กลุ่มตัวอย่าง:
การสำรวจภาคสนามใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง 2 ขั้นตอน (Two-Stage Sampling) คือ
ในขั้นแรก สุ่มเขตปกครองกรุงเทพมหานครมา 20 เขต ได้เขตต่าง ๆ คือ
คลองเตย คลองสาน ดุสิต ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางแค บางซื่อ บางบอน
บึงกุ่ม ปทุมวัน พระโขนง ยานนาวา ลาดกระบัง ลาดพร้าว วัฒนา สะพานสูง
สายไหม หนองจอก และหลักสี่
ขั้นที่สอง สุ่มผู้ขับขี่จักรยานยนต์แบบบังเอิญ (Accidental Sampling) โดยสอบถาม ผู้ขับขี่จักรยานยนต์ทั่วไป ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่ใช้จักรยานยนต์ ในการเดินทาง ส่งของ ติดต่อธุรกิจ และอื่น ๆ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 994 คน
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎจราจร การให้เปอร์เซนต์แก่ตำรวจที่จับรถผิดกฎจราจร
แบบสอบถามที่ใช้มี 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถามและถูกสัมภาษณ์
ส่วนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นเรื่อง “ผู้ขับขี่จักรยานยนต์กับการปฏิบัติตามกฎจราจร”
ระยะเวลาเก็บข้อมูล:
6 - 7 กันยายน 2543
สรุปผลการสำรวจ
1. กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
เป็นชายร้อยละ 85.0
เป็นหญิงร้อยละ 15.0
สำเร็จการศึกษาระดับประถมหรือมัธยมศึกษาร้อยละ 57.6
ระดับปวช. หรือปวส. ร้อยละ 21.1
ปริญญาตรีและสูงกว่าร้อยละ 19.7
ประกอบอาชีพส่วนใหญ่รับจ้างทั่วไปร้อยละ 39.7
นอกนั้นเป็นพนักงานบริษัทเอกชน
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
รับราชการ
เจ้าของกิจการ
ค้าขาย
นักเรียน
นักศึกษา
แม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อสอบถามถึงการขับรถผิดกฎจราจรในสัปดาห์ที่ผ่านมา (ก่อนวันสัมภาษณ์)
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 54.0 ตอบว่าไม่เคย
ร้อยละ 42.3 ตอบว่า เคยบางครั้ง
ร้อยละ 3.7 ตอบว่า เคยบ่อยมาก
3. เมื่อสอบถามถึงเคยได้รับใบสั่งจากตำรวจในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา (ก่อนวันสัมภาษณ์) หรือไม่
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 39.5 ตอบว่าไม่เคย
ร้อยละ 43.3 ตอบว่าเคย 1 - 2 ครั้ง
ร้อยละ 9.6 ตอบว่าเคย 3 - 4 ครั้ง
และร้อยละ 7.1 ตอบว่าเคยได้รับมากกว่า 4 ครั้ง
4. สำหรับข้อหาในการทำผิดกฎจราจรนั้น
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 21.8 ไม่สวมหมวกกันน็อค
ร้อยละ 18.7 ขับรถชิดขวา
ร้อยละ 15.6 ขับรถฝ่าไฟแดง
ร้อยละ 12.5 ขับรถสวนทางหรือขับย้อนศร
ร้อยละ 11.9 ฝ่าฝืนป้ายจราจร
5. การแก้ปัญหาของผู้ขับขี่จักรยานยนต์เมื่อถูกตำรวจระบุว่าทำผิดกฎจราจร
ร้อยละ 26.6 ให้สินบนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยไม่ไปเสียค่าปรับที่โรงพัก
ร้อยละ 21.4 รับใบสั่งและไปเสียค่าปรับที่โรงพัก
ร้อยละ 9.0 รับใบสั่งมาแต่ให้คนรู้จักไปดำเนินการให้
6. สินบนที่ผู้ขับขี่จักรยานยนต์จ่ายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น
ร้อยละ 65.2 ตอบว่าจ่าย 100 บาท/ครั้ง
ร้อยละ 29.2 จ่ายน้อยกว่า 100 บาท/ครั้ง
และร้อยละ 5.7 จ่ายมากกว่า 100 บาท/ครั้ง
7. เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่มีการแบ่งเปอร์เซนต์ค่าปรับให้ตำรวจจราจร
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 46.8 ตอบว่าไม่เห็นด้วย
ร้อยละ 17.9 ตอบว่าเห็นด้วย
ร้อยละ 35.3 ไม่มีความเห็น
- เหตุผลที่ไม่เห็นด้วย เช่น ทำให้มีการยัดเยียดข้อหา เข้มงวดเกินไป ระดมจับเพื่อทำเป้า เป็นต้น
- เหตุผลที่เห็นด้วย เช่น เป็นสิ่งจูงใจ แต่ขอให้จับเฉพาะรถที่ทำผิดจริง ๆ ส่วนแบ่งควรให้แก่ ตำรวจชั้นประทวนเท่านั้น เป็นต้น
8. เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ผู้ขับขี่จักรยานยนต์คาดหวังมากที่สุดจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 35.9 ตอบว่าไม่อยากให้รีดไถ
ร้อยละ 31.5 อยากให้มีการอะลุ้มอล่วย
ร้อยละ 26.7 ให้ตั้งข้อหาอย่างเป็นธรรม
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
การสำรวจภาคสนามใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง 2 ขั้นตอน (Two-Stage Sampling) คือ
ในขั้นแรก สุ่มเขตปกครองกรุงเทพมหานครมา 20 เขต ได้เขตต่าง ๆ คือ
คลองเตย คลองสาน ดุสิต ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางแค บางซื่อ บางบอน
บึงกุ่ม ปทุมวัน พระโขนง ยานนาวา ลาดกระบัง ลาดพร้าว วัฒนา สะพานสูง
สายไหม หนองจอก และหลักสี่
ขั้นที่สอง สุ่มผู้ขับขี่จักรยานยนต์แบบบังเอิญ (Accidental Sampling) โดยสอบถาม ผู้ขับขี่จักรยานยนต์ทั่วไป ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่ใช้จักรยานยนต์ ในการเดินทาง ส่งของ ติดต่อธุรกิจ และอื่น ๆ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 994 คน
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎจราจร การให้เปอร์เซนต์แก่ตำรวจที่จับรถผิดกฎจราจร
แบบสอบถามที่ใช้มี 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถามและถูกสัมภาษณ์
ส่วนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นเรื่อง “ผู้ขับขี่จักรยานยนต์กับการปฏิบัติตามกฎจราจร”
ระยะเวลาเก็บข้อมูล:
6 - 7 กันยายน 2543
สรุปผลการสำรวจ
1. กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
เป็นชายร้อยละ 85.0
เป็นหญิงร้อยละ 15.0
สำเร็จการศึกษาระดับประถมหรือมัธยมศึกษาร้อยละ 57.6
ระดับปวช. หรือปวส. ร้อยละ 21.1
ปริญญาตรีและสูงกว่าร้อยละ 19.7
ประกอบอาชีพส่วนใหญ่รับจ้างทั่วไปร้อยละ 39.7
นอกนั้นเป็นพนักงานบริษัทเอกชน
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
รับราชการ
เจ้าของกิจการ
ค้าขาย
นักเรียน
นักศึกษา
แม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อสอบถามถึงการขับรถผิดกฎจราจรในสัปดาห์ที่ผ่านมา (ก่อนวันสัมภาษณ์)
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 54.0 ตอบว่าไม่เคย
ร้อยละ 42.3 ตอบว่า เคยบางครั้ง
ร้อยละ 3.7 ตอบว่า เคยบ่อยมาก
3. เมื่อสอบถามถึงเคยได้รับใบสั่งจากตำรวจในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา (ก่อนวันสัมภาษณ์) หรือไม่
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 39.5 ตอบว่าไม่เคย
ร้อยละ 43.3 ตอบว่าเคย 1 - 2 ครั้ง
ร้อยละ 9.6 ตอบว่าเคย 3 - 4 ครั้ง
และร้อยละ 7.1 ตอบว่าเคยได้รับมากกว่า 4 ครั้ง
4. สำหรับข้อหาในการทำผิดกฎจราจรนั้น
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 21.8 ไม่สวมหมวกกันน็อค
ร้อยละ 18.7 ขับรถชิดขวา
ร้อยละ 15.6 ขับรถฝ่าไฟแดง
ร้อยละ 12.5 ขับรถสวนทางหรือขับย้อนศร
ร้อยละ 11.9 ฝ่าฝืนป้ายจราจร
5. การแก้ปัญหาของผู้ขับขี่จักรยานยนต์เมื่อถูกตำรวจระบุว่าทำผิดกฎจราจร
ร้อยละ 26.6 ให้สินบนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยไม่ไปเสียค่าปรับที่โรงพัก
ร้อยละ 21.4 รับใบสั่งและไปเสียค่าปรับที่โรงพัก
ร้อยละ 9.0 รับใบสั่งมาแต่ให้คนรู้จักไปดำเนินการให้
6. สินบนที่ผู้ขับขี่จักรยานยนต์จ่ายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น
ร้อยละ 65.2 ตอบว่าจ่าย 100 บาท/ครั้ง
ร้อยละ 29.2 จ่ายน้อยกว่า 100 บาท/ครั้ง
และร้อยละ 5.7 จ่ายมากกว่า 100 บาท/ครั้ง
7. เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่มีการแบ่งเปอร์เซนต์ค่าปรับให้ตำรวจจราจร
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 46.8 ตอบว่าไม่เห็นด้วย
ร้อยละ 17.9 ตอบว่าเห็นด้วย
ร้อยละ 35.3 ไม่มีความเห็น
- เหตุผลที่ไม่เห็นด้วย เช่น ทำให้มีการยัดเยียดข้อหา เข้มงวดเกินไป ระดมจับเพื่อทำเป้า เป็นต้น
- เหตุผลที่เห็นด้วย เช่น เป็นสิ่งจูงใจ แต่ขอให้จับเฉพาะรถที่ทำผิดจริง ๆ ส่วนแบ่งควรให้แก่ ตำรวจชั้นประทวนเท่านั้น เป็นต้น
8. เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ผู้ขับขี่จักรยานยนต์คาดหวังมากที่สุดจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 35.9 ตอบว่าไม่อยากให้รีดไถ
ร้อยละ 31.5 อยากให้มีการอะลุ้มอล่วย
ร้อยละ 26.7 ให้ตั้งข้อหาอย่างเป็นธรรม
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--