ประชาชน 78.0% เชื่อ การเลือกตั้งปี 60 ยังคงมีการซื้อเสียงส่วนใหญ่ไม่เชื่อ กกต. แก้ปัญหาการซื้อเสียงได้ 68.2%เห็นด้วยหากให้กระทรวงมหาดไทยช่วยจัดการเลือกตั้ง เพื่อลดปัญหาการซื้อเสียง
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 2560” โดยเก็บ ข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,156 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 78.0 เห็นว่าการเลือกตั้งในปี 2560 น่าจะยังมีการซื้อเสียงอยู่ ขณะที่ร้อยละ 16.6 เห็นว่าไม่น่าจะมี ส่วนที่เหลือร้อยละ 5.4 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามว่าเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะสามารถแก้ปัญหาการซื้อเสียงได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.2 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 37.0 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ส่วนร้อยละ 9.8 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามต่อว่าเห็นด้วยหรือไม่หากจะให้กระทรวงมหาดไทยมาช่วย กกต. จัดการเลือกตั้ง เพื่อลดปัญหาการซื้อเสียง ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.2 เห็นด้วยเพราะคิดว่าน่าจะ ช่วยแบ่งเบาภาระของ กกต. ได้ ขณะที่ร้อยละ 25.1 ไม่เห็นด้วยเพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของ กกต. และ กกต. สามารถดูแลได้อยู่แล้ว มีเพียงร้อยละ 6.7 ไม่แน่ใจ
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
น่าจะมี ร้อยละ 78.0 ไม่น่าจะมี ร้อยละ 16.6 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 5.4 2. ข้อคำถาม “เชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะสามารถแก้ปัญหาการซื้อเสียงได้” เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 33.0 และมากที่สุดร้อยละ 4.0) ร้อยละ 37.0 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 33.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 19.7) ร้อยละ 53.2 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 9.8 3. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่หากจะให้กระทรวงมหาดไทยมาช่วย กกต. จัดการเลือกตั้ง เพื่อลดปัญหาการซื้อเสียง” เห็นด้วยเพราะคิดว่าน่าจะช่วยแบ่งเบาภาระของ กกต. ได้ ร้อยละ 68.2 ไม่เห็นด้วยเพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของ กกต. และ กกต. สามารถดูแลได้อยู่แล้ว ร้อยละ 25.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 6.7
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาการการซื้อเสียง หากมีการเลือกตั้งปี 2560
2) เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะสามารถแก้ปัญหาการซื้อเสียงได้
3) เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อการให้กระทรวงมหาดไทยช่วย กกต. จัดการเลือกตั้ง
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธี การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบ เลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 6 – 7 กันยายน 2559 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 10 กันยายน 2559
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 607 52.5 หญิง 549 47.5 รวม 1,156 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 178 15.4 31 ปี - 40 ปี 245 21.2 41 ปี - 50 ปี 334 28.9 51 ปี - 60 ปี 267 23.1 61 ปี ขึ้นไป 132 11.4 รวม 1,156 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 784 67.8 ปริญญาตรี 306 26.5 สูงกว่าปริญญาตรี 66 5.7 รวม 1,156 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 152 13.1 ลูกจ้างเอกชน 237 20.5 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 523 45.3 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 52 4.5 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 142 12.3 นักเรียน/ นักศึกษา 30 2.6 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 20 1.7 รวม 1,156 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--