แม่ลูกยุคดิจิทัล นิยมคุยโทรศัพท์และคุยline มากกว่าการเจอหน้ากัน ลูกๆ ส่วนใหญ่ระบุว่า Social Media ไม่ได้ทำให้ความใกล้ชิดกับแม่ลดลง และ 74.9% ไม่เขินอาย ที่จะแสดงความรักกับแม่ตรงๆ 57.9% ยก แม่โบว์ – น้องมะลิ เป็นซุปตาร์แม่ลูกที่ชื่นชอบมากที่สุดใน social media
ในโอกาสวันแม่ปีนี้ กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความสัมพันธ์แม่ลูกเป็นอย่างไรในยุคการสื่อสารแบบดิจิทัล” โดยเก็บข้อมูลจากลูกๆ ที่มีอายุ 15 - 35 ปี ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,140 คน พบว่าในปัจจุบันลูกๆ ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.6 ระบุว่าเห็นแม่ของตนเองเล่น Social Media โดยที่นิยมเล่นมากที่สุด คือ “line” (ร้อยละ 47.1) รองลงมาคือ “facebook” (ร้อยละ 38.0) และ “Instargram” (ร้อยละ 3.4) ขณะที่ร้อยละ 46.4 ระบุว่า แม่ไม่ได้เล่น social media/เล่นไม่เป็น
สำหรับวิธีที่ลูกๆ ใช้พูดคุย/สื่อสารกับแม่ ในปัจจุบัน ร้อยละ 73.9 ระบุว่าใช้วิธีคุยโทรศัพท์ รองลงมาร้อยละ 37.5 ระบุว่า ใช้วิธี คุยผ่าน line และร้อยละ 34.9 ใช้วิธีคุยแบบพบเจอกัน
ส่วนความเห็นต่อการใช้ Social Media (สื่อสังคมออนไลน์) ในปัจจุบันว่าทำให้ใช้เวลากับแม่/ใกล้ชิดกับแม่ เป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อก่อน ลูกๆ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.5 ระบุว่าพูดคุยและใกล้ชิดกันเหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 29.9 ระบุว่าพูดคุยและใกล้ชิดกันมากขึ้น และมีเพียงร้อยละ 9.6 ที่ระบุว่า พูดคุยและใกล้ชิดกันน้อยลง
เมื่อถามว่า “วันแม่ปีนี้ อาย/เขิน หรือไม่ที่จะเข้าไปแสดงความรักกับแม่ตรงๆ” ร้อยละ 74.9 ระบุว่า ไม่อาย/ไม่เขิน ขณะที่ร้อยละ 25.1 ระบุว่า อาย/เขิน โดยจะแสดงความรักด้วยวิธี ให้เวลากับแม่/กลับบ้านต่างจังหวัดไปหาแม่ ส่งข้อความ/สติ๊กเกอร์ ผ่าน Social Media พาแม่ไปเที่ยว/ไปทานอาหาร
ทั้งนี้ นิยามหรือฉายาที่ลูกเห็นว่าเหมาะสมกับแม่มากที่สุดคือ “แม่พระของลูก” ร้อยละ 27.5 รองลงมาคือ “แม่ก็คือแม่ (จบป่ะ)” ร้อยละ 22.4 และ “ซุปเปอร์มัม (Super Mom)” ร้อยละ 14.9
ส่วนซุปตาร์แม่ลูกใน Social Media ที่ชื่นชอบมากที่สุด คือ “แม่โบว์ - น้องมะลิ” ร้อยละ 57.9 รองลงมาคือ “แม่โอปอล - น้องอลิน น้องอลัน” ร้อยละ 9.8 และ “แม่เป้ย – น้องโปรด” ร้อยละ 7.7
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. สังคมออนไลน์(social media) ที่แม่ชอบเล่นมากที่สุด
เล่น/ใช้สังคมออนไลน์ ร้อยละ 53.6
โดยเล่น/ใช้มากที่สุดคือ
- line ร้อยละ 47.1 - facebook ร้อยละ 38.0 - Instargram ร้อยละ 3.4 - twitter ร้อยละ 1.7 - skype ร้อยละ 1.1 - whatsApp ร้อยละ 1.0 ไม่ได้เล่น/เล่นไม่เป็น ร้อยละ 46.4 2. ปัจจุบันวิธีที่ลูกๆใช้พูดคุย/สื่อสารกับแม่คือ คุยโทรศัพท์ ร้อยละ 73.9 คุยผ่าน line ร้อยละ 37.5 คุยแบบพบเจอกัน ร้อยละ 34.9 คุยผ่าน facebook/face time ร้อยละ 14.8 คุยผ่าน skype ร้อยละ 0.8 คุยผ่าน Instargram ร้อยละ 0.3 คุยผ่าน twitter ร้อยละ 0.2 3. ความเห็นต่อการใช้ Social Media (สื่อสังคมออนไลน์) ในปัจจุบันว่าทำให้ใช้เวลากับแม่/ใกล้ชิดกับแม่ เป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อก่อน พูดคุยและใกล้ชิดกันเหมือนเดิม ร้อยละ 60.5 พูดคุยและใกล้ชิดกันมากขึ้น ร้อยละ 29.9 พูดคุยและใกล้ชิดกันน้อยลง ร้อยละ 9.6 4. เมื่อถามว่า “วันแม่ปีนี้ อาย/เขิน หรือไม่ที่จะเข้าไปแสดงความรักกับแม่ตรงๆ” ไม่อาย/ไม่เขิน ร้อยละ 74.9 อาย/เขิน ร้อยละ 25.1
โดยจะแสดงความรักด้วยวิธี.......
- ให้เวลากับแม่ / กลับบ้านต่างจังหวัดไปหาแม่ ร้อยละ 5.6 - ส่งข้อความ/สติ๊กเกอร์ ผ่าน Social Media ร้อยละ 5.3 - พาแม่ไปเที่ยว/ไปทานอาหาร ร้อยละ 4.9 - แอบเอาพวงมาลัย/ดอกมะลิ ให้แม่ ร้อยละ 4.4 - แอบวางการ์ด/ของขวัญไว้ให้แม่ ร้อยละ 2.4 - ทำตัวปกติเหมือนทุกวัน ร้อยละ 2.5 5. นิยามหรือฉายาที่ลูกเห็นว่าเหมาะสมกับแม่มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ แม่พระของลูก ร้อยละ 27.5 แม่ก็คือแม่ (จบป่ะ) ร้อยละ 22.4 ซุปเปอร์มัม (Super Mom) ร้อยละ 14.9 คุณแม่ขี้บ่น/จู้จี้ ร้อยละ 8.9 เข็มทิศนำทาง ร้อยละ 6.4 6. ซุปตาร์แม่ลูกใน Social Media ที่ชื่นชอบมากที่สุด 5 อันดับแรก แม่โบว์ - น้องมะลิ ร้อยละ 57.9 แม่โอปอล - น้องอลิน น้องอลัน ร้อยละ 9.8 แม่เป้ย - น้องโปรด ร้อยละ 7.7 แม่กบ - น้องณดา น้องณดล ร้อยละ 6.5 แม่ปิ่น - เจ้านาย เจ้าขุน เจ้าสมุทร ร้อยละ 6.2
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นลูกๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการพูดคุยหรือสื่อสารกันระหว่างแม่กับลูกในปัจจุบัน วิธีการที่จะแสดงความรักต่อแม่ในวันแม่ปีนี้ รวมถึงคู่แม่ลูกในสังคมออนไลน์ ที่ชื่นชอบมากที่สุดและนิยามหรือฉายาที่คิดว่าเหมาะสมกับแม่มากที่สุด ผลสำรวจที่ได้จะช่วยสะท้อนมุมมองของประชาชนให้สังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการ ตัดสินใจดำเนินนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากลูกๆ ที่มีอายุระหว่าง 15 -35 ปี ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,140 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.5 และเพศหญิงร้อยละ 51.5
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ซึ่งเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น คณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 5-7 สิงหาคม 2559 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 11 สิงหาคม 2559
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 553 48.5 หญิง 587 51.5 รวม 1,140 100 อายุ 15 - 20 ปี 319 28 21 – 25 ปี 306 26.8 26 – 30 ปี 265 23.2 31 – 35 ปี 250 22 รวม 1,140 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 641 56.2 ปริญญาตรี 464 40.7 สูงกว่าปริญญาตรี 35 3.1 รวม 1,140 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 98 8.6 ลูกจ้างเอกชน 424 37.2 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว 193 16.9 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 14 1.2 ทำงานให้ครอบครัว 9 0.8 นักเรียน/ นักศึกษา 372 32.6 ว่างงาน 30 2.7 รวม 1,140 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--