ประชาชน 79.6% มองกระแสการรณรงค์ให้ไปลงประชามติร่างฯ ของรัฐ ยังไม่คึกคัก
ขณะที่ 66.0% บอกได้รับข้อมูลเกี่ยวกับร่างฯ ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ในขณะที่เกือบครึ่ง 49.9% ชี้ว่าการแจกสรุปร่างฯ ก่อน 15 วัน เพียงพอต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างฯ
แต่ 71% เห็นด้วยกับการตั้งศูนย์คุมเข้มประชามติ
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเห็นของประชาชนต่อการเตรียมความพร้อมของภาครัฐก่อนลงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,183 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 79.6 ไม่ค่อยเห็นการรณรงค์ให้ไปลงประชามติร่างฯ ในพื้นที่ของตน ขณะที่ร้อยละ 15.2 เห็นว่ามีการรณรงค์อย่างคึกคัก ส่วนร้อยละ 5.2 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามว่าได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.0 เห็นว่าได้รับค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 30.8 เห็นว่าได้รับ ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด มีเพียงร้อยละ 3.2 ไม่แน่ใจ
ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าการแจกเอกสารสรุปสาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญ ของ กกต. ให้ประชาชน 17 ล้านครัวเรือน ก่อนลงประชามติ 15 วัน เพียงพอหรือไม่กับการตัดสินใจ รับหรือไม่รับร่างฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.9 เห็นว่าเพียงพอ ขณะที่ร้อยละ 37.9 เห็นว่าไม่เพียงพอ ส่วนที่เหลือร้อยละ 12.2 ไม่แน่ใจ
ด้านความเห็นของประชาชนต่อการตั้งศูนย์คุมเข้มประชามติของรัฐบาลพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.0 เห็นด้วยเพราะทำให้การลงประชามติเรียบร้อยสุจริตและเที่ยงธรรม ขณะที่ร้อยละ 15.2 ไม่เห็นด้วย เพราะอาจเป็นเป็นการชี้นำให้รับร่างรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 13.8 ไม่แน่ใจ
โดยเมื่อถามต่อว่าเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดต่อการที่ภาครัฐให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกับทหารและตำรวจ ในพื้นที่ดูแลศูนย์คุมเข้มประชามติ เพื่อรับผิดชอบดูแลความสงบ เรียบร้อย ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.7 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 18.9 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ที่เหลือร้อยละ 5.4 ไม่แน่ใจ
สุดท้ายเมื่อถามว่า สนใจติดตั้งแอปพลิเคชั่น เพื่อใช้ในการไปลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.6 ไม่สนใจ ขณะที่ร้อยละ 29.9 สนใจ ในจำนวนนี้ ร้อยละ 28.3 ยังไม่ได้ติดตั้ง ขณะที่ร้อยละ 1.6 ติดตั้งแล้ว ส่วนที่เหลือร้อยละ 5.5 ไม่แน่ใจ
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
ไม่ค่อยเห็นการรณรงค์ ร้อยละ 79.6 เห็นว่ามีการรณรงค์อย่างคึกคัก ร้อยละ 15.2 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 5.2 2. การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 33.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 32.2) ร้อยละ 66.0 ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 27.1 และมากที่สุดร้อยละ 3.7 ) ร้อยละ 30.8 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 3.2 3. ข้อคำถาม “การแจกเอกสารสรุปสาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญ ของ กกต. ให้ประชาชน 17 ล้านครัวเรือน ก่อนลงประชามติ 15 วัน เพียงพอหรือไม่กับการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างฯ” เพียงพอ ร้อยละ 49.9 ไม่เพียงพอ ร้อยละ 37.9 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 12.2 4. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่กับการตั้งศูนย์คุมเข้มประชามติของรัฐบาล ” เห็นด้วยเพราะทำให้การลงประชามติเรียบร้อยสุจริตและเที่ยงธรรม ร้อยละ 71.0 ไม่เห็นด้วย เพราะอาจเป็นเป็นการชี้นำให้รับร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 15.2 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 13.8 5. ความเชื่อมั่นต่อการที่ภาครัฐให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกับทหารและตำรวจ ในพื้นที่ดูแลศูนย์คุมเข้มประชามติ เพื่อรับผิดชอบดูแลความสงบเรียบร้อย เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 55.8 และมากที่สุดร้อยละ 19.9 ) ร้อยละ 75.7 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 14.1 และน้อยที่สุดร้อยละ 4.8) ร้อยละ 18.9 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 5.4 6. ข้อคำถาม “สนใจติดตั้งแอปพลิเคชั่น เพื่อใช้ในการไปลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่” (ถามเฉพาะผู้ใช้สมาร์ทโฟน) สนใจ ร้อยละ 29.9 - โดย ติดตั้งแล้ว ร้อยละ 1.6 - ยังไม่ได้ติดตั้ง ร้อยละ 28.3 ไม่สนใจ ร้อยละ 64.6 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 5.5
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อต้องการทราบถึงการรณรงค์ของภาครัฐที่มีต่อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
2) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการตั้งศูนย์คุมเข้มประชามติ
3) เพื่อต้องการทราบถึงความสนใจติดตั้งใช้แอปพลิเคชั่นเพื่อใช้ในการไปลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบ เลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 5 - 7 กรกฎาคม 2559
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 8 กรกฎาคม 2559
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 627 53.0 หญิง 556 47.0 รวม 1,183 100.0 อายุ 18 ปี - 30 ปี 176 14.9 31 ปี - 40 ปี 257 21.7 41 ปี - 50 ปี 314 26.5 51 ปี - 60 ปี 265 22.4 61 ปี ขึ้นไป 171 14.5 รวม 1,183 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 696 58.9 ปริญญาตรี 386 32.6 สูงกว่าปริญญาตรี 101 8.5 รวม 1,183 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 181 15.3 ลูกจ้างเอกชน 259 21.9 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 454 38.4 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 59 5.0 ทำงานให้ครอบครัว 1 0.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 165 13.9 นักเรียน/ นักศึกษา 45 3.8 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 19 1.6 รวม 1,183 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--