นับถอยหลัง 15 วันก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ประชาชนตั้งใจไปลงประชามติ และเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ เพิ่มสูงขึ้น ชี้การดีเบตร่างฯและการไม่เห็นชอบร่างฯ ของแกนนำพรรคใหญ่ ไม่มีผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างฯ
อีก 15 วันจะถึงวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ นับถอยหลัง 15 วันก่อนลง ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 ส.ค. 59” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,581 คน พบว่า
เมื่อถามประชาชนว่าหากมีการดีเบตร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้มีผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างฯ มากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.3 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึง น้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 28.3 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ส่วนที่เหลือร้อยละ 14.4 ไม่แน่ใจ
ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าการที่แกนนำจาก 2 พรรคการเมืองใหญ่ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้มีผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.6 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 17.6 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ส่วนร้อยละ 15.8 ไม่แน่ใจ
สำหรับความตั้งใจจะไปออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 ส.ค. 59 ที่จะถึงนี้นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.8 ตั้งใจว่าจะไป เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อ วันที่ 17 กรกฎาคม ร้อยละ 2.1 ขณะที่ร้อยละ 7.1 ตั้งใจว่าจะไม่ไป (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5) และร้อยละ 7.1 ยังไม่แน่ใจ (ลดลงร้อยละ 3.6)
สุดท้ายเมื่อถามว่าหากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.7 ระบุว่า “เห็นชอบ” เพิ่มขึ้นจาก ผลสำรวจครั้งที่ผ่านมาร้อยละ 3.1 ขณะที่ร้อยละ 9.8 ระบุว่า “ไม่เห็นชอบ” (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6) ส่วนร้อยละ 12.2 ระบุว่า “งดออกเสียง” (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6) และมีถึง ร้อยละ 33.3 ระบุว่า “ไม่แน่ใจ”
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 17.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 39.8) ร้อยละ 57.3 ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 23.6 และมากที่สุดร้อยละ 4.7) ร้อยละ 28.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 14.4 2. ความเห็นต่อการที่แกนนำจาก 2 พรรคการเมืองใหญ่ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้มีผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงใด ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 11.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 55.1) ร้อยละ 66.6 ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 13.4 และมากที่สุดร้อยละ 4.2) ร้อยละ 17.6 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 15.8 3. ความตั้งใจ จะไปออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 ส.ค. 59 20 วัน 15 วัน เพิ่มขึ้น/ลดลง ก่อนลงประชามติ ก่อนลงประชามติ (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) ตั้งใจว่าจะไป 83.7 85.8 2.1 ตั้งใจว่าจะไม่ไป 5.6 7.1 1.5 ไม่แน่ใจ 10.7 7.1 -3.6 4. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ท่านจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่” 20 วัน 15 วัน เพิ่มขึ้น/ลดลง ก่อนลงประชามติ ก่อนลงประชามติ (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) เห็นชอบ 41.6 44.7 3.1 ไม่เห็นชอบ 7.2 9.8 2.6 งดออกเสียง 11.6 12.2 0.6 ไม่แน่ใจ 39.6 33.3 -6.3
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับความตั้งใจที่จะไปออกเสียงลงประชามติ
2) เพื่อสะท้อนความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
3) เพื่อต้องการทราบว่าการที่แกนนำจาก 2 พรรคการเมืองใหญ่ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้มีผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงใด
4) เพื่อต้องการทราบว่าการดีเบตร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้มีผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างฯ ของท่านมากน้อยเพียงใด
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถาม แบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 21 - 22 กรกฎาคม 2559 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 23 กรกฎาคม 2559
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 793 50.2 หญิง 788 49.8 รวม 1,581 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 213 13.5 31 ปี - 40 ปี 393 24.9 41 ปี - 50 ปี 436 27.6 51 ปี - 60 ปี 328 20.7 61 ปี ขึ้นไป 211 13.3 รวม 1,581 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 991 62.7 ปริญญาตรี 465 29.4 สูงกว่าปริญญาตรี 125 7.9 รวม 1,581 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 209 13.2 ลูกจ้างเอกชน 373 23.6 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 652 41.3 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 62 3.9 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 204 12.9 นักเรียน/ นักศึกษา 41 2.6 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 40 2.5 รวม 1,581 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--