แท็ก
กรุงเทพโพลล์
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :
การสำรวจครั้งนี้ต้องการสอบถามความเห็นของผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับชุดนักเรียนมีราคาแพงว่ารัฐบาลควร
ควบคุมราคาหรือไม่ จำนวนเงินที่ผู้ปกครองเตรียมใช้จ่ายเป็นค่าเครื่องแบบนักเรียนต่อคนประมาณเท่าไร และความเห็น
เกี่ยวกับการยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง :
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนที่มีบุตรหรือผู้อุปการะกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล ประถมศึกษา หรือ
มัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,287 คน โดยกระจายไปตามเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร จำนวน 32
เขต คือ คลองเตย คลองสาน คลองสามวา จอมทอง ดอนเมือง ดุสิต ตลิ่งชัน ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ
บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางแค บางซื่อ บางนา บางรัก บึงกุ่ม ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท
พระโขนง ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง หนองแขม
ห้วยขวาง
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) :
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล :
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ผู้ปกครองคิด
อย่างไรกับชุดนักเรียนราคาแพง เลิกแต่งเครื่องแบบดีไหม"
ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นในหัวข้อที่สำรวจ
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :
5-7 พฤษภาคม 2544
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
8 พฤษภาคม 2544
สำรวจโดย :
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สรุปผลการสำรวจ
1. การสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจภาคสนาม สอบถามจากผู้ปกครองที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีบุตร
หรือผู้อุปการะกำลังเรียนอยู่ในระดับอนุบาล ประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา จำนวน 1,287 คน ประกอบอาชีพ
ร้อยละ 5.9 รับราชการ
ร้อยละ 8.1 เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 27.8 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.4 เป็นเจ้าของกิจการ
ร้อยละ 14.1 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.9 ค้าขาย
และร้อยละ 12.2 เป็นแม่บ้าน
2. เมื่อสอบถามผู้ปกครองว่า เปิดภาคเรียนปีนี้ต้องซื้อเครื่องแบบนักเรียนชุดใหม่หรือไม่
ร้อยละ 76.3 ตอบว่าต้องซื้อ
ร้อยละ 23.7 ไม่ต้องซื้อ
สำหรับราคาเครื่องแบบนักเรียนเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 80.1 ระบุว่าแพงกว่า
ร้อยละ 17.6 ระบุว่าราคาเท่าเดิม
มีเพียงร้อยละ 2.3 ที่ระบุว่าถูกกว่า
3. เมื่อถามความเห็นว่า รัฐบาลควรควบคุมราคาเครื่องแบบนักเรียนหรือไม่นั้น
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 88.4 เห็นว่าควรควบคุม
มีเพียงร้อยละ 3.3 เห็นว่าไม่ควรควบ
และร้อยละ 8.3 ไม่มีความเห็น
4. สำหรับจำนวนเงินที่ผู้ปกครองต้องเตรียมไว้เพื่อซื้อชุดนักเรียนต่อคนนั้น กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 13.7 ระบุว่าใช้น้อยกว่า 1,000 บาท
ร้อยละ 46.3 ระบุว่าใช้ 1,000 - 1,500 บาท
ร้อยละ 27.4 ระบุว่าใช้ 1,500 - 2,000 บาท
และร้อยละ 12.6 ระบุว่าใช้มากกว่า 2,000 บาท
5. เมื่อถามว่า เห็นด้วยหรือไม่ถ้าจะยกเลิกไม่ต้องเครื่องแบบนักเรียน
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 82.4 ระบุว่าไม่เห็นด้วย
ร้อยละ 13.9 ระบุว่าเห็นด้วย
และร้อยละ 3.7 ไม่มีความเห็น
6. เหตุผลสำคัญที่กลุ่มตัวอย่างไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน คือ
ร้อยละ 75.9 ระบุว่าฝึกให้มีระเบียบวินัย
ร้อยละ 59.8 ระบุว่าไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะของนักเรียน
ร้อยละ 52.9 ระบุว่าการแต่งเครื่องแบบนักเรียนประหยัดกว่า
ร้อยละ 47.9 ระบุว่าไม่ต้องแข่งกันแต่งตัว
และร้อยละ 34.0 ระบุว่าช่วยสร้างความสามัคคีในโรงเรียน
7. ส่วนเหตุผลของผู้เห็นด้วยควรยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน คือ
ร้อยละ 83.8 ระบุว่าประหยัด ไม่ต้องซื้อเครื่องแบบนักเรียน
ร้อยละ 62.0 ระบุว่าสามารถใช้เสื้อผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ร้อยละ 36.3 ระบุว่ามีเสรีภาพในการแต่งกายมากขึ้น
ร้อยละ 34.6 ช่วยลดการทะเลาะวิวาทระหว่างโรงเรียน
ร้อยละ 30.7 ระบุว่าช่วยตัดปัญหาการแต่งกายผิดระเบียบโรงเรียน
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 386 30
หญิง 901 70
อายุ :
18 - 25 69 5.4
26 - 35 347 27
36 - 45 624 48.5
มากกว่า 45 ปี 243 18.9
ไม่ระบุ 4 0.3
การศึกษา :
ประถมศึกษา 173 13.4
มัธยมศึกษา 245 19
ปวช. 165 12.8
ปวส./อนุปริญญา 195 15.2
ปริญญาตรี 405 31.5
สูงกว่าปริญญาตรี 96 7.5
ไม่ระบุ 8 0.6
อาชีพ :
รับราชการ 76 5.9
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 104 8.1
พนักงานเอกชน 358 27.8
เจ้าของกิจการ 121 9.4
รับจ้างทั่วไป 181 14.1
ค้าขาย 256 19.9
แม่บ้าน 157 12.2
อาชีพอื่น ๆ 34 2.6
ตารางที่ 2 เปิดภาคเรียนปีนี้ บุตรหรือผู้ที่อยู่ในความอุปการะของท่านต้องซื้อเครื่องแบบนักเรียนใหม่หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ต้องซื้อ 982 76.3
ไมต้องซื้อ 305 23.7
ตารางที่ 3 ราคาเครื่องแบบนักเรียนปีนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว
จำนวน ร้อยละ
ราคาแพงกว่า 1,031 80.1
ราคาเท่าเดิม 227 17.6
ราคาถูกกว่า 29 2.3
ตารางที่ 4 ท่านคิดว่ารัฐบาลควรควบคุมราคาเครื่องแบบนักเรียนหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควรควบคุม 1,138 88.4
ไม่ควรควบคุม 42 3.3
ไม่มีความเห็น 107 8.3
ตารางที่ 5 จำนวนเงินที่เตรียมไว้ซื้อชุดนักเรียนต่อคน
ประมาณจำนวนเงินต่อคน จำนวน ร้อยละ
น้อยกว่า 1,000 บาท 134 13.7
1,000 - 1,500 บาท 452 46.3
1,500 - 2,000 บาท 267 27.4
มากกว่า 2,000 บาท 123 12.6
ตารางที่ 6 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าจะยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 179 13.9
ไม่เห็นด้วย 1,060 82.4
ไม่มีความเห็น 48 3.7
ตารางที่ 7 เหตุผลที่ไม่เห็นด้วย ว่าควรยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน
เหตุผล ร้อยละ
1 ฝึกการมีระเบียบวินัย 75.9
2 ไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะของนักเรียน 59.8
3 แต่งเครื่องแบบนักเรียนประหยัดกว่า 52.9
4 ไม่ต้องแข่งกันแต่งตัว 47.9
5 ช่วยสร้างความสามัคคีในโรงเรียน 34
6 อื่น ๆ 6.5
ตารางที่ 8 เหตุผลที่เห็นด้วย ว่าควรยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน
เหตุผล ร้อยละ
1 ประหยัด ไม่ต้องซื้อเครื่องแบบ 83.8
2 ใช้เสื้อผ้าที่ใส่ในชีวิตประจำวันได้ 62
3 มีเสรีภาพในการแต่งกายมากขึ้น 36.3
4 ลดการทะเลาะวิวาทระหว่างโรงเรียน 34.6
5 ตัดปัญหาการแต่งกายผิดระเบียบโรงเรียน 30.7
6 อื่น ๆ 10.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
การสำรวจครั้งนี้ต้องการสอบถามความเห็นของผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับชุดนักเรียนมีราคาแพงว่ารัฐบาลควร
ควบคุมราคาหรือไม่ จำนวนเงินที่ผู้ปกครองเตรียมใช้จ่ายเป็นค่าเครื่องแบบนักเรียนต่อคนประมาณเท่าไร และความเห็น
เกี่ยวกับการยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง :
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนที่มีบุตรหรือผู้อุปการะกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล ประถมศึกษา หรือ
มัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,287 คน โดยกระจายไปตามเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร จำนวน 32
เขต คือ คลองเตย คลองสาน คลองสามวา จอมทอง ดอนเมือง ดุสิต ตลิ่งชัน ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ
บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางแค บางซื่อ บางนา บางรัก บึงกุ่ม ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท
พระโขนง ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง หนองแขม
ห้วยขวาง
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) :
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล :
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ผู้ปกครองคิด
อย่างไรกับชุดนักเรียนราคาแพง เลิกแต่งเครื่องแบบดีไหม"
ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นในหัวข้อที่สำรวจ
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :
5-7 พฤษภาคม 2544
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
8 พฤษภาคม 2544
สำรวจโดย :
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สรุปผลการสำรวจ
1. การสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจภาคสนาม สอบถามจากผู้ปกครองที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีบุตร
หรือผู้อุปการะกำลังเรียนอยู่ในระดับอนุบาล ประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา จำนวน 1,287 คน ประกอบอาชีพ
ร้อยละ 5.9 รับราชการ
ร้อยละ 8.1 เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 27.8 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.4 เป็นเจ้าของกิจการ
ร้อยละ 14.1 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 19.9 ค้าขาย
และร้อยละ 12.2 เป็นแม่บ้าน
2. เมื่อสอบถามผู้ปกครองว่า เปิดภาคเรียนปีนี้ต้องซื้อเครื่องแบบนักเรียนชุดใหม่หรือไม่
ร้อยละ 76.3 ตอบว่าต้องซื้อ
ร้อยละ 23.7 ไม่ต้องซื้อ
สำหรับราคาเครื่องแบบนักเรียนเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 80.1 ระบุว่าแพงกว่า
ร้อยละ 17.6 ระบุว่าราคาเท่าเดิม
มีเพียงร้อยละ 2.3 ที่ระบุว่าถูกกว่า
3. เมื่อถามความเห็นว่า รัฐบาลควรควบคุมราคาเครื่องแบบนักเรียนหรือไม่นั้น
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 88.4 เห็นว่าควรควบคุม
มีเพียงร้อยละ 3.3 เห็นว่าไม่ควรควบ
และร้อยละ 8.3 ไม่มีความเห็น
4. สำหรับจำนวนเงินที่ผู้ปกครองต้องเตรียมไว้เพื่อซื้อชุดนักเรียนต่อคนนั้น กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 13.7 ระบุว่าใช้น้อยกว่า 1,000 บาท
ร้อยละ 46.3 ระบุว่าใช้ 1,000 - 1,500 บาท
ร้อยละ 27.4 ระบุว่าใช้ 1,500 - 2,000 บาท
และร้อยละ 12.6 ระบุว่าใช้มากกว่า 2,000 บาท
5. เมื่อถามว่า เห็นด้วยหรือไม่ถ้าจะยกเลิกไม่ต้องเครื่องแบบนักเรียน
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 82.4 ระบุว่าไม่เห็นด้วย
ร้อยละ 13.9 ระบุว่าเห็นด้วย
และร้อยละ 3.7 ไม่มีความเห็น
6. เหตุผลสำคัญที่กลุ่มตัวอย่างไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน คือ
ร้อยละ 75.9 ระบุว่าฝึกให้มีระเบียบวินัย
ร้อยละ 59.8 ระบุว่าไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะของนักเรียน
ร้อยละ 52.9 ระบุว่าการแต่งเครื่องแบบนักเรียนประหยัดกว่า
ร้อยละ 47.9 ระบุว่าไม่ต้องแข่งกันแต่งตัว
และร้อยละ 34.0 ระบุว่าช่วยสร้างความสามัคคีในโรงเรียน
7. ส่วนเหตุผลของผู้เห็นด้วยควรยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน คือ
ร้อยละ 83.8 ระบุว่าประหยัด ไม่ต้องซื้อเครื่องแบบนักเรียน
ร้อยละ 62.0 ระบุว่าสามารถใช้เสื้อผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ร้อยละ 36.3 ระบุว่ามีเสรีภาพในการแต่งกายมากขึ้น
ร้อยละ 34.6 ช่วยลดการทะเลาะวิวาทระหว่างโรงเรียน
ร้อยละ 30.7 ระบุว่าช่วยตัดปัญหาการแต่งกายผิดระเบียบโรงเรียน
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 386 30
หญิง 901 70
อายุ :
18 - 25 69 5.4
26 - 35 347 27
36 - 45 624 48.5
มากกว่า 45 ปี 243 18.9
ไม่ระบุ 4 0.3
การศึกษา :
ประถมศึกษา 173 13.4
มัธยมศึกษา 245 19
ปวช. 165 12.8
ปวส./อนุปริญญา 195 15.2
ปริญญาตรี 405 31.5
สูงกว่าปริญญาตรี 96 7.5
ไม่ระบุ 8 0.6
อาชีพ :
รับราชการ 76 5.9
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 104 8.1
พนักงานเอกชน 358 27.8
เจ้าของกิจการ 121 9.4
รับจ้างทั่วไป 181 14.1
ค้าขาย 256 19.9
แม่บ้าน 157 12.2
อาชีพอื่น ๆ 34 2.6
ตารางที่ 2 เปิดภาคเรียนปีนี้ บุตรหรือผู้ที่อยู่ในความอุปการะของท่านต้องซื้อเครื่องแบบนักเรียนใหม่หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ต้องซื้อ 982 76.3
ไมต้องซื้อ 305 23.7
ตารางที่ 3 ราคาเครื่องแบบนักเรียนปีนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว
จำนวน ร้อยละ
ราคาแพงกว่า 1,031 80.1
ราคาเท่าเดิม 227 17.6
ราคาถูกกว่า 29 2.3
ตารางที่ 4 ท่านคิดว่ารัฐบาลควรควบคุมราคาเครื่องแบบนักเรียนหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควรควบคุม 1,138 88.4
ไม่ควรควบคุม 42 3.3
ไม่มีความเห็น 107 8.3
ตารางที่ 5 จำนวนเงินที่เตรียมไว้ซื้อชุดนักเรียนต่อคน
ประมาณจำนวนเงินต่อคน จำนวน ร้อยละ
น้อยกว่า 1,000 บาท 134 13.7
1,000 - 1,500 บาท 452 46.3
1,500 - 2,000 บาท 267 27.4
มากกว่า 2,000 บาท 123 12.6
ตารางที่ 6 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าจะยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 179 13.9
ไม่เห็นด้วย 1,060 82.4
ไม่มีความเห็น 48 3.7
ตารางที่ 7 เหตุผลที่ไม่เห็นด้วย ว่าควรยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน
เหตุผล ร้อยละ
1 ฝึกการมีระเบียบวินัย 75.9
2 ไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะของนักเรียน 59.8
3 แต่งเครื่องแบบนักเรียนประหยัดกว่า 52.9
4 ไม่ต้องแข่งกันแต่งตัว 47.9
5 ช่วยสร้างความสามัคคีในโรงเรียน 34
6 อื่น ๆ 6.5
ตารางที่ 8 เหตุผลที่เห็นด้วย ว่าควรยกเลิกเครื่องแบบนักเรียน
เหตุผล ร้อยละ
1 ประหยัด ไม่ต้องซื้อเครื่องแบบ 83.8
2 ใช้เสื้อผ้าที่ใส่ในชีวิตประจำวันได้ 62
3 มีเสรีภาพในการแต่งกายมากขึ้น 36.3
4 ลดการทะเลาะวิวาทระหว่างโรงเรียน 34.6
5 ตัดปัญหาการแต่งกายผิดระเบียบโรงเรียน 30.7
6 อื่น ๆ 10.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--