ประชาชน 72.0% มองสถานการณ์การคอร์รัปชั่นของไทยยังรุนแรง ชี้ควรปฏิรูปนักการเมือง ข้าราชการเป็นอันดับแรก 73.8% เห็นว่า2 ปีรัฐบาลพล.อประยุทธ์ แก้ปัญหา คอร์รัปชั่นได้ดีขึ้นเรื่อยๆ 67.8% เชื่อมั่นจะพาประเทศไทยโปร่งใสขึ้นกว่าเดิม 49.7% กลัวการคอร์รัปชั่นจะกลับมาอีกหากมีรัฐบาลใหม่ แต่เชื่อรัฐธรรมนูญช่วยป้องกันได้
เนื่องในวันที่ 6 กันยายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านการคอร์รัปชั่นแห่งชาติ กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “สังคมไทยกับความห่างไกลการทุจริตคอร์รัปชั่น” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,232 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 72.0 เห็นว่าสถานการณ์ปัญหา การคอร์รัปชั่นในสังคมไทยมีความรุนแรงค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 24.6 เห็นว่ามีความรุนแรงค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด มีเพียงร้อยละ 3.4 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามว่าการแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นของสังคมไทย ควรเน้นปฏิรูปในเรื่องใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.8 อยากให้เร่งปฏิรูปการเมือง นักการเมือง มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 57.3 อยากให้ปฏิรูประบบข้าราชการ และร้อยละ 54.0 อยากให้ปฏิรูปเศรษฐกิจให้โปร่งใส ไม่เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง (ร้อยละ 54.0)
สำหรับความเห็นของประชาชนต่อการปฏิรูปและการแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชาพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.5 เห็นว่ามีการปฏิรูปและ การแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ร้อยละ 23.1 เห็นว่าไม่ค่อยมีการปฏิรูปและแก้ปัญหา ที่เหลือร้อยละ 7.4 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามต่อว่าปัญหาการคอร์รัปชั่นเป็นอย่างไร หลังจากรัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำงานครบ 2ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.8 เห็นว่าดีขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ร้อยละ 16.9 เห็นว่ายังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และร้อยละ 5.4 เห็นว่าแย่ลงกว่าเดิม มีเพียงร้อยละ 3.9 ไม่แน่ใจ
นอกจากนี้เมื่อถามว่าเชื่อมั่นเพียงใดว่ารัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะสามารถสร้างความโปร่งใสให้ประเทศไทยมีอันดับการคอร์รัปชั่นโลกดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.8 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อย 25.9 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ส่วนที่เหลือร้อยละ 6.3 ไม่แน่ใจ
ส่วนข้อคำถามที่ว่าหากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาต่อจากรัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์ ปัญหาการคอร์รัปชั่นจะเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.7 คิดว่าการคอร์รัปชั่นจะกลับมา เหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 29.4 คิดว่าการคอร์รัปชั่นจะลดน้อยลง ส่วนร้อยละ 20.9 ไม่แน่ใจ
ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าเชื่อมั่นเพียงใดว่ารัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง จะช่วยป้องกันการคอร์รัปชั่นต่างๆ ได้ หากมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ส่วนใหญ่ร้อยละ 48.3 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 39.2 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ส่วนร้อยละ 12.5 ไม่แน่ใจ
สุดท้ายเมื่อถามว่าตัวท่านเองมีทัศนคติต่อต้านการคอร์รัปชั่นเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างไร หลังจากการรณรงค์ปราบปรามการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.3 มีทัศนคติต่อต้านการคอร์รัปชั่นเพิ่มขึ้น ขณะที่ร้อยละ 37.2 มีทัศนคติต่อต้านเหมือนเดิม และร้อยละ 19.1 มีทัศนคติต่อต้านลดลง มีเพียงร้อยละ 4.4 ไม่แน่ใจ
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
1. ความเห็นต่อสถานการณ์ความรุนแรงของปัญหาการคอร์รัปชั่นในสังคมไทย
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 41.4 และมากที่สุดร้อยละ 30.6) ร้อยละ 72.0 ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 23.1 และน้อยที่สุดร้อยละ 1.5) ร้อยละ 24.6 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 3.4 2. ข้อคำถาม “คิดว่าการแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นของสังคมไทย ควรเน้นปฏิรูปในเรื่องใดมากที่สุด” ปฏิรูปการเมือง นักการเมือง ร้อยละ 60.8 ปฏิรูประบบข้าราชการ ร้อยละ 57.3 ปฏิรูปเศรษฐกิจให้โปร่งใส ไม่เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง ร้อยละ 54.0 ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมการบังคับใช้กฎหมาย ร้อยละ 53.5 ปฏิรูปการศึกษาให้เท่าเทียม ร้อยละ 47.7 ปฏิรูปสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ ร้อยละ 44.6 3. ข้อคำถาม “คิดว่าการปฏิรูปและการแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นอย่างไร” คิดว่ามีการปฏิรูปและการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 69.5 คิดว่าไม่ค่อยมีการปฏิรูปและแก้ปัญหา ร้อยละ 23.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.4 4. ข้อคำถาม “คิดว่าปัญหาการคอร์รัปชั่นเป็นอย่างไร หลังจากรัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำงานครบ 2ปี” ดีขึ้นเรื่อยๆ ร้อยละ 73.8 เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 16.9 แย่ลงกว่าเดิม ร้อยละ 5.4 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 3.9 5. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะสามารถสร้างความโปร่งใสให้ประเทศไทยมีอันดับการคอร์รัปชั่นโลกดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาได้ ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 56.4 และมากที่สุดร้อยละ 11.4) ร้อยละ 67.8 ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 20.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 5.4) ร้อยละ 25.9 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 6.3 6. ข้อคำถาม “คิดว่าหากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาต่อจากรัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์ ปัญหาการคอร์รัปชั่นจะเป็นอย่างไร” คิดว่าการคอร์รัปชั่นจะกลับมาเหมือนเดิม ร้อยละ 49.7 คิดว่าการคอร์รัปชั่นจะลดน้อยลง ร้อยละ 29.4 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 20.9 7. ความเชื่อมั่นต่อรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง จะช่วยป้องกันการคอร์รัปชั่นต่างๆ ได้ หากมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 43.1 และมากที่สุดร้อยละ 5.2) ร้อยละ 48.3 ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 29.9 และน้อยที่สุดร้อยละ 9.3) ร้อยละ 39.2 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 12.5 8. ข้อคำถาม “คิดว่าตัวท่านเองมีทัศนคติต่อต้านการคอร์รัปชั่นเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างไร หลังจากการรณรงค์ปราบปรามการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลที่ผ่านมา” มีทัศนคติต่อต้านเพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.3 มีทัศนคติต่อต้านเหมือนเดิม ร้อยละ 37.2 มีทัศนคติต่อต้านลดลง ร้อยละ 19.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 4.4
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาการคอร์รัปชั่นในสังคมไทย
2) เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถาม แบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 29 สิงหาคม – 1 กันยายน 2559 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 4 กันยายน 2559
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 684 55.5 หญิง 548 44.5 รวม 1,232 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 173 14 31 ปี - 40 ปี 289 23.5 41 ปี - 50 ปี 337 27.3 51 ปี - 60 ปี 284 23.1 61 ปี ขึ้นไป 149 12.1 รวม 1,232 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 783 63.5 ปริญญาตรี 353 28.7 สูงกว่าปริญญาตรี 96 7.8 รวม 1,232 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 169 13.7 ลูกจ้างเอกชน 279 22.6 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 524 42.6 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 63 5.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 145 11.8 นักเรียน/ นักศึกษา 40 3.2 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 12 1 รวม 1,232 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--