กรุงเทพโพลล์: “ท่องเที่ยวในวันหยุดยาวนี้ คนกรุงกังวลกับเรื่องใด”

ข่าวผลสำรวจ Friday July 15, 2016 09:13 —กรุงเทพโพลล์

คนกรุง 66.2% มีแผนเดินทางท่องเที่ยว ช่วงหยุดยาวนี้ แต่กังวลกับปัญหารถติด อุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด 57.4% เชื่อบรรยากาศท่องเที่ยวช่วงหยุดยาวปีนี้จะคึกคัก

เนื่องในวันที่ 16 – 20 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ เป็นวันหยุดยาวช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจ ความคิดเห็น เรื่อง “ท่องเที่ยวในวันหยุดยาวนี้ คนกรุงกังวลกับเรื่องใด” ขึ้นโดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 1,161 คน พบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.4 เห็นว่าบรรยากาศการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวที่จะถึงนี้จะคึกคัก ส่วนร้อยละ 42.6 เห็นว่าบรรยากาศจะไม่คึกคัก

เมื่อถามว่ามีการวางแผนเดินทางท่องเที่ยวหรือทำบุญในช่วงวันหยุดยาวที่จะถึงนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.2 ระบุว่ามีการวางแผนเดินทาง โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 39.0 มีแผนที่จะเดินทางไปทำบุญ รองลงมาร้อยละ 16.5 มีแผนที่จะไปทำบุญพร้อมกับไปท่องเที่ยวด้วย และร้อยละ 10.7 มีแผนที่จะไปท่องเที่ยวอย่างเดียว ขณะที่ร้อยละ 33.8 ระบุว่า ไม่มีการวางแผนเดินทางเพราะต้องทำงาน หรือ อยู่บ้านเฉยๆ

สุดท้ายเมื่อถามถึง 5 เรื่องที่กังวลมากที่สุดในช่วงหยุดยาวพบว่า อันดับแรกคือเรื่องการจราจรที่ติดขัดมาก (ร้อยละ 49.5) รองลงมาอันดับสองคือ อุบัติเหตุบนท้องถนน (ร้อยละ 44.5) อันดับสาม ความแออัดของคนในสถานที่ทำบุญ / สถานที่ท่องเที่ยว (ร้อยละ 35.3) อันดับสี่ สินค้าที่เกี่ยวกับการทำบุญแพงขึ้น / สินค้าหมดอายุ (ร้อยละ 18.3) และอันดับห้าการใช้จ่ายเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ (ร้อยละ 16.1)

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้

1. บรรยากาศการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาว ที่จะถึงนี้เป็นอย่างไร
จะคึกคัก            ร้อยละ          57.4
จะไม่คึกคัก          ร้อยละ          42.6

2. การวางแผนเดินทางท่องเที่ยวหรือทำบุญในช่วงวันหยุดยาวที่จะถึงนี้
มีการวางแผนเดินทาง

โดย ร้อยละ 39.0 มีแผนไปทำบุญ

ร้อยละ 16.5 มีแผนที่จะไปทำบุญพร้อมไปท่องเที่ยวด้วย

                    ร้อยละ 10.7 มีแผนที่จะท่องเที่ยว                    ร้อยละ          66.2
ไม่มีการวางแผนเดินทางเพราะต้องทำงาน / อยู่บ้านเฉยๆ                      ร้อยละ          33.8

3. 5 เรื่องที่กังวลมากที่สุด ในช่วงหยุดยาวที่จะถึงนี้(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
การจราจรที่ติดขัดมาก                                                 ร้อยละ          49.5
อุบัติเหตุบนท้องถนน                                                   ร้อยละ          44.5
ความแออัดของคนในสถานที่ทำบุญ / สถานที่ท่องเที่ยว                          ร้อยละ          35.3
สินค้าที่เกี่ยวกับการทำบุญแพงขึ้น / สินค้าหมดอายุ                             ร้อยละ          18.3
การใช้จ่ายเกินงบประมาณที่ตั้งไว้                                         ร้อยละ          16.1

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสะท้อนถึงบรรยากาศการท่องเที่ยว ในช่วงวันหยุดยาวที่จะถึงนี้

2. เพื่อต้องการทราบถึงการวางแผนเดินทางของคนกรุงเทพฯ ในช่วงวันหยุดยาวที่จะถึงนี้

3. เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่กังวล ในช่วงหยุดยาวที่จะถึงนี้

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 24 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง ทุ่งครุ ธนบุรี บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางแค บางซื่อ บึงกุ่ม ปทุมวัน พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานาวา ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง สาทร หนองแขมและหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,161 คน เป็นชายร้อยละ 51.2 และหญิง ร้อยละ 48.8

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           : 8 – 12 กรกฎาคม 2559

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :   15 กรกฎาคม 2559

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                               594      51.2
          หญิง                               567      48.8
          รวม                             1,161       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                       272      23.5
          31 ปี – 40 ปี                       250      21.5
          41 ปี – 50 ปี                       229      19.7
          51 ปี - 60 ปี                       225      19.4
          61 ปี ขึ้นไป                         185      15.9
          รวม                             1,161       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                      764      65.8
          ปริญญาตรี                           341      29.4
          สูงกว่าปริญญาตรี                       56       4.8
          รวม                             1,161       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                        112       9.6
          ลูกจ้างเอกชน                        323      27.8
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร        407      35.2
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                57       4.9
          ทำงานให้ครอบครัว                     16       1.4
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ            150      12.9
          นักเรียน/ นักศึกษา                     69       5.9
          ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม            27       2.3
          รวม                             1,161       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ