กรุงเทพโพลล์: “ประชาชนคิดอย่างไรกับการแสดงท่าทีคู่ขนานของกลุ่ม นปช. ต่อการทำประชามติ”

ข่าวผลสำรวจ Monday June 27, 2016 10:58 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชน 61.7% ระบุตั้งศูนย์ปราบโกงการทำประชามติ ของ นปช. ไม่ส่งผลต่อการลงประชามติ 53.5% ไม่กังวลว่าการที่ คสช. สกัดกั้นการเปิดศูนย์ ปราบโกง ฯ จะทำให้เกิดการต่อต้านรุนแรงขึ้นจากกลุ่ม นปช.

43.4 %ระบุว่าไม่อยากให้ ยูเอ็น เข้ามาสังเกตการณ์การทำประชามติ พร้อมระบุการที่ นปช. ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติ(ยูเอ็น) เข้ามาสังเกตการณ์ ส่งผลเสียกับประเทศ

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับการแสดงท่าทีคู่ขนานของกลุ่ม นปช. ต่อการ ทำประชามติ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,085 คน พบว่า

ประชาชนร้อยละ 37.8 ระบุว่าการที่ นปช. ออกมาเคลื่อนไหว เรื่องการตั้งศูนย์ปราบโกงการทำประชามติทั่วประเทศเป็นการปลุกระดมมวลชนทางอ้อม ขณะที่ร้อยละ 28.4 ระบุว่า ไม่ใช่ ที่เหลือร้อยละ 33.8 ระบุว่าไม่แน่ใจ

ทั้งนี้ความเห็นต่อการตั้งศูนย์ปราบโกงการทำประชามติ ของ นปช. จะส่งผลต่อการลงประชามติรับ/ไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญของหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 61.7 ระบุว่าไม่ส่งผล ขณะที่ร้อยละ 18.8 ระบุว่าส่งผล ที่เหลือร้อยละ 19.5 ระบุว่าไม่แน่ใจ

ส่วนความกังวลต่อการที่ คสช. สกัดกั้นการเปิดศูนย์ปราบโกง ฯ แต่ละแห่งว่าจะทำให้เกิดการต่อต้านรุนแรงขึ้นจากกลุ่ม นปช. นั้น ประชาชนร้อยละ 53.5 ระบุว่าไม่กังวล ขณะที่ร้อยละ 37.2 ระบุว่ากังวล ที่เหลือร้อยละ 9.3 ระบุว่าไม่แน่ใจ

สำหรับความเห็นต่อการที่ นปช. ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติ(ยูเอ็น) เข้ามาสังเกตการณ์การทำประชามติ ประชาชนร้อยละ 37.0 ระบุว่า น่าจะส่งผลเสียกับ ประเทศมากกว่า ขณะที่ร้อยละ 35.0 ระบุว่า น่าจะส่งผลดีกับประเทศมากกว่า ที่เหลือร้อยละ 28.0 ระบุว่า ไม่แน่ใจ

เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ว่าจะสามารถทำให้สหประชาชาติและนานาชาติเข้าใจการทำหน้าที่ของรัฐบาลไทยในสถานการณ์ ปัจจุบันได้ พบว่าประชาชน ร้อยละ 49.2 ระบุว่าเชื่อมั่นปานกลาง รองลงมาร้อยละ 37.5 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 13.3 ระบุว่า เชื่อมั่นน้อย

สุดท้ายเมื่อถามว่า “อยากให้สหประชาชาติ(ยูเอ็น) เข้ามาสังเกตการณ์ การลงประชามติหรือไม่” ประชาชนร้อยละ 43.4 ระบุว่าไม่อยากให้เข้ามา สังเกตการณ์ ขณะที่ร้อยละ 34.0 ระบุว่าอยากให้เข้ามาสังเกตการณ์ ที่เหลือร้อยละ 22.6 ระบุว่าไม่แน่ใจ

โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ความเห็นต่อการที่ นปช. ออกมาเคลื่อนไหว เรื่องการตั้งศูนย์ปราบโกงการทำประชามติทั่วประเทศว่าเป็นการปลุกระดมมวลชนทางอ้อมหรือไม่
คิดว่าใช่                                                                               ร้อยละ  37.8
คิดว่าไม่ใช่                                                                             ร้อยละ  28.4
ไม่แน่ใจ                                                                               ร้อยละ  33.8

2. ความเห็นต่อการตั้งศูนย์ปราบโกงการทำประชามติ ของ นปช. ว่าจะส่งผลต่อการลงประชามติรับ/ไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่
ไม่ส่งผล                                                                               ร้อยละ 61.7
ส่งผล                                                                                 ร้อยละ 18.8
ไม่แน่ใจ                                                                               ร้อยละ 19.5

3.  ความกังวลต่อการที่ คสช. สกัดกั้นการเปิดศูนย์ปราบโกง ฯ แต่ละแห่งว่าจะทำให้เกิดการต่อต้านรุนแรงขึ้นจากกลุ่ม นปช.
ไม่กังวล                                                           ร้อยละ 53.5
          - เพราะทุกคนอยากให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้                                        ร้อยละ 43.6
          - เพราะ นปช. คงไม่อยากเคลื่อนไหวตอบโต้รุนแรงในช่วงนี้                              ร้อยละ  9.9

กังวล                                                             ร้อยละ 37.2
          - แต่เชื่อมั่นว่า คสช. สามารถควบคุมสถานการณ์ได้                                     ร้อยละ 26.3
          - กลัวว่าจะมีการปลุกระดมมวลชนด้วยวิธีอื่น                                           ร้อยละ 10.9

จนทำให้เกิดเหตุการณ์ลุกลามบานปลาย

ไม่แน่ใจ                                                           ร้อยละ  9.3

4. ความเห็นต่อการที่ นปช. ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติ(ยูเอ็น) เข้ามาสังเกตการณ์การทำประชามติ ว่าจะส่งผลดีหรือผลเสียกับประเทศมากกว่ากัน
ส่งผลเสียกับประเทศมากกว่า                                                               ร้อยละ 37.0
ส่งผลดีกับประเทศมากกว่า                                                                 ร้อยละ 35.0
ไม่แน่ใจ                                                                              ร้อยละ 28.0

5. ความเชื่อมั่นต่อ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ว่าจะสามารถทำให้สหประชาชาติและนานาชาติเข้าใจการทำหน้าที่ของรัฐบาลไทยในสถานการณ์ปัจจุบันได้
เชื่อมั่นมาก                                                                            ร้อยละ 37.5
เชื่อมั่นปานกลาง                                                                        ร้อยละ 49.2
เชื่อมั่นน้อย                                                                            ร้อยละ 13.3

6. เมื่อถามว่า “อยากให้สหประชาชาติ (ยูเอ็น) เข้ามาสังเกตการณ์ การลงประชามติหรือไม่” (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
ไม่อยากให้เข้ามาสังเกตการณ์                                           ร้อยละ 43.4
          - เพราะ เป็นเรื่องภายในประเทศอยากให้คนไทยดูแลกันเองมากกว่า                       ร้อยละ 28.7
          - เพราะ เชื่อว่าประเทศไทยสามารถจัดการกันเองได้                                  ร้อยละ  6.7
          - เพราะ กลัวทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายมากขึ้นกว่าเดิม                                    ร้อยละ  4.4
          - เพราะ เป็นการเข้ามาแทรกแซงประเทศไทย                                       ร้อยละ  2.1
          - เพราะ อยากให้ประเทศเดินหน้าไปได้ด้วยตนเองมากกว่า                              ร้อยละ  1.5
อยากให้เข้ามาสังเกตการณ์                                             ร้อยละ 34.0
          - เพราะ จะได้มีความโปร่งใสเป็นกลาง                                            ร้อยละ 14.0
          - เพราะ จะได้มีองค์กรกลางเข้ามาช่วยสอดส่องดูแล                                   ร้อยละ  7.5
          - เพราะ อยากให้รู้สถานการณ์จริงของประเทศไทย                                    ร้อยละ  5.3
          - เพราะ ประเทศไทยจะได้มีมุมมองใหม่ และเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ                     ร้อยละ  4.2
          - เพราะ น่าจะช่วยคลี่คลายสถานการณ์ได้                                           ร้อยละ  3.0
ไม่แน่ใจ                                                           ร้อยละ 22.6

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการแสดงท่าทีคู่ขนานของกลุ่ม นปช. ต่อการทำประชามติในเรื่องการเปิดศูนย์ปราบโกงการทำประชามติ ความกังวลเรื่องที่ คสช. สกัดกั้นการเปิดศูนย์ปราบโกง รวมถึงประเด็นที่ นปช.ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติเข้ามาสังเกตการณ์การทำประชามติของประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อให้ สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง (Open ended) จากนั้นจึงได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  22-23 มิถุนายน 2559

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  25 มิถุนายน 2559

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                592      54.6
          หญิง                                493      45.4
          รวม                              1,085       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                        172      15.9
          31 ปี – 40 ปี                        254      23.3
          41 ปี – 50 ปี                        272      25.1
          51 ปี - 60 ปี                        244      22.5
          61 ปี ขึ้นไป                          143      13.2
          รวม                              1,085       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                       749      69.1
          ปริญญาตรี                            277      25.5
          สูงกว่าปริญญาตรี                        59       5.4
          รวม                              1,085       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                         109        10
          ลูกจ้างเอกชน                         290      26.7
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร         425      39.2
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                 26       2.4
          ทำงานให้ครอบครัว                       4       0.4
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ             158      14.6
          นักเรียน/ นักศึกษา                      45       4.2
          ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม             28       2.5
          รวม                              1,085       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ