คนไทย 87.3% ระบุหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมา 6 เดือน พบเห็นแรงงานต่างด้าวมากขึ้น 73.1% เห็นว่าการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนทำให้ภูมิภาคนี้ มีบทบาทและมีอำนาจต่อรองประชาคมโลกมากขึ้น 53.6 % มีความเป็นประชาชนอาเซียนอยู่ในระดับปานกลาง แต่ไม่อยากใช้เงินสกุลเดียวกันในอาเซียน พร้อมระบุอยาก จะไปเที่ยว ประเทศสิงคโปร์ ลาว เวียดนาม
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ คนไทยคิดเห็นอย่างไร หลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียนครบ 6 เดือน ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,132 คน พบว่า
หลังจากที่ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมาครบ 6 เดือน สิ่งที่คนไทยเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดร้อยละ 87.3 คือ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ ในประเทศไทยแสดงตัวมากขึ้น/พบเห็นแรงงานต่างด้าวมากขึ้น รองลงมาร้อยละ 78.2 คือ มีการช่วยเหลือกันระหว่างประเทศสมาชิกเมื่อประเทศในกลุ่มอาเซียนเกิดภัยพิบัติ และ ร้อยละ 74.5 คือ มีการแข่งขันทางด้านอาชีพมากขึ้น
เมื่อถามว่าในอนาคตหลังจากประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัว ประชาคมอาเซียนจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน/การทำงานมากน้อยเพียงใด พบว่า ประชาชนร้อยละ 42.6 ระบุว่า เข้ามามีบทบาทปานกลาง รองลงมาร้อยละ 32.2 ระบุว่าเข้ามามีบทบาทมากถึงมากที่สุด และร้อยละ 25.1 ระบุว่า เข้ามามีบทบาทน้อย ถึงน้อยที่สุด
ส่วนประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียนที่ประชาชนอยากจะไปมากที่สุดร้อยละ 32.9 คือ ประเทศสิงคโปร์ รองลงมาร้อยละ 19.6 คือประเทศลาว และร้อยละ 13.0 คือประเทศเวียดนาม
สำหรับความเห็นต่อการอยากใช้เงินสกุลเดียวกันทั้ง 10 ประเทศ ในกลุ่มประชาคมอาเซียน เหมือนเงินสกุลยูโร ในสหภาพยุโรป นั้น ประชาชนร้อยละ 58.8 ระบุว่า ไม่อยากใช้เงินสกุลเดียวกัน ขณะที่ร้อยละ 33.7 ระบุว่าอยากใช้ ที่เหลือร้อยละ 7.5 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความรู้สึกต่อความเป็น“เป็นประชาชนของอาเซียน” หรือ “มีความเป็นหนึ่งเดียวกันในประชาคมอาเซียน” พบว่า ร้อยละ 53.6 มีความรู้สึกระดับปานกลาง รองลงมาร้อยละ 24.7 มีความรู้สึกอยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด และร้อยละ 21.7 มีความรู้สึกอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
สุดท้ายเมื่อถามว่าการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนจะทำให้ภูมิภาคนี้มีบทบาทสำคัญและมีอำนาจต่อรองกับประชาคมโลก มากขึ้นใช่หรือไม่ ประชาชนร้อยละ 73.1 ระบุว่า “ใช่” ขณะที่ร้อยละ 14.4 ระบุว่า “ไม่ใช่” ที่เหลือร้อยละ 12.5 ระบุว่า “ ไม่แน่ใจ”
โดยมีรายละเอียดดังนี้
เรื่องที่เห็นความเปลี่ยนแปลง ร้อยละ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยแสดงตัวมากขึ้น/พบเห็นแรงงานต่างด้าวมากขึ้น 87.3 มีการช่วยเหลือกันระหว่างประเทศสมาชิกเมื่อประเทศในกลุ่มอาเซียนเกิดภัยพิบัติ 78.2 มีการแข่งขันทางด้านอาชีพมากขึ้น 74.5 มีความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐของประเทศในกลุ่มอาเซียนให้เห็นมากขึ้น 67.8 การปรับหลักสูตรการศึกษาและเปลี่ยนแปลงการเปิด-ปิดเทอมให้สอดคล้องกับประเทศในกลุ่มอาเซียน 66.7 ความร่วมมือกันเพื่อป้องกันการก่อการร้าย และการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ 58.9 การเดินทางเข้า-ออก ไปยังประเทศในสมาชิกอาเซียนสะดวกสบายขึ้น 55.6 มีสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาขายในประเทศไทยมากขึ้น 54.3 มีการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือ ใน 7 อาชีพ ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม 35.8 2. เมื่อถามว่า “ในอนาคตหลังจากประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัว ประชาคมอาเซียนจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน/การทำงานมากน้อยเพียงใด” พบว่า มีบทบาทมากที่สุด ร้อยละ 5.3 มีบทบาทค่อนข้างมาก ร้อยละ 26.9 มีบทบาทปานกลาง ร้อยละ 42.6 มีบทบาทน้อย ร้อยละ 15.4 มีบทบาทน้อยที่สุด ร้อยละ 9.7 3. หลังจากประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัวแล้ว ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียนที่อยากจะเดินทางไปมากที่สุด คือ สิงคโปร์ ร้อยละ 32.9 ลาว ร้อยละ 19.6 เวียดนาม ร้อยละ 13.0 เมียนมา ร้อยละ 12.0 มาเลเซีย ร้อยละ 6.4 บรูไน ร้อยละ 5.5 อินโดนีเซีย ร้อยละ 4.5 ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 3.2 กัมพูชา ร้อยละ 2.9 4. ความเห็นต่อการอยากใช้เงินสกุลเดียวกันทั้ง 10 ประเทศ ในกลุ่มประชาคมอาเซียน เหมือนเงินสกุล ยูโร ในสหภาพยุโรป พบว่า อยากใช้ ร้อยละ 33.7 ไม่อยากใช้ ร้อยละ 58.8 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.5 5. ความรู้สึกความเป็น“เป็นประชาชนของอาเซียน” หรือ “มีความเป็นหนึ่งเดียวกันในประชาคมอาเซียน”ของคนไทย มากที่สุด ร้อยละ 3.7 มาก ร้อยละ 18.0 ปานกลาง ร้อยละ 53.6 น้อย ร้อยละ 17.3 น้อยที่สุด ร้อยละ 7.4 6. ความเห็นต่อการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนจะทำให้ภูมิภาคนี้มีบทบาทสำคัญและมีอำนาจต่อรองกับประชาคมโลกมากขึ้นใช่หรือไม่ ใช่ ร้อยละ 73.1 ไม่ใช่ ร้อยละ 14.4 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 12.5
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมาครบ 6 เดือน บทบาทของประชาคมอาเซียน ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียนที่อยากจะไป รวมถึงความเห็นต่อเรื่องสกุลเงินในอาเซียนและในประเด็นต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้สังคมและผู้ที่ เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) แล้วได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 15 – 17 มิถุนายน 2559 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 20 มิถุนายน 2559
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 601 53.1 หญิง 531 46.9 รวม 1,132 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 178 15.7 31 ปี – 40 ปี 255 22.5 41 ปี – 50 ปี 313 27.7 51 ปี - 60 ปี 259 22.9 61 ปี ขึ้นไป 127 11.2 รวม 1,132 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 690 61 ปริญญาตรี 339 29.9 สูงกว่าปริญญาตรี 103 9.1 รวม 1,132 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 154 13.6 ลูกจ้างเอกชน 291 25.7 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 413 36.4 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 79 7 ทำงานให้ครอบครัว 1 0.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 127 11.2 นักเรียน/ นักศึกษา 37 3.3 ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม 30 2.7 รวม 1,132 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--