กลุ่มตัวอย่าง:
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรเป้าหมายที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 1,224 คน
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในเรื่อง คนไทยกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ โดยแบบสอบถามประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 ถามด้านข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง
ส่วนที่ 2 ถามความคิดเห็นในหัวข้อที่ทำการสำรวจ
ระยะเวลาเก็บข้อมูล:
2 - 4 พฤษภาคม 2543
สรุปผลการสำรวจ
1. กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.7
เพศหญิงร้อยละ 50.3
มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 46.4
ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปร้อยละ 52.1
ประกอบอาชีพหลากหลายเช่น รับราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานบริษัทเอกชน
รับจ้างทั่วไป
ค้าขาย
แม่บ้าน
นักศึกษา เป็นต้น
2. เมื่อสอบถามถึงความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์มีมากน้อยเพียงใด
กลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อในเรื่องนี้ร้อยละ 10.9
เชื่อบ้างในบางเรื่อง ร้อยละ 73.9
ไม่เชื่อเลย ร้อยละ 15.2
3. สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เชื่อหรือเชื่อบ้างในบางเรื่องนั้น ให้เหตุผลว่าเนื่องจาก
เคยมีประสบการณ์จริงมาแล้ว ร้อยละ 31.5
เป็นที่พึ่งทางใจ ร้อยละ 28.9
เป็นความเชื่อของท้องถิ่นหรือ
เครือญาติ ร้อยละ 26.6
และเชื่อตามคนอื่น ร้อยละ 13.0
สำหรับคนที่ไม่เชื่อนั้น ร้อยละ 67.1ให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าจริง
4. เมื่อถามถึงความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เชื่อในเรื่องการดูฤกษ์ยาม(ร้อยละ 75.6)
การดูดวง ทำนายโชคชะตา(ร้อยละ 65.7)
จิตวิญญาณ(ร้อยละ 63.2)
การบนบานศาลกล่าว(ร้อยละ 56.7)
การสะเดาะเคราะห์ ต่ออายุ(ร้อยละ 52.9)
และเครื่องรางของขลัง(ร้อยละ 50.4)
ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ส่วนใหญ่หญิงจะเชื่อมากกว่าชาย
ยกเว้นในเรื่องเครื่องรางของขลังที่ชายเชื่อมากกว่าหญิง
เมื่อจำแนกความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ตามระดับการศึกษา พบว่า
แนวโน้มความเชื่อจะน้อยลงในกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาสูงขึ้น
5. สำหรับความเห็นเกี่ยวกับพระสงฆ์ที่ทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์นั้น
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 85.9 ไม่เห็นด้วย
มีเพียงร้อยละ 13.2 เท่านั้นที่เห็นด้วย
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรเป้าหมายที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 1,224 คน
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในเรื่อง คนไทยกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ โดยแบบสอบถามประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 ถามด้านข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง
ส่วนที่ 2 ถามความคิดเห็นในหัวข้อที่ทำการสำรวจ
ระยะเวลาเก็บข้อมูล:
2 - 4 พฤษภาคม 2543
สรุปผลการสำรวจ
1. กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.7
เพศหญิงร้อยละ 50.3
มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 46.4
ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปร้อยละ 52.1
ประกอบอาชีพหลากหลายเช่น รับราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานบริษัทเอกชน
รับจ้างทั่วไป
ค้าขาย
แม่บ้าน
นักศึกษา เป็นต้น
2. เมื่อสอบถามถึงความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์มีมากน้อยเพียงใด
กลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อในเรื่องนี้ร้อยละ 10.9
เชื่อบ้างในบางเรื่อง ร้อยละ 73.9
ไม่เชื่อเลย ร้อยละ 15.2
3. สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เชื่อหรือเชื่อบ้างในบางเรื่องนั้น ให้เหตุผลว่าเนื่องจาก
เคยมีประสบการณ์จริงมาแล้ว ร้อยละ 31.5
เป็นที่พึ่งทางใจ ร้อยละ 28.9
เป็นความเชื่อของท้องถิ่นหรือ
เครือญาติ ร้อยละ 26.6
และเชื่อตามคนอื่น ร้อยละ 13.0
สำหรับคนที่ไม่เชื่อนั้น ร้อยละ 67.1ให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าจริง
4. เมื่อถามถึงความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เชื่อในเรื่องการดูฤกษ์ยาม(ร้อยละ 75.6)
การดูดวง ทำนายโชคชะตา(ร้อยละ 65.7)
จิตวิญญาณ(ร้อยละ 63.2)
การบนบานศาลกล่าว(ร้อยละ 56.7)
การสะเดาะเคราะห์ ต่ออายุ(ร้อยละ 52.9)
และเครื่องรางของขลัง(ร้อยละ 50.4)
ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ส่วนใหญ่หญิงจะเชื่อมากกว่าชาย
ยกเว้นในเรื่องเครื่องรางของขลังที่ชายเชื่อมากกว่าหญิง
เมื่อจำแนกความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ตามระดับการศึกษา พบว่า
แนวโน้มความเชื่อจะน้อยลงในกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาสูงขึ้น
5. สำหรับความเห็นเกี่ยวกับพระสงฆ์ที่ทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์นั้น
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 85.9 ไม่เห็นด้วย
มีเพียงร้อยละ 13.2 เท่านั้นที่เห็นด้วย
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--