66 5.6 รวม 1,178 100 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 156 13.3 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 361 30.6 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 331 28.1 เจ้าของกิจการ 41 3.5 ทำงานให้ครอบครัว 9 0.8 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 166 14.1 นักเรียน/นักศึกษา 82 7 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 32 2.6 รวม 1,178 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--