กรุงเทพโพลล์: “สิ่งที่ชาวพุทธตั้งใจจะทำในช่วงวันสำคัญทางพุทธศาสนา”

ข่าวผลสำรวจ Wednesday July 20, 2016 08:41 —กรุงเทพโพลล์

ชาวพุทธอยากทำบุญ เวียนเทียนกับ บิ๊กตู่ มากที่สุด รองลงมาคือ ปู ยิ่งลักษณ์ และ อั้ม พัชราภา ตั้งใจ ทำบุญ งดเหล้า งดอบายมุข ในช่วงเข้าพรรษา แต่กลัวศีล 5 งดเหล้า งดอบายมุข จะทำไม่ได้ดังตั้งใจ 52.6% อยากให้ปฏิรูปเรื่องวินัยสงฆ์มากที่สุด

เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาที่จะถึงนี้ กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “สิ่งที่ชาว พุทธตั้งใจจะทำในช่วงวันสำคัญทางพุทธศาสนา” โดยเก็บข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 1,161 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 52.5 เห็นว่าปีนี้พุทธศาสนิกชนจะออกมาทำบุญพอๆ กับปีที่ผ่านมา ส่วนร้อยละ 26.4 เห็นว่าจะออกมามากกว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 21.1 เห็นว่าจะออกมาน้อยกว่าปีที่ผ่านมา

สำหรับความตั้งใจที่ชาวพุทธจะทำในช่วงวันเข้าพรรษา 5 อันดับแรกพบว่า อันดับหนึ่ง คือ ทำบุญตักบาตรทุกวันพระช่วงเข้าพรรษา (ร้อยละ 46.1) รองลงมา อันดับสองคือ ไม่ดื่มเหล้าตลอด 3 เดือน (ร้อยละ 36.6) อันดับสามคือ งดเว้นอบายมุขต่างๆ (ร้อยละ 29.1) อันดับสี่คือ รักษาศีลครบทั้ง 5 ข้อ (ร้อยละ 26.5) และ อันดับห้าคือ เข้าวัดปฏิบัติธรรมบ่อยขึ้น (ร้อยละ 17.7)

เมื่อถามต่อว่าสิ่งที่ชาวพุทธกลัวว่าจะทำไม่ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ 5 อันดับแรกพบว่า อันดับหนึ่งคือ รักษาศีลครบทั้ง 5 ข้อ (ร้อยละ 60.7) รองลงมาอันดับสองคือ ไม่ดื่มเหล้าตลอด 3 เดือน (ร้อยละ 53.4) อันดับสามคือ งดเว้นอบายมุขต่างๆ (ร้อยละ 29.8) อันดับสี่คือ ละเว้นเนื้อสัตว์/กินมังสวิรัติ (ร้อยละ 20.2) และอันดับห้าคือ เข้าวัดปฏิบัติธรรมบ่อยขึ้น (ร้อยละ 12.5)

เมื่อถามว่าคนดังที่อยากร่วมทำบุญ เวียนเทียนด้วยมากที่สุดคือ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ร้อยละ 23.4) รองลงมาคือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ร้อยละ 6.7) พัชราภา ไชยเชื้อ (ร้อยละ 6.0) ณเดชน์ คูกิมิยะ (ร้อยละ 4.5) และอุรัสยา เสปอร์บันด์ (ร้อยละ 2.8)

สุดท้ายเมื่อถามว่าเรื่องที่อยากให้พุทธศาสนาปฏิรูปมากที่สุดคือ ความประพฤติตามพระธรรมวินัยหรือวินัยสงฆ์ (ร้อยละ 52.6) รองลงมาคือ การกลั่นกรองผู้เข้า มาบวชเรียนอย่างเคร่งครัด (ร้อยละ 18.6) และการพัฒนาศาสนสถานให้เป็นพื้นที่ “บุญ” อย่างแท้จริง (ร้อยละ 17.0)

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้

1. ความเห็นต่อการออกมาทำบุญของชาวพุทธในปีนี้จะเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
มากกว่าปีที่ผ่านมา                                                                ร้อยละ          26.4
พอๆกับปีที่ผ่านมา                                                                 ร้อยละ          52.5
น้อยกว่าปีที่ผ่านมา                                                                ร้อยละ          21.1

2. สิ่งที่ชาวพุทธตั้งใจจะทำในช่วงวันเข้าพรรษา 5 อันดับแรก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ทำบุญตักบาตรทุกวันพระช่วงเข้าพรรษา                                                 ร้อยละ          46.1
ไม่ดื่มเหล้าตลอด 3 เดือน                                                          ร้อยละ          36.6
งดเว้นอบายมุขต่างๆ                                                              ร้อยละ          29.1
รักษาศีลครบทั้ง 5 ข้อ                                                             ร้อยละ          26.5
เข้าวัดปฏิบัติธรรมบ่อยขึ้น                                                           ร้อยละ          17.7

3. สิ่งที่ชาวพุทธกลัวว่าจะทำไม่ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ 5 อันดับแรก(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
รักษาศีลครบทั้ง 5 ข้อ                                                             ร้อยละ          60.7
ไม่ดื่มเหล้าตลอด 3 เดือน                                                          ร้อยละ          53.4
งดเว้นอบายมุขต่างๆ                                                              ร้อยละ          29.8
ละเว้นเนื้อสัตว์/กินมังสวิรัติ                                                         ร้อยละ          20.2
เข้าวัดปฏิบัติธรรมบ่อยขึ้น                                                           ร้อยละ          12.5

4. คนดังที่ชาวพุทธอยากร่วมทำบุญ เวียนเทียนด้วยมากที่สุด 5 อันดับแรก
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา                                                        ร้อยละ          23.4
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร                                                                 ร้อยละ           6.7
พัชราภา ไชยเชื้อ                                                                ร้อยละ           6.0
ณเดชน์ คูกิมิยะ                                                                  ร้อยละ           4.5
อุรัสยา เสปอร์บันด์                                                               ร้อยละ           2.8

5. เรื่องที่อยากให้พุทธศาสนาปฏิรูปมากที่สุด
ความประพฤติตามพระธรรมวินัย (วินัยสงฆ์)                                             ร้อยละ          52.6
การกลั่นกรองผู้เข้ามาบวชเรียนอย่างเคร่งครัด                                           ร้อยละ          18.6
การพัฒนาศาสนสถานให้เป็นพื้นที่ “บุญ” อย่างแท้จริง                                       ร้อยละ          17.0
การสร้างศรัทธาพุทธศาสนิกชนให้กลายเป็นรายได้ (พุทธพาณิชย์)                              ร้อยละ           6.5
ไม่ต้องมีการปฏิรูป ดีอยู่แล้ว                                                         ร้อยละ           5.3

รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์

1. เพื่อสะท้อนการออกมาทำบุญในปีนี้ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

2. เพื่อต้องการทราบถึงสิ่งที่ตั้งใจทำ และ สิ่งที่กลัวว่าจะทำไม่ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ ในช่วงเข้าพรรษา

3. เพื่อสะท้อนถึงคนดังที่ประชาชนอยากร่วมทำบุญ เวียนเทียนด้วยมากที่สุด

4. เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่อยากให้พุทธศาสนาปฏิรูปมากที่สุด

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 23 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง ทุ่งครุ ธนบุรี บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางแค บางซื่อ บึงกุ่ม ปทุมวัน พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานาวา ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง สาทร หนองแขม และหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,161 คน เป็นชายร้อยละ 51.2 และหญิง ร้อยละ 48.8

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           : 8 – 12 กรกฎาคม 2559
          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  18 กรกฎาคม 2559

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                               594      51.2
          หญิง                               567      48.8
          รวม                             1,161       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                       272      23.5
          31 ปี – 40 ปี                       250      21.5
          41 ปี – 50 ปี                       229      19.7
          51 ปี - 60 ปี                       225      19.4
          61 ปี ขึ้นไป                         185      15.9
          รวม                             1,161       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                      764      65.8
          ปริญญาตรี                           341      29.4
          สูงกว่าปริญญาตรี                       56       4.8
          รวม                             1,161       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                        112       9.6
          ลูกจ้างเอกชน                        323      27.8
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร        407      35.2
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                57       4.9
          ทำงานให้ครอบครัว                     16       1.4
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ            150      12.9
          นักเรียน/ นักศึกษา                     69       5.9
          ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม            27       2.3
          รวม                             1,161       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ