คนไทย 44.2% ชี้ควรเพิ่มบทลงโทษอย่างอื่นด้วย นอกเหนือจากการยึดทรัพย์ กว่า 2 หมื่นล้าน จากผู้กระทำผิดโครงการรับจำนำข้าวแบบ จีทูจี 63.4% เห็นด้วยกับการใช้ ม.44 เพราะทำให้การดำเนินคดีคืบหน้าเร็วและทำให้ความจริงปรากฏเร็วขึ้น 37.4% เชื่อว่าการดำเนินคดีส่งผลให้นักการเมืองและข้าราชการหยุดพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชั่น ค่อนข้างมาก และ30.6% เชื่อว่ากฎหมายไทยสามารถเอาผิดนักการเมืองได้จริง
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ประชาชนคิดเห็นอย่างไรต่อการดำเนินคดีโครงการรับจำนำข้าว” โดยเก็บข้อมูล จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,150 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มีผลดังนี้
ความเห็นต่อการใช้ มาตรา 44 ให้อำนาจกับกรมบังคับคดีในการตรวจสอบคดีโครงการรับจำนำข้าว พบว่า ประชาชน ร้อยละ 63.4 เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า จะทำให้ ความจริงปรากฏเร็วขึ้น (ร้อยละ32.9) และทำให้การดำเนินคดีมีความคืบหน้าเร็วขึ้น (ร้อยละ 30.5) ขณะที่ร้อยละ 36.6 ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า ควรให้ศาลยุติธรรมดำเนินคดี ไปตามกระบวนการมากกว่า (ร้อยละ 25.4) และเป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง (ร้อยละ 11.2)
สำหรับความเห็นต่อการออกคำสั่งให้มีการยึดทรัพย์กว่า 2 หมื่นล้าน จากผู้กระทำผิดโครงการรับจำนำข้าวในส่วนการซื้อขายข้าวแบบ จีทูจี ประชาชนร้อยละ 44.2 ระบุว่า ควรเพิ่มบทลงโทษอย่างอื่น นอกเหนือจากการยึดทรัพย์ รองลงมา ร้อยละ 27.7 ระบุว่าเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายที่คุ้มค้าแล้ว และร้อยละ 14.8 ระบุว่าเป็นการเรียกร้องค่าเสียหาย ที่น้อยไป
เมื่อถามว่า “กังวลหรือไม่ว่าผลจากการดำเนินคดีว่าจะมีการสร้างความปั่นป่วนหรือการปลุกระดม จากกลุ่มผู้ที่ไม่พอใจคำสั่งทางการปกครอง” ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.6 ระบุว่าไม่กังวล ขณะที่ร้อยละ 41.4 ระบุว่ากังวล
ด้านความเห็นต่อ การดำเนินคดี “โครงการรับจำนำข้าว”ว่าส่งผลต่อนักการเมืองและข้าราชการให้หยุดพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชั่นมากน้อยเพียงใด ประชาชนร้อยละ 37.4 เห็นว่าส่งผลค่อนข้างมาก รองลงมาร้อยละ 23.5 เห็นว่าส่งผลมาก และร้อยละ 21.6 เห็นว่าส่งผลค่อนข้างน้อย
ส่วนความเห็นต่อ การดำเนินคดี “โครงการรับจำนำข้าว”ว่าส่งผลอย่างไรกับสังคมไทยนั้น ประชาชน ร้อยละ 35.3 ระบุว่าทำให้นักการเมืองตระหนักถึงความสุจริตในหน้าที่ รองลงมาร้อยละ 30.6 ระบุว่าทำให้ประชาชนคิดว่ากฎหมายสามารถเอาผิดนักการเมืองได้จริง และร้อยละ 21.9 ระบุว่าจะได้เป็นกรณีตัวอย่างสำหรับการเมืองไทย
สุดท้ายเมื่อถามความพึงพอใจต่อภาพรวมความคืบหน้าในการดำเนินคดี “โครงการรับจำนำข้าว” พบว่า ประชาชน ร้อยละ 33.1 พึงพอใจค่อนข้างมาก รองลงมาร้อยละ 29.2 พึงพอใจมาก และ ร้อยละ 27.1 พึงพอใจค่อนข้างน้อย
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ความเห็นต่อการใช้ มาตรา 44 ให้อำนาจกับกรมบังคับคดีในการตรวจสอบคดีโครงการรับจำนำข้าว
เห็นด้วย ร้อยละ 63.4
โดยให้เหตุผลว่า....
ทำให้ความจริงปรากฏเร็วขึ้น ร้อยละ 32.9 ทำให้การดำเนินคดีมีความคืบหน้า เร็วขึ้น ร้อยละ 30.5 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 36.6
โดยให้เหตุผลว่า....
ควรให้ศาลยุติธรรมดำเนินคดีไปตามกระบวนการมากกว่า ร้อยละ 25.4 เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง ร้อยละ 11.2 2. ความเห็นต่อกรณีการออกคำสั่งให้มีการยึดทรัพย์กว่า 2 หมื่นล้าน จากผู้กระทำผิดโครงการรับจำนำข้าวในส่วนการซื้อขายข้าวแบบ จีทูจี คิดว่าควรเพิ่มบทลงโทษอย่างอื่น นอกเหนือจากการยึดทรัพย์ ร้อยละ 44.2 คิดว่าเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายที่คุ้มค้า ร้อยละ 27.7 คิดว่าน้อยไปควรให้ชดใช้ค่าเสียหายมากกว่านี้ ร้อยละ 14.8 คิดว่าเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายมากไป ร้อยละ 13.3 3. เมื่อถามว่า “กังวลหรือไม่ผลจากการดำเนินคดีว่าจะมีการสร้างความปั่นป่วนหรือการปลุกระดม จากกลุ่มผู้ที่ไม่พอใจคำสั่งทางการปกครอง” ไม่กังวล ร้อยละ 58.6 กังวล ร้อยละ 41.4 4. ความเห็นต่อ การดำเนินคดี “โครงการรับจำนำข้าว” ว่าส่งผลต่อนักการเมืองและข้าราชการให้หยุดพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชั่นมากน้อยเพียงใด ส่งผลมาก ร้อยละ 23.5 ส่งผลค่อนข้างมาก ร้อยละ 37.4 ส่งผลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 21.6 ไม่ส่งผลเลย ร้อยละ 17.5 5. ความเห็นต่อ การดำเนินคดี “โครงการรับจำนำข้าว” ว่าส่งผลอย่างไรกับสังคมไทย ทำให้นักการเมืองตระหนักถึงความสุจริตในหน้าที่ ร้อยละ 35.3 ทำให้ประชาชนคิดว่ากฎหมายสามารถเอาผิดนักการเมืองได้จริง ร้อยละ 30.6 จะได้เป็นกรณีตัวอย่างสำหรับการเมืองไทย ร้อยละ 21.9 ส่งผลต่อการใช้นโยบายประชานิยมเพื่อการหาเสียงในอนาคต ร้อยละ 12.2 6. ความพึงพอใจต่อภาพรวมความคืบหน้าในการดำเนินคดี โครงการรับจำนำข้าว พึงพอใจมาก ร้อยละ 29.2 พึงพอใจค่อนข้างมาก ร้อยละ 33.1 พึงพอใจค่อนข้างน้อย ร้อยละ 27.1 ไม่พึงพอใจเลย ร้อยละ 10.6
รายละเอียดการสำรวจ
เพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินคดี โครงการรับจำนำข้าว ในประเด็นต่างๆ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชน ให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 21-23 กันยายน 2559
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 24 กันยายน 2559
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 649 56.4 หญิง 501 43.6 รวม 1,150 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 162 14.1 31 ปี – 40 ปี 255 22.2 41 ปี – 50 ปี 312 27.1 51 ปี - 60 ปี 281 24.4 61 ปี ขึ้นไป 140 12.2 รวม 1,150 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 756 65.7 ปริญญาตรี 299 26 สูงกว่าปริญญาตรี 95 8.3 รวม 1,150 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 141 12.3 ลูกจ้างเอกชน 252 21.8 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 502 43.7 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 62 5.4 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 148 12.9 นักเรียน/ นักศึกษา 31 2.7 ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม 14 1.2 รวม 1,150 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--