นับถอยหลัง 20 วัน ก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ประชาชน ตั้งใจจะไปลงประชามติร่างฯ รัฐธรรมนูญถึง 83.7 % ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม 6.0% ในขณะที่ความเห็นชอบรับร่างฯ กลับลดลงเหลือ 41.6 % ซึ่งลดลงจากเดิม 2.0 % และมีผู้ไม่แน่ใจอยู่ถึง 39.6 %
อีก 20 วันจะถึงวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “นับถอยหลัง 20 วัน ก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 ส.ค. 59” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,876 คน พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 83.7 ตั้งใจว่าจะไปออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 ส.ค. 59 ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้เพิ่มขึ้น จากผลสำรวจเมื่อ วันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา ร้อยละ 6.0 ขณะที่มีเพียงร้อยละ 5.6 ตั้งใจว่าจะไม่ไป ที่เหลือร้อยละ 10.7 ยังไม่แน่ใจ
เมื่อถามว่า “หากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ท่านจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่” ประชาชนร้อยละ 41.6 ระบุว่า “เห็นชอบ” ซึ่ง ลดลง จากผลสำรวจเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา ร้อยละ 2.0 ขณะที่ร้อยละ 7.2 ระบุว่า “ไม่เห็นชอบ” ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 0.6 ส่วนร้อยละ 11.6 ระบุว่า “งดออกเสียง” และมีถึงร้อยละ 39.6 ที่ระบุว่า “ไม่แน่ใจ”
ทั้งนี้ช่องทางที่ได้รับข้อมูล/ศึกษาเนื้อหา เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามตินั้น ประชาชนร้อยละ 42.1 ระบุว่าได้รับจากเว็บไซต์สำนักข่าว/ข้อมูลที่สื่อมวลชน นำมาเสนอ รองลงมาร้อยละ 11.7 ระบุว่าได้รับจากการชี้แจงในระดับชุมชนจากครู ค. และผ่านเสียงตามสายในชุมชน และร้อยละ 11.1 ระบุว่าได้รับเอกสารที่ได้รับแจกจาก อำเภอ/อบต. ขณะที่มีเพียงร้อยละ 3.6 ที่ระบุว่า ดาวน์โหลดเอกสารจากเว็บไซต์ กรธ. และเว็บไซต์รัฐสภา โดยร้อยละ 27.8 ระบุว่ายังไม่ได้รับข้อมูล/เอกสารจากช่องทาง ใดเลย
ส่วนความเห็นที่มีต่อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ว่าจะช่วยให้ประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปได้เพียงใด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 52.1 ระบุว่า ช่วยได้มาก ขณะที่ร้อยละ 20.7 ระบุว่าช่วยได้น้อย ที่เหลือร้อยละ 27.2 ระบุว่าไม่แน่ใจ
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
1 เดือนก่อน 20 วัน เพิ่มขึ้น/ลดลง ลงประชามติ ก่อนลงประชามติ (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) ตั้งใจว่าจะไป 77.7 83.7 6 ตั้งใจว่าจะไม่ไป 10.4 5.6 -4.8 ไม่แน่ใจ 11.9 10.7 -1.2 2. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ท่านจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่” 1 เดือนก่อน 20 วัน เพิ่มขึ้น/ลดลง ลงประชามติ ก่อนลงประชามติ (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) เห็นชอบ 43.6 41.6 -2 ไม่เห็นชอบ 6.6 7.2 0.6 งดออกเสียง 13 11.6 -1.4 ไม่แน่ใจ 36.8 39.6 2.8 3. ช่องทางที่ประชาชนได้รับข้อมูล/ศึกษาเนื้อหา เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ คือ จากเว็บไซต์สำนักข่าว/ข้อมูลที่สื่อมวลชนนำมาเสนอ ร้อยละ 42.1 การชี้แจงในระดับชุมชนจากครู ค. และผ่านเสียงตามสายในชุมชน ร้อยละ 11.7 เอกสารที่ได้รับแจกจาก อำเภอ/อบต. ร้อยละ 11.1 ได้รับแจกจากการประชุม/ สัมมนา ที่เกี่ยวข้องกับร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 3.7 ดาวน์โหลดเอกสารจากเว็บไซต์ กรธ. และรัฐสภา ร้อยละ 3.6 ยังไม่ได้รับข้อมูล/เอกสารจากช่องทางใดเลย ร้อยละ 27.8 4. ความเห็นต่อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ว่าจะช่วยให้ประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปได้เพียงใด ช่วยได้มาก ร้อยละ 52.1 (โดยแบ่งเป็น ช่วยได้มาก ร้อยละ 24.2 และช่วยได้ค่อนข้างมาก ร้อยละ 27.9) ช่วยได้น้อย ร้อยละ 20.7 (โดยแบ่งเป็น ช่วยได้น้อย ร้อยละ 10.1 และช่วยได้ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 10.6) ไม่แน่ใจ ร้อยละ 27.2
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับความตั้งใจที่จะไปออกเสียงลงประชามติ
2) เพื่อสะท้อนความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
3) เพื่อทราบถึงและช่องทางการได้รับข้อมูลและศึกษาร่างรัฐธรรมนูญก่อนไปลงประชามติ
4) เพื่อทราบถึงทัศนคติที่มีต่อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วย ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 12 – 14 กรกฎาคม 2559
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 17 กรกฎาคม 2559
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 930 49.6 หญิง 946 50.4 รวม 1,876 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 219 11.7 31 ปี - 40 ปี 377 20.1 41 ปี - 50 ปี 534 28.5 51 ปี - 60 ปี 474 25.3 61 ปี ขึ้นไป 272 14.4 รวม 1,876 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 1,202 64.1 ปริญญาตรี 531 28.3 สูงกว่าปริญญาตรี 143 7.6 รวม 1,876 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 263 14 ลูกจ้างเอกชน 456 24.3 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 690 36.8 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 96 5.1 ทำงานให้ครอบครัว 2 0.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 308 16.4 นักเรียน/ นักศึกษา 37 2 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 24 1.3 รวม 1,876 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--